โดย: Rick Bates Ph.D., Department of Horticulture, Penn State University, PA, USA and Patrick Trail, ECHO Asia Impact Center, Chiang Mai, Thailand



AN 43 Graft Fig 1 combined

ภาพที่ 1: มะเขือเทศพันธุ์ 'Makis' เสียบยอดบนต้นตอของมะเขือยาวจากศูนย์ผักโลก Eg190 (World Vegetable Center Eg190) (ซ้าย) และกลุ่มควบคุมไม่เสียบยอด (ขวา) ในพื้นที่เกิดน้ำท่วมเดียวกัน จ. พระตะบอง ประเทศกัมพูชา (ภาพโดย Channaty Ngang of Ohio State Extension)

This article is from ECHO Asia Note 43

[บรรณาธิการ: ดร.เบทส์ เป็นเพื่อนและคู่มิตรกับเอคโค่มาอย่างยาวนาน โดยตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ ท่านได้ทำงานร่วมในเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นในหลายๆด้าน รวมถึงการทำงานวิจัยร่วม การให้คำปรึกษา และการเขียนทางเทคนิค โดยเนื้อหาในบทความนี้เป็นผลจากการมีส่วนร่วมของ ดร.เบทส์ในโครงการพัฒนาการเกษตรของ USAID ในประเทศกัมพูชา ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Feed the Future Innovation Lab for Collaborative Research on Sustainable Intensification (SIIL)] 

อุปสรรคในการปลูกมะเขือเทศเพื่อผลผลิตในหน้าฝน

การเติบโตของมะเขือเทศนั้นเป็นไปได้ยากในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงมรสุมในหน้าฝนที่อากาศร้อนชื้น ดินที่มีน้ำขังบวกกับความเครียดจากโรคพืชที่มีมากขึ้นและอุณหภูมิที่สูงมักจะทำให้ต้นมะเขือเทศที่มีอายุน้อยที่ทำการย้ายปลูกตายจะมีผลผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชที่มาจากต้นกำเนิดมาจากอเมริกาใต้ และไม่สามรถปรับตัวได้ดีกับสภาพอากาศและดินในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงทำให้ยากต่อการให้ผลผลิตในสภาพของภูมิภาคที่มีน้ำมาก

มะเขือเทศจำนวนมากที่เห็นในตลาดและที่ใช้ในร้านอาหารและโรงแรมในช่วงฤดูฝนเป็นมะเขือเทศที่นำเข้า หรือปลูกในโรงเรือนแบบปิด ทำให้มีราคาสูง ซึ่งนี่เป็นโอกาสที่หาได้ยากสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ที่จะประสบผลสำเร็จในการผลิตมะเขือเทศสู่ตลาดได้ในช่วง “นอกฤดู” นี้ ในขณะที่การปลูกมะเขือเทศในแปลงปลูกยกพื้นกลายเป็นสิ่งที่ทำการแพร่หลาย การต่อกิ่งก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เกษตรกรอาจใช้ในการผลิตมะเขือเทศที่ได้อัตรากำไรเพิ่มขึ้น

 

นิยามศัพท์และคำจำกัดความ

เนื้อเยื่อแคมเบียม (Cambium Layer)

เยื่อบางๆบริเวณลำต้นระหว่างเปลือกไม้และเนื้อไม้ที่มีระบบท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ในช่วงที่ทำการเสียบยอด เยื่อหุ้มของกิ่งพันธุ์และเยื่อหุ้มของลำต้นจะต้องอยู่ตรงกันเพื่อระบบลำเลียงจะสามารถประสานเข้าหากัน

รอยผสาน (Graft Union)

จุดที่กิ่งพันธุ์ดีและต้นตอผสานกัน เกิดการเชื่อมต่อของท่อลำเลียง

ต้นตอ (Rootstock)

ส่วนล่างหรือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นราก มักเลือกมาจากความสามารถในการปรับตัวที่ดีเข้ากับดินและสภาพการเติบโตของพื้นที่ (เช่น พื้นที่น้ำท่วมถึง)

กิ่งพันธุ์ (Scion)

ส่วนบนของพืชที่มียีนส์หรือลักษณะผลผลิตที่ต้องการ (เช่น ขนาดของผล, รูปร่าง, การทนต่อโรค, ฯลฯ)

ระบบท่อลำเลียง (Vascular System)

เนื้อเยื่อต่างๆที่จำเป็นต่อการขนส่งน้ำและธาตุอาหารจากรากไปสู่ใบ

การเสียบยอดมะเขือเทศกับต้นตอมะเขือยาวพันธุ์พื้นเมืองที่ปรับตัวได้ดี

การเสียบยอดพันธุ์มะเขือเทศที่เป็นที่ต้องการของตลาดกับต้นตอมะเขือยาวที่คัดเลือกมา (ภาพที่ 1) เป็นพันธุ์พืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย เราจะได้ประโยชน์จากความสามารถในการต้านทานน้ำท่วม โรคเหี่ยวเขียวจากแบคทีเรีย, โรคเหี่ยวเหลือง และโรครากปมจากไส้เดือนฝอย ท้ายที่สุด ต้นมะเขือเทศที่เสียบยอดแล้วจะรวมคุณสมบัติที่ดีจากทั้งต้นกิ่งพันธุ์และต้นตอ กระบวนการนี้ยังถือว่าไม่มีราคาแพงและไม่ต้องมีความรู้หรือทักษะในระดับสูง จึงทำให้เป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์ทางหนึ่งต่อฟาร์มในทุกขนาด

อย่าลืมว่ามะเขือเทศ (Solanum lycopersicum) และมะเขือยาว (Solanum melongena) เป็นสมาชิกของพืชในวงค์เดียวกัน ชื่อวงศ์ Solanaceae  ทำให้มะเขือเทศและมะเขือยาวมีความสามารถที่จะเข้ากันได้  มะเขือเทศสามารถนำไปเสียบยอดกับมะเขือเทศพันธุ์อื่น รวมถึงพืชพันธุ์อื่นในวงศ์เดียวกัน เพื่อให้เกิดศักยภาพที่หลากหลายในการขยายพันธุ์

การต่อกิ่งมะเขือเทศที่ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ:

1. ก่อนการต่อกิ่ง: ตำแหน่งพื้นที่ในการต่อกิ่ง, เครื่องมือและอุปกรณ์, และการเตรียมกิ่งพันธุ์กับต้นตอที่แข็งแรงเพื่อทำการเสียบยอด

2. ขั้นตอนการต่อกิ่งพันธุ์บนต้นตอ

3. หลังการต่อกิ่ง: ให้เวลาต้นที่ทำการเสียบยอดผสานแผลก่อนที่จะนำไปปลูก โดยกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การเพาะเมล็ดจนถึงการนำไปปลูกมักใช้เวลาประมาณ 5 อาทิตย์ (ภาพที่ 2)

บทความนี้จะแนะนำเทคนิคเบื้องต้นในการเฉือนรอยแยก โดยนำประสบการณ์มาจากเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของฟาร์มรายย่อยจากประเทศกัมพูชา

AN43 Tom Fig2 Thai
ภาพที่ 2: ขั้นตอนการเสียบยอดและสภาวะแวดล้อมในช่วงระยะเวลา 5 สัปดาห์ (ดัดแปลงจาก: CL Rivard, Kansas State Univ.)

 

การเตรียมกล้าของกิ่งพันธุ์และต้นตอ

การจะทำให้รอยผสานเกิดขึ้นได้ เนื้อเยื่อที่มีระบบท่อลำเลียงของต้นตอและกิ่งพันธุ์ต้องอยู่ในแนวเดียวกันและสัมผัสกัน ดังนั้นกิ่งพันธุ์และต้นตอจะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใกล้เคียงกันในขณะทำการเสียบยอด (ภาพที่ 4) อย่างไรก็ตาม กิ่งพันธุ์และต้นตออาจเติบโตไม่เท่ากัน ให้ทำการทดลองก่อนเพื่อหาอัตราการเติบโตของต้นตอและกิ่งพันธุ์ในสภาพการเติบโตที่จะเกิดขึ้นจริง

วิธีการต่อกิ่ง

มีวิธีการอยู่ 2 แบบในการต่อกิ่งมะเขือเทศลงบนต้นตอมะเขือยาว คือ การเสียบยอด  และ แบบฝานบวบ โดยการเลือกวิธีการนั้นทำได้จากการพิจารณาดูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของกิ่งพันธุ์และต้นตอ แบบฝานบวบ นั้นจำเป็นที่เส้นผ่านศูนย์กลางของกิ่งพันธุ์กับต้นตอมีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด ส่วนการเสียบยอดนั้นเส้นผ่านศูนย์กลางของกิ่งพันธุ์และต้นตออาจมีขนาดไม่เท่ากันก็ได้ ดังนั้น การเสียบยอดจึงเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายกว่าสำหรับผู้ที่ฝึกทำใหม่หรือเมื่อกิ่งพันธุ์กับต้นตอมีขนาดแตกต่างกัน นอกจากนั้น ตำแหน่งที่จะทำการต่อกิ่งของกิ่งพันธุ์อาจปรับได้เพื่อให้ใกล้เคียงกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นตอตรงที่ต้องการจะตัดออก สำหรับการต่อกิ่งมะเขือเทศที่เราทำที่ประเทศกัมพูชานั้น เราใช้วิธีเสียบยอดเพียงอย่างเดียว ซึ่งได้ผลดี การเสียบยอดของกิ่งพันธุ์มะเขือเทศที่เป็นที่ต้องการของตลาดลงบนต้นตอที่มีความต้านทานต่อโรคได้แสดงไว้ในรูปภาพที่ 3-13

 

การต่อกิ่งทุกแบบ รวมถึงการเสียบยอดดังที่แสดงให้เห็นนี้ มีขั้นตอนเบื้องต้น 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ:

1. การเตรียมต้นตอ

2. การเตรียมกิ่งพันธุ์

3. การต่อกิ่งพันธุ์และต้นตอเข้าด้วยกัน

การเตรียมต้นตอ

  1. หลังจากที่เมล็ดมะเขีอเทศงอกและเกิดต้นอ่อนขึ้นมาแล้ว ควรเลือกต้นกล้าที่มีลักษณะแข็งแรงที่สุดสำหรับการต่อกิ่ง โดยต้นกล้านั้นมีใบจริง 2-4 ใบ (ภาพที่ 3) การเลือกต้นตอและต้นกิ่งพันธุ์ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าๆกันจะช่วยในการวางแนวท่อลำเลียงให้ตรงกันที่รอยผสาน (ภาพที่ 3 และ 4)
  2. ตัดส่วนบนของต้นกล้าที่จะใช้เป็นต้นตอ โดยตัดเป็นแนวขวาง เมื่อตัดส่วนบนออกไปแล้ว จะเหลือเพียงส่วนลำต้นเท่านั้น (ภาพที่ 5 และ 6)
  3. ใช้คลิปหนีบเพื่อช่วยยึดกิ่งให้มั่นคง หากใช้คลิปหนีบที่ทำเองจากหลอดพลาสติก ให้สวมหลอดลงไปบนต้นตอนั้นทันทีหลังจากตัดส่วนบนออกไป เลื่อนหลอดลงไปจนถึงดินที่โคนต้น (ภาพที่ 7)
  4. ใช้มีดผ่าลงไปตรงกลางของต้นตอ ในภาพนี้เราผ่าลงไปประมาณ 4 มม. ซึ่งเป็นขนาดพอดีกับใบมีด (ภาพที่ 8)
AN 43 Graft Fig 3
ภาพที่ 3: คัดเลือกต้นกล้าที่แข็งแรง มีลักษะสมบูรณ์และมีใบจริง 2-4 ใบ
AN 43 Graft Fig 4

ภาพที่ 4: การใช้ต้นตอและกล้ากิ่งพันธุ์ที่มีขนาดลำต้นใกล้เคียงกันจะช่วยวางแนวระบบลำเลียงให้ตรงกันที่รอยผสาน

AN 43 Graft Fig 5
ภาพที่ 5: ตัดส่วนบนของต้นตอ
AN 43 Graft Fig 6
ภาพที่ 6: ส่วนบนของต้นตอถูกตัดไปแล้วและเหลือเพียงลำต้น
AN 43 Graft Fig 7
ภาพที่ 7: ใช้คลิปหนีบเพื่อให้กิ่งมั่นคง
AN 43 Graft Fig 8
ภาพที่ 8: ผ่ากลางจากด้านบนของต้นตอ

 การเตรียมกิ่งพันธุ์

  1. 1. ตัดส่วนล่างของต้นกล้ากิ่งพันธุ์ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกให้ตัดรากออก แล้วครั้งที่สองให้ตัดตรงจุดที่เส้นผ่านศูนย์กลางใกล้เคียงกับต้นตอ (ภาพที่ 9)

    2. ตัดใบของกิ่งพันธุ์ออกเพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำ โดยเหลือยอดใบอ่อนไว้ 1-2 ยอด (ภาพที่ 10)

    3. ตัดแต่งส่วนล่างของกิ่งพันธุ์ให้เป็นลักษณะลิ่ม โดยการเฉือนด้านข้างออกสองด้าน (แต่ละด้านให้เฉือนเพียงครั้งเดียว) พยายามรักษาพื้นผิวที่ตัดแล้วให้สะอาดและอย่าให้นิ้วมือสัมผัสกับรอยตัด (ภาพที่ 11)

AN 43 Graft Fig 9
ภาพที่ 9: ตัดส่วนล่างของกิ่งพันธุ์ออก 2 ครั้ง
AN 43 Graft Fig 10
ภาพที่ 10: ตัดใบออกเพื่อลดการสูญเสียน้ำ
AN 43 Graft Fig 11
ภาพที่ 11: ตัดแต่งส่วนล่างของกิ่งพันธุ์ให้เป็นลักษณะลิ่ม

การต่อกิ่งพันธุ์และต้นตอเข้าด้วยกัน

1. เสียบส่วนปลายลิ่มกิ่งพันธุ์เข้าไปในรอยแยกของต้นตอ (ภาพที่ 12)

2. เลื่อนคลิปพลาสติกขึ้นมาจากโคนต้นตอให้มาอยู่ตรงบริเวณรอยผสาน ภาพที่ 13 เป็นคลิปหนีบทำเองจากหลอดพลาสติก

3. ถ้าใช้คลิปหนีบสำหรับการต่อกิ่งที่ซึ้อมา ให้ใส่คลิปหนีบที่รอยผสานในขั้นตอนนี้

AN 43 Graft Fig 12
ภาพที่ 12: เสียบส่วนปลายลิ่มลงไป
AN 43 Graft Fig 13
ภาพที่ 13: เลื่อนคลิปพลาสติกขึ้นมา

 

การดูแลต้นที่ทำการต่อกิ่งหรือเสียบยอดเสร็จแล้ว

วางต้นที่ทำการเสียบยอดเสร็จใหม่ๆ (ภาพที่ 14) ในส่วนพักฟื้นทันที ส่วนพักฟื้นคือโครงสร้างปิดขนาดเล็กที่ออกแบบไว้เพื่อเก็บรักษาความชื้นที่สูงและลดความเข้มของแสงเพื่อลดการสะสมของความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการพักตัวของต้นที่ได้ทำการต่อกิ่ง (ภาพที่ 15) วัตถุประสงค์หลักของส่วนพักฟื้นนี้คือลดการสูญเสียน้ำของกิ่งพันธุ์

 

เราใช้ถุงพลาสติกใสในการรักษาความชื้นที่ระเหยออกมาจากถาดที่ใส่น้ำไว้เต็มหรือภาชนะเก็บน้ำที่วางไว้บนพื้นของส่วนพักฟื้น ส่วนพักฟื้นจะคลุมด้วยพลาสติกสีดำเพื่อลดแสงที่ผ่านเข้ามา นอกจากนี้ อาจใช้ตาข่ายบังแดดไว้ด้านบนเพื่อช่วยลดแสงและให้เกิดการถ่ายเทอากาศที่ดี ความเข้มของแสงอาจควบคุมได้ตามความจำเป็นโดยการเอาตา ข่ายบังแดดออกหรือใส่เพิ่มได้ การทำส่วนพักฟื้นไว้ในที่ร่มธรรมชาติอาจช่วยลดการใช้อุปกรณ์บังแดดได้ ขนาดและการออกแบบส่วนพักฟื้นนั้นขึ้นอยู่กับขนาดการผลิตต้นพันธุ์ที่ใช้ต่อกิ่ง ฟาร์มขนาดเล็กหรือสวนหลังบ้านอาจสร้างส่วนพักฟื้นจากถาดเพาะชำ, ฝาครอบถาดเพาะชำ, ถุงพลาสติก หรือแม้แต่ถ้วยพลาสติก

ในช่วงสัปดาห์แรกหลังการเสียบยอดนี้ กิ่งพันธุ์จะยังไม่สามารถรับน้ำจากต้นตอได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาสภาพอากาศที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของกิ่งพันธุ์และช่วยให้เกิดรอยผสานอย่างรวดเร็ว เวลาที่ใช้โดยเฉลี่ยคือ 7-10 วันหลังจากการเสียบยอดเสร็จแล้วเพื่อให้ต้นตอและกิ่งพันธุ์เริ่มที่จะผสานเนื้อเยื่อส่วนท่อลำเลียงเข้าด้วยกัน และใช้เวลานานถึง 14 วันสำหรับแผลจากการผสานจะหายดี ขึ้นอยู่กับสถานที่และความสามารถในการควบคุมอุณภูมิ ความชื้น และแสง (ภาพที่ 16)

ในช่วงสัปดาห์แรกของการรักษาแผล ให้ทำการรักษาความชื้นสัมพัทธ์ให้ได้มากกว่า 90% และอุณภูมิประมาณ 21-27/29 °C, ทั้งกลางวันและกลางคืนหากเป็นไปได้ ส่วนผลกระทบจากระดับแสงนั้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อมและจะต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง ความเข้มข้นของแสงอาจมีประโยชน์ต่อกระบวนการรักษาแผล ถ้าหาก สามารถรักษาความชื้นและอุณหภูมิไว้ได้ในระดับที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม ในสภาพภูมิอากาศเขตร้อนนั้น อุณหภูมิและระดับความเข้มของแสงมักจะสูง จึงควรจัดอยู่ในที่ร่มเพื่อช่วยให้อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในระดับที่พอดี

หลังจากสัปดาห์ที่สองของการรักษาแผลแล้ว อาจค่อยๆลดความชื้นลงได้ ขณะที่ระดับความเข้มของแสงควรมีเพิ่มขึ้นด้วยการเอาพลาสติกสีดำหรือตาข่ายบังแดดออกเป็นครั้งคราว กระบวนการนี้เป็นการค่อยๆปรับสภาพต้นที่ทำการเสียบยอดแล้วให้เข้ากับสภาพที่ต้องพบกับแสงแดดอย่างเต็มที่ในพื้นที่ปลูก

AN 43 Graft Fig 14

ภาพที่ 14: กิ่งพันธุ์ใหม่เริ่มประสานกันดี (ภาพโดย Ry Saren)

AN 43 Graft Fig 15

ภาพที่ 15: วัสดุหลายอย่างที่หาได้ในพื้นที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนพักตัวได้ (ภาพโดย Channaty Ngang of Ohio State Extension)

AN 43 Graft Fig 16

ภาพที่ 16: รอยผสานที่แผลหายดีแล้ว รอยแผลที่เกิดขึ้นจะปรากฏอยู่บนต้นที่ได้รับการเสียบยอดแล้วและเป็นต้นที่แข็งแรง เหมาะกับการนำไปปลูกได้ โดยปกติจะพร้อมนำไปปลูกในพื้นที่จริงประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังการเสียบยอด(ภาพโดย Channaty Ngang of Ohio State Extension)

การย้ายไปปลูกในไร่

แม้กิ่งพันธุ์และต้นตอพัฒนาเนื้อเยื่อในส่วนของท่อลำเลียงที่เชื่อมต่อกันแล้วในประมาณวันที่ 7 แต่อาจใช้เวลาทั้งหมดถึง 14 วันเพื่อให้แผลจากรอยผสานได้รับการรักษาจนหายดี (ภาพที่ 16)

หลังจากนำต้นที่แผลหายดีแล้ว ให้เอาออกจากส่วนพัก ควรให้ต้นมะเขือได้ปรับตัวให้ชินกับสภาพอากาศในร่มในพื้นที่ที่ป้องกันลมเป็นเวลา 5-7 วันก่อนนำไปปลูกในไร่ นอกจากนี้อาจปล่อยให้ต้นมะเขือได้ถูกแสงแดดโดยตรงเป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนที่จะปลูกลงดิน ทั้งนี้ สามารถปรับเวลาได้หากจำเป็นเพื่อไม่ให้ต้นมะเขือเครียดเมื่อนำไปปลูกในสภาพแวดล้อมใหม่

เมื่อทำการย้ายปลูก ต้องดูให้แน่ใจว่ารอยผสานจากการเสียบยอดนั้นอยู่เหนือพื้นดิน (ภาพที่ 17) หากรอยนั้นอยู่ใต้ดิน กิ่งพันธุ์จะแตกรากลงดิน จะทำให้เสียประโยชน์ที่จะได้รับจากต้นตอ เช่นความต้านทานโรคที่เกิดจากดิน

เมื่อต้นมะเขือเทศปรับตัวและเริ่มเติบโตขึ้นในไร่หรือพื้นที่ปลูกแล้ว ให้คอยตรวจดูและตัดกิ่งที่แตกออกจากต้นตอทิ้งไป รวมถึงตัดรากที่อาจงอกออกมาจากกิ่งพันธุ์ด้วย และเพื่อป้องกันไม่ได้เกิดการติดเชื้อจากโรคที่เกิดจากดิน จะต้องคอยระวังไม่ให้กิ่งพันธุ์สัมผัสกับดิน ด้วยการใช้วัสดุคลุมดินคลุมบริเวณรอบๆหลังจากทำการย้ายปลูกเพื่อลดการกระเด็นของดินขึ้นไปติดบนต้นมะเขือในช่วงฝนตกหรือช่วงการรดน้ำ ต้นมะเขือที่ได้รับการเสียบยอดแล้วควรมีไม้ประคองไว้ด้วยเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์หลังจากการย้ายปลูก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมัดต้นมะเขือให้ติดแน่นไว้กับไม้ประคอง เพราะจะช่วยป้องกันไม่ได้ต้นเลื่อนต่ำลงและกิ่งพันธุ์สัมผัสถูกดิน

AN 43 Graft Fig 17
ภาพที่ 17: ต้นมะเขือเทศที่นำไปปลูกในพื้นที่โดยมีรอยผสานอยู่เหนือดิน และมีวัสดุอินทรีย์คลุมดินเพื่อป้องกันไม่ให้ดินกระเด็นไปติดที่เนื้อเยื่อของกิ่งพันธุ์ (ภาพโดย Rick Bates)

สรุป

การทำให้เกิดความหลากหลายในพื้นที่การเกษตรขนาดเล็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างระบบอาหารที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะในประเทศบางประเทศเช่น กัมพูชา ที่มีความเปราะบางต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีการขยายพันธุ์แบบต่อกิ่งในพืชผักสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในช่วงเวลาที่ท้าทายที่สุดเวลาหนึ่ง นอกจากนั้น การปลูกผักในครัวเรือนและการนำไปขายยังคงเป็นกิจกรรมของผู้หญิงในประเทศกัมพูชา การพัฒนา “ชุดเครื่องมือเพื่อการปลูกผักในฤดูฝน” รวมถึงการเสียบยอดมะเขือเทศ จึงเป็นการส่งเสริมความสามารถของผู้หญิงผ่านการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมในตลาดให้มากขึ้น (ภาพที่ 18) การปลูกมะเขือเทศที่เสียบยอดแล้วเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ตลาดในช่วงฤดูฝนให้กับผู้หญิงที่เป็นเกษตรรายย่อย และช่วยให้พวกเขาได้มีศักยภาพในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและโภชนาการให้ดีขึ้นด้วย รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการมีส่วนร่วมในตลาดที่เพิ่มขึ้นยังเป็นการรักษาศักยภาพที่ให้ประโยชน์โดยตรงกับเด็กๆในการพัฒนาโอกาสที่จะเข้าถึงการศึกษา การดูแลด้านสุขภาพ และอาหารที่มีประโยชน์

 

หากมีคำถามสำหรับหัวข้อในบทความนี้ ท่านสามารถโพสต์ออนไลน์ได้ที่ ‘Tomato Grafting’ forum on ECHOcommunity Conversations พร้อมกันนี้ เรายินดีเป็นอย่างยิ่งหากท่านจะร่วมแบ่งปันประสบการณ์ (ทั้งที่สำเร็จหรือไม่สำเร็จ) ของท่านเอง รวมถึงเคล็ดลับที่จะเป็นประโยชน์กับเครือข่ายของเอคโค่ เอเชียและต่อผู้อื่น

 

AN 43 Graft Fig 18

ภาพที่ 18: เกษตรกรรายย่อยเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเทศเสียบยอดที่ตลาดต้องการ (ภาพโดย Ry Saren)

อ้างอิง

Bates, R. 2018. Vegetable Grafting Basics – Presentation Slides. Myanmar Seed Saving Workshop. January 16-18, 2018. Pathein, Myanmar. Available: https://www.echocommunity.org/en/resources/15b2a737-5f6e-42ac-b105-8ae9d6476d48

Kleinhenz, M., Soltan, M., Short, S., and Hu, B. Grafting Guide: A Pictoral Guide to the Cleft and Splice Graft Methods for Tomato and Pepper. 3rd Edition. Ohio State University Extension.

Grafting: Galleries, Publications, Recordings, Tools. The Ohio State University, Vegetable Produc- tion Systems Laboratory. Available: http://u.osu.edu/vegprolab/research-areas/grafting-2/ 

Palada, M., Wu, D. 2013. Grafting Sweet Peppers for Production in the Hot-Wet Season. International Cooperators’ Guide. AVDRC – The World Vegetable Center. Taiwan. Available: https://www.echocommunity.org/en/resources/44ae893c-cb34-4815-bc1c-b19ad7bbf795