โดย: Peter Elstner, Warm Heart Foundation, Chiang Mai, Thailand


This article is from ECHO Asia Note #30

โดย ปีเตอร์ เอล์สเนอร์ มูลนิธิอุ่นใจ จังหวัดเชียงใหม่

[บรรณาธิการ: คุณปีเตอร์เป็นที่ปรึกษาอิสระ และพักอาศัยอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาปริญญามหาบัญฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตรจากมหาวิทยาลัย ไลพ์ซิจ ประเทศเยอรมัน คุณปีเตอร์เคยเป็นนักวิจัยในโครงการ “The Uplands Program,” ซึ่งเป็นโครงการในความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยโฮเฮนฮายม์ (ประเทศเยอรมัน) กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะ ที่อยู่ที่ติดต่อได้คือ: peter.elstner@gmx.net

เราได้มองหาข้อมูลอ้างอิงเพื่อเป็นแนวทางสาหรับดินที่มีอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และในอดีตเราได้อาศัยข้อมูลที่มีอยู่เพียงน้อยนิดเกี่ยวกับการจาแนกประเภทของดินที่มีอยู่ในประเทศต่างๆในเขตนี้ แนวทางจากข้อมูลเหล่านั้นมักจะรวบรวมเอาข้อมูลเก่าและแน่นอนว่าไม่ใช่แบบอินเตอร์แอคทีฟ ในบทความนี้คุณปีเตอร์ ได้ทาการสารวจแผนที่ดินโลกแบบดิจิทัล (Digital Soil Map of the World) และพบว่าในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีดินหลักอยู่ 7 กลุ่มใหญ่ ดินถือเป็นส่วนสาคัญและเป็นรากฐานของการเกษตรและการพัฒนาแบบยั่งยืน การรู้ชนิดของดินในชุมชนสาคัญต่อการเลือกประเภทของพืชผลที่จะเพาะปลูก รวมถึงรูปแบบการพัฒนาและวิธีการใช้ที่ดินที่มีอยู่ อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลกลุ่มดิน (เริ่มจากหน้าที่ 7 เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติม) หวังว่าแนวทางที่เรานาเสนอนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คุณสารวจแผนที่ดินแบบดิจิทัล และศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดินในพื้นที่]

Soils of Mainland Southeast Asia 1

แผนที่ 1: แผนที่ภูมิประเทศพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (FAO 2007)

 

ภาพรวม: ดินในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานนี้อธิบายและวิเคราะห์การแบ่งประเภทและลักษณะของดินกลุ่มใหญ่ๆในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบไปด้วยประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม (แผนที่ 1)

สภาพภูมิศาสตร์

พื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเป็นเทือกเขาทางตอนเหนือ เป็นที่ราบขนาดใหญ่และที่ราบสูงทางตอนใต้ โดยมีระบบแม่น้าขนาดใหญ่ที่ไหลจากภูเขาลงมายังที่ราบเพื่อออกสู่ทะเล
ภูเขาตามเขตชายแดนที่ติดกับประเทศจีนแผ่ขยายจากทางตอนเหนือมายังตอนใต้ที่ความสูงตั้งแต่ 5,800 เมตร ภูเขาเหล่านี้เป็นต้นกาเนิดของแม่สายหลัก และที่สาคัญคือแม่น้าโขงที่ไหลผ่านหลายประเทศ และยังมีแม่น้าอิรวดีในประเทศเมียนมาร์ แม่น้าทั้งสองสายแผ่ขยายเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้าขนาดใหญ่ก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเล ส่วนแม่น้าสายสาคัญอื่นๆคือแม่น้าเจ้าพระยาในประเทศไทย แม่น้าสาละวินและแม่น้าสะโตงในเมียนมาร์ แม่น้าแดงในเวียดนาม ที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ที่ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้างใหญ่ตามแม่น้าเหล่านี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับการเพาะปลูกข้าว ที่ใจกลางของประเทศกัมพูชามีลักษณะของที่ราบในทะเลสาบที่เกิดขึ้นจากการไหลบ่าของน้าที่เอ่อล้นจากโตนเลสาบ (ทะเลสาบน้าจืดขนาดใหญ่)

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักจะขึ้นอยู่กับลมมรสุม โดยฤดุแล้งที่อากาศหนาวตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ขึ้นกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนฤดูฝนที่อากาศร้อนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกันยายนขึ้นอยู่กับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนฤดูเปลี่ยนมรสุมในเดือนมีนาคมและเมษายนจะร้อนและแห้งแล้งมาก ปริมาณฝนได้รับอิทธิพลจากทิศทางของเทือกเขาหลักๆเช่น เทือกเขาตะนาวศรีในประเทศเมียนมาร์และเทือกเขาอันนัมในประเทศเวียดนาม (FAO 1979) ซึ่งหมายความว่าโซนที่เป็นศูนย์กลางของเมียนมาร์, ไทย และอินโดจีนตอนใต้ตั้งอยู่ภายในพื้นที่เขตเงาฝนและมีภูมิอากาศที่แห้งกว่า

อุณหภูมิโดยเฉลี่ยเกือบจะเหมือนกัน (ประมาณ 27°C) ตลอดทั้งปีในตอนใต้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตอนใต้ของละติจูดที่ 17 องศาเหนือ) ในพื้นที่ตอนเหนือที่ไกลจากทะเล ที่มีละติจูดเพิ่มขึ้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยประจาปีจากช่วง 20 ถึง 30°C และพื้นที่เหล่านี้ยังมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิระหว่างวันที่แตกต่างกันมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับความห่างไกลจากทะเล นอกจากนี้ละติจูดที่เพิ่มขึ้นยังทาให้อุณภูมิและความชื้นในหน้าร้อนที่สูงอยู่นั้นลดลงด้วย เทือกเขาหิมาลัยทางภาคเหนือของเวียดนาม ลาวและเมียนมาร์มีภูมิอากาศ แบบกึ่งร้อนโดยอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างหนาวคือต่าว่า 15°C ในฤดูหนาว (FAO 1979)

ที่มาของข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่มีอยู่

แผนที่ดินแบบดิจิทัล จากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) (2007) แสดงข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับดินที่มีอยู่ในโลกนี้ เวอร์ชั่นแรกของข้อมูลนี้ตีพิมพ์ขึ้นในปี 1979 จากองค์การ FAO โดยสถานที่ตั้ง, พื้นที่, และการจาแนกประเภทดินยังคงเกือบเหมือนเดิมทุกอย่าง มีเพียงโครงสร้างและข้อมูลเท่านั้นที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมให้ดีขึ้น องค์การ FAO ใช้การจาแนกดินที่อธิบายไว้ใน “ฐานข้อมูลอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก” (World Reference Base for Soil Resources) หรือชื่อย่อว่า WRB (FAO 2014) ที่มีการปรับข้อมูลครั้งล่าสุดในปี 2015 โดย WRB ได้จาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (Reference Soil Groups หรือชื่อย่อ RSGs) เป็น 32 กลุ่ม

คาอธิบายที่ค่อนข้างละเอียด การจัดการและการใช้ประโยชน์ของดินสามารถค้นหาได้ที่ “บันทึกการศึกษาดินหลักของโลก (Lecture Notes on the Major Soils of the World)” (FAO 2001) รวมถึงที่ “ฐานข้อมูลเกี่ยวกับดินในโลก (World Reference Base for Soil Resources)” (FAO 2014)

แหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากอันหนึ่งในการมองเห็นภาพและแสดงข้อมูลของดินและลักษณะของดินอยู่ที่เว็บไซท์ชื่อว่า SoilGrids (https://www.soilgrids.org) ในโครงการ ISRIC-World Soil Information (ISRIC 2016) ซึ่งเป็นโครงการที่รวบรวมข้อมูลจากทุกประเทศในโลก จากองค์การต่างๆ แล้วนาเสนอในลักษณะของแผนที่แบบอินเตอร์แอคทีฟ โดยแผนที่เป็นการคาดการณ์ตาแหน่งของชนิดดินและคุณสมบัติดินที่เป็นโปรแกรมเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์และเป็นรูปแบบจาลองเชิงสถิติของโลก ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับแผนที่ที่จะกล่าวในช่วงต่อไปนามาจากเว็บไซท์ SoilGrids

Harmonized World Soil Database (HWSD) หรือฐานข้อมูลดินโลกที่สอดคล้องกัน (FAO et al. 2012) เป็นแหล่งข้อมูลอีกแห่งหนึ่ง โดย HWSD ก็คือผลที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างองค์กร FAO และองค์กรอื่นๆ ฐานข้อมูลแบบภาพนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลคุณสมบัติของดินที่เลือกไว้ (เช่น ค่าคาร์บอนชีวภาพ, ค่า pH, ความสามารถในการเก็บกักน้า, ความลึกของดิน, ความสามารถในการแลกเปลี่ยนคาร์บอน) จากหน่วยแผนที่ดิน 15,000 หน่วย ฐานข้อมูล HWSD นี้ สามารถดาวน์โหลดได้ พร้อมกับแอพพลิเคชั่นที่ใช้แสดงข้อมูล จากเว็บไซท์ FAO website

ข้อมูลและแผนที่ดินที่มีการจาแนกแบบอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีอยู่ให้ค้นหาได้เช่นกัน ที่หลายๆประเทศเคยใช้และยังใช้อยู่คืออนุกรมวิธานดินของ USDA (USDA Soil Taxonomy) เพื่อการสารวจดิน อนุกรมวิธานดินของ USDA นี้จาแนกดินตามปัจจัยหลายอย่าง (ที่นิยมที่สุดคือตามคุณสมบัติ) และตามหลายๆระดับ ได้แก่ อันดับ (Order), อันดับย่อย (Suborder), กลุ่มดินใหญ่ (Great Group), กลุ่มดินย่อย (Subgroup), วงศ์ (Family), และ ชุดดิน (Series) ข้อมูลของ USDA และ WRB สามารถเทียบเคียงกันได้ในบางส่วน นอกจากนั้นแผนที่ดินและข้อมูลที่ใช้อนุกรมวิธานดินของ USDA (และที่ใช้แบบอื่นที่อาจไม่ค่อยแพร่หลาย ที่บางครั้งจาแนกดินตามลักษณะคุณสมบัติเท่านั้น) สามารถค้นหาได้ในระดับประเทศ แม้ข้อมูลบางอย่างมีความละเอียดสูงและให้รายละเอียดที่มากกว่า แต่ก็อาจยากที่จะสรุปและเปรียบเทียบข้อมูลกัน เนื่องจากมีการจาแนกที่ต่างกันและข้อมูลดิบมักทาความเข้าใจได้ยากกว่า

Soils of Mainland Southeast Asia 2

แผนที่ 2: ดินที่พบส่วนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากแผนที่ดินโลก (FAO 2007)

การจาแนกดินที่มักพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ต่อไปนี้เป็นแผนที่ดินที่มักพบได้ทั่วไป (แผนที่ 2) และการคานวณพื้นที่ (ตารางที่ 1) ตามแผนที่ดินโลกแบบดิจิทัล โดยองค์การ FAO (2007) แผนที่ดินแบบดิจิทัลใช้ฐานอ้างอิงของโลก (World Reference Base) (FAO 2014) เพื่อแบ่งกลุ่มดิน และจาแนกพื้นที่ตามหน่วยดินที่ต่างกัน หน่วยดินแต่ละหน่วยประกอบไปด้วยดินที่พบได้ทั่วไป (ที่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่) และดินอีกหนึ่งชนิดหรือมากกว่าที่พบร่วมกัน เช่น ดินชนิดใดชนิดหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทยประกอบไปด้วยกลุ่มดินหลักเอคริสซอล (Acrisols) 80%, กลุ่มดินแคมบิซอล (Cambisols )10% และกลุ่มดินลิโทซอล (Lithosols)10% (ทั้งสองกลุ่มเป็นดินที่พบร่วมกัน) แผนที่ 2 แสดงแค่ดินหลักในแต่ละพื้นที่ ส่วนคาอธิบายคุณสมบัติของดินหลักๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในตอนท้ายของบทความ เริ่มจากหน้า 7 เป็นต้นไป

ตารางที่ 1 แสดงพื้นที่และเปอร์เซ็นต์ของกลุ่มดินอ้างอิง (Reference Soil Groups หรือ RSGs) แต่ละกลุ่มในประเทศ 5 ประเทศ และทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีกลุ่มดินอ้างอิงอยู่ 18 กลุ่ม แต่ไม่ใช่ทุกกลุ่มมีอยู่ในทุกประเทศ การคานวณพื้นที่สาหรับกลุ่มดินอ้างอิงแต่ละกลุ่มจะรวมพื้นที่ตามสัดส่วนของกลุ่มดินอ้างอิงทั้งดินกลุ่มหลัก (soil) และดินที่พบร่วมกัน (Associated soil) ในหน่วยดินทั้งหมด

ผลที่ได้จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ 970,247 ตร.กม. (หรือคิดเป็น 50.4% ของพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เป็นดินที่จัดอยู่ในกลุ่มดินอคริซอล (Acrisols) ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบเกือบทุกที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะที่ลาวมีดินอคริซอลกว่า 70% โดยดินชนิดนี้ไม่ค่อยพบตามหุบเขาแม่น้า พื้นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ตามลาน้าใหญ่

กลุ่มดินเกลย์ซอล (Gleysols) ครอบคลุมพื้นที่ 190,261 ตร.กม, หรือ 9.9% ของพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากในพื้นที่ที่มีการเอ่อท่วมของน้าที่ทะเลสาบโตนเล (ทะเลาสาบใหญ่) ในกัมพูชา และยังพบได้ในหุบเขากว้างตามแม่น้า ตามพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้า และตามแนวชายฝั่งทะเลของเวียดนาม

กลุ่มดิน แคมบิซอล (Cambisols) ครอบคลุมพื้นที่ 185,086 ตร.กม หรือ 9.6% และพบได้มากทางตะวันตกของเมียนมาร์ ส่วนพื้นที่อื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดินกลุ่มนี้จะพบกระจายตัวเป็นวงกว้างโดยเป็นดินที่พบร่วมกับดินชนิดอื่น ในสัดส่วน 10-20%

มีพื้นที่ไม่มากนักที่พบกลุ่มดินลิโทซอล (Lithosols) ในพื้นที่ 138,208 ตร.กม หรือ 7.2% ของพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ดินกลุ่มนี้เป็นดินที่พบร่วมกับหน่วยดินหลายๆชนิด โดยมีสัดส่วน 10%

กลุ่มดิน ลูวิซอล (Luvisols) ครอบคลุมพื้นที่ 101,772 ตร.กม. หรือ 5.3% ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยส่วนใหญ่พบในพื้นที่ราบและที่ราบสูงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและกัมพูชา

กลุ่มดิน ฟลูวิซอล (Fluvisols) ครอบคลุมพื้นที่ 90,447 ตร.กม. หรือ 4.7% ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ตามลาน้าขนาดใหญ่และในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้า (แม่น้าอิรวดีและแม่น้าโขง) โดยส่วนใหญ่พบร่วมกันกับกลุ่มดินเกลย์ซอล

กลุ่มดิน นิติซอล (Nitisols) ครอบคลุมพื้นที่ 87,321 ตร.กม. หรือ 4.5% ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ภูเขาของประเทศเมียนมาร์ ลาว และไทย และมักจะพบในพื้นที่เดียวกันกับกลุ่มอคลิซอล

แผนที่ 2 แสดงถึงสถานที่ตั้งและพื้นที่ครอบคลุมของกลุ่มดินอ้างอิงหลัก 7 กลุ่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส่วนดินอ้างอิงกลุ่มหลักอื่นๆ แต่ละชนิดที่พบจะครอบคลุมพื้นที่ไม่เกิน 50,000 ตร.กม.

AN 30 Soils Table 1
ตารางที่ 1 : พื้นที่กลุ่มดินอ้างอิง (RSGs)ในประเทศต่างๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คุณสมบัติของกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ที่พบในพื้นที่ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คุณสมบัติของดินแต่ละชนิด มีส่วนช่วยให้เรารู้ถึงสุขภาพของดิน (soil health) และการให้ผลผลิตของพืชที่เพาะปลูก โดยคุณสมบัติเหล่านี้จะถูกนามาอธิบายและเปรียบเทียบกับชนิดดินหลักอื่นๆ

ความอุดมสมบูรณ์ เป็นเครื่องวัดความเป็นประโยชน์ของดินที่มีต่อการเกษตรหรือการสร้างผลผลิตในระบบนิเวศน์ในพื้นที่นั้นๆ และเป็นข้อมูลที่บอกถึงประโยชน์ของดินหลายๆด้าน ทั้งด้านกายภาพ (เช่น เนื้อดิน, โครงสร้างดิน), ด้านชีวภาพ (สิ่งมีชีวิต) และด้านเคมี (เช่นธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน, ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนบวก หรือ CEC, ค่า pH, และค่าอินทรีย์วัตถุ) (Chesworth 2008)

โครงสร้างดิน พิจารณาจากรูปร่างและขนาดของกลุ่มอนุภาคและการเรียงตัวของดิน โครงสร้างดินที่มั่นคงจะช่วยลดการถูกกัดเซาะ เพิ่มการแทรกซึมและการเก็บกักของน้า และยังช่วยให้รากพืชแผ่ขยายได้ดี (Foth 1990)

ความสามารถในการอุ้มน้า คือ “ความสามารถของดินในกา รเก็บและรักษาน้าไว้” โดยความสามารถนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ “เนื้อดิน, อินทรีย์วัตถุ, ความพรุน และการเชื่อมต่อกันของรูพรุน” (Chesworth 2008)

การระบายน้า หมายถึงความสามารถในการแพร่กระจายของน้าลงไปยังชั้นล่างของดิน (การซึมผ่าน) โดยขึ้นอยู่กับเนื้อดินและโครงสร้างของดิน รวมถึงลักษณะของช่วงชั้นดินด้านล่าง และระดับน้าใต้ดิน

สิ่งมีชีวิตในดิน ได้แก่สิ่งมีชีวิตประเภทต่างๆตั้งแต่จุลินทรีย์จนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สิ่งมีชีวิตในดินมีบทบาทที่สาคัญในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ และยังมีอิทธิพลต่อการรวมตัวและโครงสร้างของดิน สิ่งมีชีวิตในดินส่วนมากจะเป็นประโยชน์ แต่มีบางประเภทที่เป็นอันตรายต่อพืช (Chesworth 2008)

ส่วนคุณสมบัติทางเคมีของค่า pH และค่า CEC จะกล่าวในรายละเอียดในส่วนต่อไป

การเปรียบเทียบคุณสมบัติของดินที่สาคัญของกลุ่มดินอ้างอิงมีอยู่ในตารางที่ 2

AN 30 Soils Table 2
ตารางที่ 2: การเปรียบเทียบคุณสมบัติของกลุ่มดินที่แสดงถึงสุขภาพของดินและความสามารถในการปลูกพืชให้เจริญเติบโต

จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ความแตกต่างของดินแต่ละประเภทสามารถวัดได้ด้วยคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน ไม่มีกลุ่มดินหลักอ้างอิงกลุ่มใดที่มีลักษณะหน้าตัดเหมือนกัน ความแตกต่างของดินได้มีการพัฒนามาเป็นเวลานานตามสภาพทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสภาพทางธรณีวิทยาที่แตกต่างกันอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ดินกลุ่มใหญ่สองกลุ่มนี้แม้จะคล้ายกันแต่มีข้อแตกต่างดังนี้คือ:

1) ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่า อคริซอล, นิติซอล, และลิโทซอล มักมีความอุดมสมบูรณ์ต่าเพราะมีค่า pH และค่า CEC ในระดับต่า หรือเป็นดินที่อยู่ในที่ตื้น (ลิโทซอล) เนื่องจากอคริซอลครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้างที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงถือว่าพื้นที่หลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความอุดมสมบูรณ์ต่า

2) ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีคุณสมบัติทางเคมีและทางชีวภาพที่ดี ได้แก่เกลย์ซอล, แคมบิซอล, ลูวิซอล, และฟลูวิซอล ซึ่งถือว่าเป็นดินที่ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ แต่กลุ่มดินบางกลุ่มไม่สามารถนาไปใช้ในทางเกษตรกรด้วยมีข้อจากัด เช่น เกลย์ซอลและฟลูวิซอลที่มีการระบายน้าที่ไม่ดี

ดินในสองกลุ่มนี้ มีคุณสมบัติทางเคมี คือค่า pH, ความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนหรือไอออนบวก (CEC), คาร์บอนอินทรีย์, และค่าความอิ่มตัวด้วยด่าง (มีอธิบายไว้ในส่วนต่อไป) ที่คานวณจากฐานข้อมูลดินโลก (Harmonized World Soil Database) และสรุปไว้ในตารางที่ 3 (FAO et al. 2012) คาจากัดความของคุณสมบัติเหล่านี้ ความสาคัญ และเกณฑ์ของความเหมาะสมต่อการเกษตร ส่วนใหญ่นามาจากการบันทึกข้อมูลของฐานข้อมูลดินโลก (Harmonized World Soil Database) (FAO et al. 2012)

ค่า pH วัดจากดินที่ละลายน้า เป็นค่าความเป็นกรดหรือด่างของดิน ค่า pH ของดินมีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืช ค่า

pH ในดิน 5 แบบใหญ่ๆที่สาคัญต่อการเพาะปลูกพืช ได้แก่

ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.5 มีสภาพเป็นกรดสูง เช่นดินเปรี้ยวจัด (Acid Sulfate Soils) หรือดินป่าชายเลน ไม่เหมาะกับการปลูกพืช

ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 4.5 – 5.5 มีสภาพเป็นกรดมาก และมักมีปัญหาจากความเป็นพิษของอลูมิเนียม สามารถปลูกพืชบางอย่างที่ทนต่อสภาพกรดได้ เช่น ชา และ สับปะรด

ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 5.5 –7.2 ถือว่ามีสภาพกรดถึงกลาง เป็นภาวะที่ดีที่สุดสาหรับธาตุอาหารที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการปลูกพืชทุกชนิด

ดินที่มีค่า pH ระหว่าง 7.2 – 8.5 มีสภาพคาร์บอเนตสูง มักไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อการปลูกพืช

ดินที่มีค่า pH มากกว่า 8.5 มีสภาพเป็นด่าง และมักมีค่าโซเดียมที่มากจนถึงขั้นเป็นพิษ และมีโครงสร้างดินไม่ดี คือมีโครงสร้างแบบแท่งหัวมน (columnar structure)

ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) จะบอกถึงความสามารถในการเก็บกักธาตุอาหารทั้งหมดของดิน ค่า CEC ต่าแสดงค่าความยืดหยุ่นที่ต่าและความสามารถต่าในการเก็บกักเก็บธาตุอาหาร ปริมาณและชนิดของดินเหนียวและส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุเป็นตัวบอกถึงความสามารถของดินในการกักเก็บธาตุอาหารโดยรวม ดินที่มีลักษณะเป็นทรายมีค่า CEC ต่ากว่า 4 cmol kg-1 ส่วนดินที่มีค่า CEC มากกว่า 10 cmol kg-1 ถือเป็นดินที่เหมาะสมสาหรับพืชทุกชนิด

อินทรีย์วัตถุ รวมกับค่า pH ถือเป็นตัววัดสุขภาพของดินที่ดีที่สุดและง่ายที่สุด ค่าคาร์บอนอินทรีย์ในระดับกลางถึงสูงจะสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์และโครงสร้างที่ดีของดิน ค่าอินทรีย์วัตถุ 0.6% ถือว่าต่าสาหรับดิน ดินที่มีค่าคาร์บอนอินทรีย์ต่ามาก (น้อยกว่า 0.2%) จะต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยอนินทรีย์เพื่อจะสามารถปลูกพืชให้ได้ผลดี

AN 30 Soils Table 3
ตารางที่ 3: คุณสมบัติทางเคมีของดินผิวหน้าของกลุ่มดินอ้างอิง

 

Soils of Mainland Southeast Asia 3

Map 3: pH of the topsoil in MSEA. Based on Soil Grids (ISRIC 2016).

Soils of Mainland Southeast Asia 4Map 4: Cation Exchange Capacity of the topsoil in MSEA. Based on Soil Grids (ISRIC 2016).

Soils of Mainland Southeast Asia 5Map 5: Organic Carbon of the topsoil in MSEA. Based on Soil Grids (ISRIC 2016).

 

“ค่าความอิ่มตัวด้วยด่าง (Base Saturation) เป็นตัววัดค่ารวมประจุบวกที่แลกเปลี่ยนได้/ธาตุอาหาร (Na, Ca, Mg, และ K) เป็นเปอร์เซ็นต์ของความสามารถในการแลกเปลี่ยนโดยรวมของดิน (รวมทั้งประจุบวกหรือแคตไอออนของ H และ Al) ค่าที่ได้แสดงความสัมพันธ์รวมเกือบเป็นเชิงเส้นกับค่า pH (FAO et al. 2012) ดินที่มีค่าความอิ่มตัวด้วยด่าง:

น้อยกว่า 20% ถือเป็นดินที่ไม่มีความอิ่มตัว มีข้อจากัดคล้ายกับดินที่มีค่า pH สูงมาก

ระหว่าง 20 – 50% เป็นดินที่มีสภาพเป็นกรด

ระหว่าง 50 – 80% เป็นกลางจนถึงค่อนข้างเป็นด่าง และมีสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด

มากกว่า 80% ถือเป็นดินที่มีลักษณะเป็นหินปูน ดินด่าง หรือดินเค็ม

ตารางที่ 3 แสดงคุณสมบัติเคมีเฉลี่ยของกลุ่มดินอ้างอิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากฐานข้อมูลของดินโลก (Harmonized World Soil Database) (FAO et al. 2012)

ตัวเลขในตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าอคริซอลและนิติซอลเป็นดินที่เป็นกรดสูง เนื่องจากอคริซอลกินพื้นที่ถึงครึ่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นดินส่วนใหญ่ที่พบจึงมีความเป็นกรดสูง หากดูที่ค่า pH เพียงอย่างเดียว ดินชนิดอื่นนอกเหนือจากอคริซอลและนิติซอลก็มีความเป็นกรดหรือเป็นกลางและเหมาะสมกับการทาการเกษตร

แผนที่ 3, 4, และ 5 แสดงค่า pH, ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC), และคาร์บอนอินทรีย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากการอ้างอิงข้อมูลของ SoilGrids (ISRIC 2016)

หากพิจารณาจากข้อมูลที่ว่ากลุ่มดินอคริซอลครอบคลุมพื้นที่เกินกว่าครึ่ง แสดงว่าพื้นที่ขนาดใหญ่ควรมีค่า pH และค่า CEC ที่ต่า อย่างไรก็ตาม จากแผนที่ 3 และ 4 แสดงถึงภาพที่น่าพอใจและพื้นที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าที่คาดคิดไว้ ดินที่เป็นกรดสูงพบมากแค่ในพื้นที่ทางเหนือสุดและใต้สุดของเมียนมาร์, ทางตอนใต้ของไทย และตามแนวเขาของลาวเท่านั้น (แผนที่ 3) ส่วนดินที่มีค่า CEC ต่ากว่าเกณฑ์ที่ 10 cmol kg-1 พบเพียงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของไทยเท่านั้น (แผนที่ 4) อย่างไรก็ตาม ทุกๆพื้นที่ที่มีมีค่า pH ต่ากว่า 5.5 และค่า CEC ตั้งแต่ 4 -10 cmol kg-1 เป็นบริเวณที่มีกลุ่มดินอคริซอล ในแผนที่ 5 แสดงถึงดินในบางพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเมียนมาร์ที่มีอินทรียวัตถุน้อย

เนื่องจากข้อมูลของ Soilgrids เป็นข้อมูลจากการคาดการณ์ ตัวเลขที่แสดงจึงเป็นค่าเฉลี่ยของคุณสมบัติเด่นของดินต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ และอาจคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้

ชั้นดิน (Soil Horizons)

นอกจากคุณสมบัติของดินทั้งด้านกายภาพและเคมีแล้ว กลุ่มดินอ้างอิงยังถูกจาแนกออกโดยคุณสมบัติของชั้นดินที่อยู่ภายในหน้าตัดดินด้วย หน้าตัดดิน (Soil Profile) คือภาคตัดตามแนวดิ่งของชั้นดิน (แสดงในภาพที่ 1) โดยชั้นดินคือชั้นต่างๆในดินที่วางตัวขนานกับผิวหน้าดิน ดินชั้นหนึ่งๆจะต่างกับชั้นดินที่ถัดขึ้นมาด้านบนและชั้นดินที่ถัดลงไปด้านล่าง โดยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ (Chesworth 2008) ชั้นดินหลัก (หรือที่รู้จักว่า Master Horizons) ทั้ง 7 ชั้น มีความแตกต่างกันดังนี้:

Soils of Mainland Southeast Asia 6

Figure 1: Soil horizons by Wilsonbiggs [CC BYSA 4.0 (http://creativecommons.org/licenses/bysa/4.0)], via Wikimedia Commons

ชั้น H-horizon คือชั้นอินทรีย์ที่มีอินทรียวัตถุบนหน้าดินและอิ่มตัวด้วยน้าเป็นระยะเวลานาน

ชั้น O-horizon คือชั้นอินทรีย์ แต่อิ่มตัวด้วยน้าเป็นเวลาสั้นๆและมีอินทรียวัตถุอยู่ 35% หรือมากกว่า

ชั้น A-horizon คือชั้นแร่ที่ผิวหน้าที่มีส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆกับอินทรีย์วัตถุที่ถูกย่อยสลายเป็นอย่างดีแล้ว

ชั้น E-horizon (ชั้นถูกชะล้าง) เป็นชั้นที่อยู่ใต้จากชั้นแร่และมีความเข้มข้นของทรายและดินตะกอนสูง เนื่องจากซิลิเกต เคลย์, เหล็ก, หรืออลูมิเนียมถูกชะล้างลงมา

ชั้น B-horizon คือชั้นใต้จากชั้นแร่ มีวัตถุต้นกาเนิดดินที่สลายตัวและมีคุณสมบัติตามการย่อยสลายของซิลิเกตเคลย์, เหล็ก, อลิมิเนียม หรือฮิวมัส (ชั้นสะสม)

ชั้น C-horizon เป็นชั้นหินร่วน („วัตถุต้นกาเนิดดิน‟) จากวัตถุที่ดินก่อตัวมา

ชั้น R-horizon เป็นชั้นหิน เช่น แกรนิต บะซอลต์ หินปูนหรือหินทราย

คาอธิบายกลุ่มดินอ้างอิง (Main Reference Soil Groups)

ต่อไปนี้เป็นคาอธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของกลุ่มดินอ้างอิง 7 กลุ่มในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (แผนที่ 2) คาอธิบาย คุณสมบัติ และประโยชน์ของดินมีที่มาจากบันทึก “Lecture Notes on the Major Soils of the World” (FAO 2001) จากแหล่งข้อมูลดินในโลก “World Reference Base for Soil Resources” (FAO 2014), และจากสารานุกรมวิทยาศาสตร์ดิน “Encyclopedia of Soil Science” (Chesworth 2008)

อคริซอล (Acrisols)

อนุกรมวิธานดิน ของ USDA : กลุ่มดินออกซิค (oxic) ของอันดับ อัลฟิซอล (Alfisols) และ อัลทิซอล (Ultisols); เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: เรด-เยลโลว พอดโซล (Red-Yellow Podzols)

Soils of Mainland Southeast Asia 6

ภาพที่ 2: อคริซอลสีเหลืองเข้มพบจากแกรนิตในเทีอกเขาประเทศจีน ที่มา: http://www. isric.org/about-soils/world-soil-distribution/acrisols

อนุกรมวิธานดิน ของ USDA : กลุ่มดินออกซิค (oxic) ของอันดับ อัลฟิซอล (Alfisols) และ อัลทิซอล (Ultisols); เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: เรด-เยลโลว พอดโซล (Red-Yellow Podzols)

อคริซอล (Acrisols) (จาก L. acris, ความหมาย „เป็นกรดสูง‟) เป็นดินที่มีกรดที่สลายตัวแล้วเข้มข้นและมีการสะสมของดินเหนียวที่มีการเปลี่ยนประจุบวกต่า (Low Activity Clay หรือ LAC) ในชั้นดิน B-horizon (ภาพที่ 2) และมีค่าความความอิ่มตัวด้วยด่างต่า

อคริซอลมักปรากฏในผิวหน้าที่มีการย่อยสลายหรือถูกกัดกร่อนมานานแล้ว ในพื้นที่มีภูมิอากาศชื้น, มีมรสุม, กึ่งเขตร้อนหรือมีภูมิอากาศอบอุ่น

การพัฒนาของหน้าตัดดินส่วนใหญ่เป็นรูปแบบ AEBtC (ชั้นดิน) อคริซอลโดยมากจะมีชั้นดิน A-horizon สีเข้ม ตื้น และมีอินทรีย์วัตถุที่เป็นกรด ส่วนชั้น E-horizon มักมีสีเหลืองและด้านบนของชั้นมีสีเหลืองเข้มถึงแดงไปจนถึงชั้น Bt-horizon (ชั้นB-horizon ที่มีการสะสมของดินเหนียว)

คุณสมบัติ:

  • โครงสร้างมีความเสถียรต่า – โครงสร้างจุลภาคไม่แข็งแรง และโครงสร้างมหภาคมีขนาดใหญ่มาก
  • มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนต่า , ค่าความอิ่มตัวด้วยด่างต่า, ปริมาณธาตุอาหารมีน้อย จึงถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ต่า
  • ค่า pH: น้อยกว่า 4.5 บนชั้นผิวหน้าของดิน, ตั้งแต่ 4.5 - 5.5 ในชั้น B-horizon
  • ดูดยึดฟอสฟอรัส และ มีพิษความเป็นพิษจากอลูมิเนียม

การจัดการและใช้ประโยชน์:

  • การทาการเกษตรที่ได้ผลต้องมีการป้องกันการกัดเซาะเพื่อรักษาหน้าดินและอินทรียวัตถุไว้
  • มีการเพาะปลูกแบบหมุนเวียนที่ทาอยู่อย่างแพร่หลาย สามารถปรับใช้ที่ดินอย่างได้ผลโดยมีระยะการใช้งานสั้นๆและระยะการฟื้นฟูสภาพนานๆ
  • ควรใช้ระบบวนเกษตร เพื่อรักษาดินสลับกับการเพาะปลูกแบบหมุนเวียน
  • ปรับระบบการเพาะปลูกพืชด้วยหินปูน, ปุ๋ย และการจัดการอย่างระมัดระวังสาหรับการทาการเกษตรแบบอยู่กับที่
  • สามารถปลูกพืชที่ทนต่อกรด เช่น ยาง, ปาล์มน้ามัน และสับปะรด เพื่อให้ได้ผลที่ดี

เกลย์ซอล (Gleysols)

อนุกรมวิธานดิน USDA : กลุ่มดิน „อคู‟ (aqu-) ของอันดับ เอนทิซอล (Entisols), อินเซพทิซอล (Inceptisols), และมอลลิซอล (Mollisols)

Soils of Mainland Southeast Asia 7

ภาพที่ 3: เกลย์ซอลกับระดับน้าใต้ดินที่ขึ้นๆลงๆ ประเทศเยอรมัน ที่มา: http://www.isric. org/about-soils/world-soil-distribution/gleysols

เกลย์ซอล (Gleysols) (จาก R. gley, ความหมาย „ดินหรือโคลนเหนียว‟) เป็นดินในพื้นที่ชุ่มน้า มีลักษณะตามนั้น คือมีความอิ่มตัวของน้าอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะเวลานาน มีเฉดสีเทาที่เห็นจากหน้าตัดดินที่อยู่ต่ากว่าระดับน้า ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการขาดไอรอนออกไซด์และแมงกานีสออกไซด์

เกลย์ซอล พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะในที่ลุ่มน้าที่น้าท่วมถึงทั้งตามลาน้าและชายฝั่งทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หน้าตัดดินของเกลย์ซอลส่วนมากเป็นลาดับของ A(Bg)Cr หรือ H(Bg)Cr สีเทาเข้มของชั้น Ah-horizon เปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีเขียวในชั้น Bg-horizon (ชั้นสีเทามีลักษณะข้นเนื่องจากสภาพขาดออกซิเจนจากการถูกน้าท่วมขัง) ส่วนชั้น Cr-horizon (ชั้นหินที่ถูกย่อยสลายหรืออ่อนตัว) มีสีเทา เขียว หรือฟ้า และมีสภาพขาดออกซิเจน (ภาพที่ 3) เมื่อเกลย์ซอลถูกน้าท่วมขังตลอดทั้งปี ผิวหน้าของดิน (ชั้น H-horizon) จะประกอบไปด้วยอินทรียวัตถุและแร่ผสมกัน (แฉะ)

คุณสมบัติ:

  • การถูกน้าขังอยู่เป็นเวลานานทาให้ดินอยู่ในสภาพขาดอากาศและไม่เกิดผลดีต่อสิ่งมีชีวิตในดินและรากพืช
  • การอยู่ในสภาพเปียกและแห้งสลับกันอยู่ตลอดเวลาอาจทาให้ดินแน่น คือโครงสร้างของดินอาจเสียหายหากดินถูกไถเมื่ออยู่ในสภาพเปียกเกินไป
  • ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ในจุดที่เป็นแอ่งหรือที่ต่า เนื่องจากมีเนื้อดินที่ละเอียดและมีการย่อยอินทรียวัตถุในอัตราที่ช้า
  • เมื่อเทียบกับดินในที่สูงที่อยู่ข้างเคียงกัน เกลย์ซอลจะมีอินทรียวัตถุมากกว่า มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนดีกว่า, มีค่าความอิ่มตัวด้วยด่างสูงกว่า และมีระดับฟอสฟอรัสและโปตัสเซียมสูงกว่า

การจัดการและการใช้ประโยชน์:

  • เกลย์ซอลที่ระบายน้าในระดับที่เพียงพอสามารถใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกได้ สามารถใช้เลี้ยงวัวนม และปลูกพืชสวนได้
  • การใส่ปูนขาวในดินจะทาให้ดินเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและขนาดกลางได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในดินเพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับพืชได้
  • เกลย์ซอลเหมาะเป็นอย่างยิ่งสาหรับการเพาะปลูกข้าวในที่ชุ่มน้า
  • สามารถปลูกพืชยืนต้นได้หลังจากระดับน้าต่าลง หรืออาจปลูกบนสันหรือแนวคันนา

แคมบิซอล (Cambisols)

อนุกรมวิธานดิน USDA : กลุ่มดิน อินเซพติซอล (Inceptisols)

Soils of Mainland Southeast Asia 8

ภาพที่ 4: ดินร่วนปนทราย จากพื้นที่ลาดเอียงที่มีวัสดุถูกน้าชะมา ประเทศจีน ที่มา: http://www. isric.org/about-soils/world-soil-distribution/cambisols

แคมบิซอล (จากชื่อ L. cambiare, ความหมาย „เปลี่ยน‟) เป็นดินที่อยู่ในระยะการก่อกาเนิดมาไม่นาน แคมบิซอลโดยทั่วไปมักมีสีออกสีน้าตาลในชั้น B-horizon ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับชั้นที่อยู่ต่าลงไป

แคมบิซอลพบได้ในพื้นที่ราบจนถึงภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ในทุกสภาพอากาศและเป็นดินที่มีพืชหลายชนิดเติบโตอยู่

หน้าตัดดินโดยทั่วไปของแคมบิซอลเป็นตามลาดับชั้น ABC- horizon และมีชั้น A-horizon ที่อยู่เหนือชั้น B-horizon ที่เป็นสีออกเหลืองหรือน้าตาลแดง และค่อนข้างจะคล้ายกันกับชั้น C-horizon (ภาพที่ 4)

คุณสมบัติ:

  • เนื้อดินปานกลาง (ร่วนถึงเหนียว) มีโครงสร้างที่มีความเสถียร
  • มีปริมาณดินเหนียวสูงสุดในชั้น A-horizon
  • มีรูพรุนมาก มีความสามารถในการอุ้มน้าได้ดี และมีการไหลซึมภายในดินที่ดี
  • มีสภาพดินเป็นกลาง ถึง เป็นกรดน้อย
  • ความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลางด้านเคมีและสิ่งมีชีวิตในดิน

การจัดการและการใช้ประโยชน์:

  • ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกได้ดี
  • ใช้ในการเกษตรแบบเข้มข้นเพื่อการเพาะปลูกพืชอาหารและพืชน้ามันในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้า
  • ในภูมิประเทศที่เป็นเนินเขา ใช้ปลูกพืชปีเดียวหรือพืชยืนต้น หรือใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
  • โดยทั่วไปมักไม่ค่อยมีธาตุอาหาร แต่จะมีความอุดมสมบูรณ์และค่า CEC มากกว่าดินที่มีอคริซอลหรือเฟอราซอลพบร่วมกันในเขตอากาศร้อนชื้น

ลิโทซอล (Lithosols) หรือเลปโตซอล (Leptosols)

อนุกรมวิธานดิน USDA : กลุ่มดิน ลิติก (Lithic) ของอันดับเอนติซอล (Entisols)

Soils of Mainland Southeast Asia 9

ภาพที่ 5: เลปโตซอล บนหินปูนครีเตเซียส ประเทศอิตาลี ที่มา: http://www.isric.org/aboutsoils/world-soil-distribution/leptosols

ลิโทซอลถือเป็นกลุ่มเดียวกับดินหลักอ้างอิงเลปโตซอล ซึ่งเลปโตซอลก็คือดินที่ไม่มีความลึกมาก อยู่บนก้อนหินและดินที่มีลักษณะคล้ายกับก้อนกรวด และ/หรือเป็นหิน (ภาพที่ 4) ลิโทซอลสามารถพบได้ในเขตภูเขา บนหินแข็งหรือบริเวณทางลาดที่ถูกกัดกร่อนง่าย

ลิโทซอลมักมีหน้าตัดดิน A(B)R หรือ A(B)C และมีชั้น A-horizon บางๆ

คุณสมบัติ:

  • ไม่เก็บกักน้า ความสามารถในการอุ้มน้ามีน้อย
  • มีคุณสมบัติทางชีวภาพและเคมีด้านวัตถุต้นกาเนิดคือเป็นดินเนื้อปูนซึ่งดีกว่าดินกลุ่มอื่นที่วัตถุต้นกาเนิดไม่ใช่เป็นดินเนื้อปูน

การจัดการและการใช้ประโยชน์:

  • ไม่เหมาะสาหรับการทาการเกษตร อาจใช้ทาเป็นพื้นที่ให้สัตว์เล็มหญ้าช่วงฤดูฝนและใช้เพื่อปลูกป่า
  • บางพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ปลูกไม้สักและไม้มะฮอกกานี

ลูวิซอล (Luvisols)

อนุกรมวิธานดิน USDA : กลุ่มดิน อัลฟิซอล (Alfisols)

Soils of Mainland Southeast Asia 10

ภาพที่ 6: ลูวิซอลที่ใช้ในการปลูกข้าว ประเทศจีน ที่มา: http://www.isric.org/aboutsoils/world-soil-distribution/luvisols

ลูวิซอล (จาก L. luere, ความหมาย „ล้าง‟) เป็นดินที่มีดินเหนียวที่มีความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (high activity clay) ถูกชะล้างลงมาจากชั้นผิวหน้าและมาสะสมยังชั้นดินที่ต่ากว่า
ลูวิซอลพบได้มากที่สุดในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลาดเอียงไม่มากในเขตที่มีฤดูฝนและฤดูแล้งต่างกันอย่างชัดเจน ในเขตกึ่งร้อนชื้นและเขตร้อน ลูวิซอลมักจะปรากฏให้เห็นในผิวหน้าดินที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน
หน้าตัดดินโดยทั่วไปคือ ABtC โดยมีชั้นดิน A-horizon สีน้าตาลถึงน้าตาลเข้มอยู่เหนือชั้น Bt-horizon ที่มักมีสีน้าตาลเทาถึงน้าตาลเข้มหรือแดง และเนื้อดินในแต่ชั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณดินเหนียวที่ต่างกัน (ภาพที่ 6)

คุณสมบัติ:

  • มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดี ดินผิวหน้ามีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆหรือเป็นเม็ดละเอียด มีรูพรุนและอากาศถ่ายเทได้ดี
  • มีคุณสมบัติระบายน้าได้ดี
  • มีความสามารถในการอุ้มน้าที่ดีที่สุดในชั้นดิน B-horizon
  • ดินผิวหน้าอาจง่ายต่อการถูกกัดเซาะ
  • ดินผิวหน้ามักไม่เหลือแคลเซียมแล้วหรือเหลือเป็นบางส่วน และมีความกรดนิดหน่อย ส่วนชั้นใต้ผิวหน้าดินมีค่าเป็นกลาง

การจัดการและการใช้ประโยชน์:

  • ดินในกลุ่มนี้มักอยู่ในระยะกลางของการถูกย่อยสลาย และมีค่าความอิ่มตัวด้วยด่างสูง จึงทาให้ดินนี้มีความอุดมสมบูรณ์สูง
  • เหมาะสาหรับการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรได้หลายอย่าง
  • ลูวิซอลในพื้นที่ลาดชันต้องมีวิธีการควบคุมการถูกกัดเซาะ

 

ฟลูวิซอล (Fluvisols)

อนุกรมวิธานดิน USDA : กลุ่มดินฟลูเวนท์ (Fluvents)

Soils of Mainland Southeast Asia 11

ภาพที่ 7: ดินเปรี้ยว ที่ราบลุ่มกรุงเทพฯ ที่มา:http://www.isric.org/ about-soils/world-soil-distribution/fluvisols

ฟลูวิซอล (จาก L. fluvius, ความหมาย “แม่น้า”) ได้แก่ดินที่เกิดขึ้นได้ไม่นานในกลุ่มอโซนัล (Azonal) บนตะกอนที่ถูกพัดพามาจากแม่น้า ทะเลสาบ หรือทะเล

ฟลูวิซอลอาจพบได้เป็นช่วงๆในพื้นที่ที่เกิดน้าท่วมบนที่ราบตะกอนน้าพา, สามเหลี่ยมปากแม่น้า (เช่นแม่น้าโขง, แม่น้าเจ้าพระยา), หุบเขา และแอ่งน้า (ที่มีน้าขึ้นน้าลง) ฟลูวิซอลที่ดินเปรี้ยวจัด (ดินที่มีกรดกามะถัน) พบได้ในพื้นที่ต่าตามแนวชายฝั่งทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เวียดนามและไทย)

ฟลูวิซอล มีชั้นดินแยกจากกันไม่ชัดเจน (ส่วนมากหน้าตัดดินคือ AC) และมีสีน้าตาล (ดินที่มีอากาศ) และ/หรือ สีเทา (ดินมีน้าขัง) (ภาพที่ 7)

คุณสมบัติ:

  • การตกตะกอนที่เกิดขึ้นไม่นานและความชุ่มน้าเป็นปัจจัยที่ใช้พิจารณาคุณสมบัติของฟลูวิซอล
  • ลักษณะของเนื้อดินมีตั้งแต่เป็นทรายหยาบจนถึงดินเหนียวแน่น
  • ดินชุ่มน้าทั้งหมดหรือเป็นบางส่วนเนื่องจากน้าที่ขังอยู่ใต้ดินและ/หรือจากน้าท่วม
  • ที่ลาดขั้นบันไดและตลิ่งตามแม่น้าจะระบายน้าได้ดีกว่าดินที่อยู่ในบริเวณที่เป็นที่ต่า
  • ค่า pH เป็นกลาง
  • มักมีความอุดมสมบูรณ์ (ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ถูกพัดพามา)

การจัดการและการใช้ประโยชน์:

  • เหมาะสมกับการปลูกพืชตามฤดู, ข้าวนาปี, และสวนผลไม้ หรือสาหรับไว้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์
  • ควรมีการควบคุมการเกิดน้าท่วม, การระบายน้า และ/หรือการชลประทาน
  • พื้นที่ที่มีการขึ้นลงของน้าเค็มควรปล่อยให้เป็นป่าโกงกางจะดีที่สุด

นิติซอล (กลุ่ม Nitosols)

อนุกรมวิธานดิน USDA : กลุ่มดินแคนดิค (Kandic) อันดับอัลฟิซอล (Alfisols) และ อัลทิซอล (Ultisols)

Soils of Mainland Southeast Asia 12

ภาพที่ 8: นิติซอลสีแดงเข้ม มีโครงสร้างแบบก้อนเหลี่ยมที่เห็นทางซ้ายของรูปภาพ ประเทศนิคารากัว ที่มา: http://www.isric.org/ about-soils/world-soil-distribution/nitisols


นิติซอล (จาก L. nitidus ความหมาย „เป็นเงา‟) เป็นดินเขตร้อนที่ถูกย่อยสลายเป็นอย่างดีแล้ว มีสีแดง และระบายน้าได้ดี นิติซอลมีชั้นดินผิวหน้ามีลักษณะเป็นดินเหนียว มีโครงสร้างแบบก้อนเหลี่ยมที่แตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆมีหลายเหลี่ยมและมีลักษณะเป็นเงา

นิติซอลพบได้ในพื้นที่ราบจนถึงที่เป็นเขาในป่าฝนเขตร้อนหรือพื้นที่ที่มีพืชพันธุ์ในเขตสะวันนา

หน้าตัดดินส่วนใหญ่เป็นตามลาดับ AB(t)C- horizon มีสีแดงหรือน้าตาลแดง ไปจนถึงความลึกกว่า 150 ซม. (ภาพที่ 8)

คุณสมบัติ:

  • เป็นหนึ่งในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในเขตร้อนชื้น
  • เป็นดินที่มีความเสถียร ระบายน้าได้ดี มีโครงสร้างดินที่ดี มีรูพรุนดี มีความสามารถในการอุ้มน้าพอใช้ และพืชสามารถแผ่ขยายรากได้ดีมาก
  • ค่อนข้างทนต่อการกัดเซาะ
  • มีค่าCEC สูงกว่าดินในเขตร้อนอื่นๆ (เฟอราซอล, ลิซิซอล, และอคริซอล) เพราะมีปริมาณดินเหนียวและอินทรียวัตถุมาก
  • ค่า pH ของดินอยู่ระหว่าง 5.0 - 6.5
  • มีฟอสฟอรัสที่พืชนาไปใช้ได้ในระดับต่า จึงจาเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสเพิ่ม

การจัดการและการใช้ประโยชน์:

โดยทั่วไปแล้ว สามารถใช้ปลูกพืชสวนหรือพืชไร่ (ได้แก่ โกโก้, กาแฟ, ยาง และสับปะรด) และใช้ปลูกพืชเพื่อเป็นอาหาร

สรุป

โลกของเราได้ผ่านช่วงเวลาของแผนที่ที่เป็นกระดาษจากสมัยเริ่มแรกและเข้าสู่แผนที่แบบอินเตอร์แอคทีฟแล้ว รวมทั้งยังมีแหล่งข้อมูลต่างๆที่จัดทาขึ้นโดย SoilGrids, Harmonized World Soil Database, และ Digital Soil Map of the World ดินถือว่าเป็นสิ่งจาเป็นต่อชีวิตของคนที่อาศัยบนโลกนี้ และจาเป็นอย่างยิ่งที่เราควรรู้จักดินของเราว่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีศักยภาพอย่างไรเพื่อจะสามารถจัดการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เราหวังว่าข้อแนะนาที่อาจใช้เป็นแนวทาง ที่เรานาเสนอเป็นข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของดินที่พบในพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีประโยชน์กับท่านในการทางานกับโครงการเกษตรและโครงการพัฒนาชุมชนที่ท่านดาเนินการอยู่

อ้างอิง

Chesworth, W. (Ed.). 2008. Encyclopedia of Soil Science. New York: Springer.

FAO. 1979. Soil Map of the World. Volume IX Southeast Asia. Paris: FAO, UNESCO.

FAO 2001. Lecture Notes on the Major Soils of the World. Eds. P. Driessen, J. Deckers, O. Spaargaren, and F. Nachtergaele. World Soil Resources Report 94. Rome: FAO. Available: http://www.fao.org/3/a-Y1899.pdf

FAO. 2007. Digital Soil Map of the World (2007-02-28). Version 3.6, 1:5.000.000 scale. Rome: FAO. Available: http://www.fao.org/ geonetwork/srv/en/metadata.show?id=14116

FAO. 2014. World Reference Base for Soil Resources. Updated 2015, World Soil Resources Report 106. Rome: FAO. Available: http://www.fao.org/3/a-i3794e.pdf

FAO/IIASA/ISRIC/ISSCAS/JRC .2012. Harmonized World Soil Database (version 1.2). Rome: FAO, and IIASA, Laxenburg, Austria. http://www.fao.org/soils-portal/ soil-survey/soil-maps-and-databases/harmonized-world-soil-database-v12/en/

Foth, H. D. (Ed.). 1990. Fundamentals of Soil Sciences. Hoboken, NJ: Wiley & Sons.

ISRIC. 2016. Soil Grids- World Soil Information. Available: https://www.soilgrids. org/#/?layer=geonode:taxnwrb_250m