ตีพิมพ์แล้ว: 01-02-2021


 

โดย 1แพททริค เทรล, 1ยุวดี แดนมะลิดอย, 1,2เอบรัม บิคสเลอร์, และ 1,3ริค เบอร์เน็ต

สังกัดในปัจจุบัน:

1ศูนย์การเรียนรู้ เอคโค อิมแพค เซ็นเตอร์ เชียงใหม่

2องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม ประเทศอิตาลี

3องค์การ Cultivate Abundance, ฟอร์ตไมเออร์ รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

 

[หมายเหตุบรรณาธิการ: หัวข้อที่น่าสนใจนี้เกิดขึ้นเมื่อย้อนกลับไปหลายปีก่อนขณะที่คุณริค เบอร์เน็ต ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของเอคโค เอเชีย จากการสังเกตว่าผักกูดหรือเฟิร์นกินได้นี้เก็บมาได้จากในป่าเท่านั้นและมีขายในตลาดเฉพาะบางช่วงเวลาของปี จึงมีความคิดที่ว่าผักที่ถูกละเลยและไม่ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่นี้สามารถนำมาเพาะปลูกในฟาร์ม โดยใช้ที่บังแดด เพื่อนำไปขายได้ในช่วง “นอกฤดู” อีกด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงได้จัดทำการทดลองขึ้นและการทดลองก็ได้เสร็จสิ้นลง (ด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย) โดยบทความนี้คือข้อสรุปของสิ่งที่เราได้เรียนรู้]

AN 45 Fern Fig 1

ภาพที่ 1  ยอดผักกูดหรือเฟิร์นกินได้ (Diplazium esculentum Reytz.)

ที่มาของผักกูด

พึชตระกูลเฟิร์นที่กินได้มีอยู่หลายสายพันธุ์ทั่วโลก ทั้งในเขตภูมิอากาศร้อนไปจนถึงอากาศอบอุ่น และสายพันธุ์ที่พบได้มากที่สุดได้แก่ Pteridium spp. , Matteuccia struthiopteris), และ Stenochlaena spp.  แต่การศึกษาของเรานี้จะมุ่งไปที่สายพันธุ์ Diplazium esculentum Reytz. หรือผักกูด ซึ่งเป็นพืชผักอายุยืนเขตร้อนที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่เขตเอเชียและเขตโอเชียเนีย (Sakai et.al. 2016) จัดอยู่ในกลุ่มเฟิร์นกินได้และถือเป็นผลผลิตจากป่าไม้ที่ไม่ใช่เนื้อไม้ (Non-Timber Forest Product หรือ NTFP) เป็นผักที่สำคัญตามภูมิภาคในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และรัฐฮาวาย (Lin et al., 2009)  ใบอ่อนของเฟิร์น (หรือยอดที่มีลักษณะม้วนงอ) มักนำไปกินสด ต้ม หรือลวก หรือนำไปปรุงในแกง ขึ้นอยู่กับภูมิภาคที่นำไปบริโภค (Duncan, 2012)

 

การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาของเฟิร์นกินได้นั้นแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางโภชนาเชิงบวกหลายอย่าง ซึ่งอุดมไปด้วยเบต้า-แคโรทีน กรดโฟลิก รวมถึงแร่ธาตุแคลเซียม, เหล็ก และฟอสฟอรัส ในขณะที่คุณสมบัติของสารต้านโภชนาการเช่น กรดไฟติก แทนนิน และทริปซินที่พบอยู่ในปริมาณหนึ่งแต่ไม่เป็นพิษ (Archana et al., 2012; Junejo et al., 2015) ผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของเฟิร์นสายพันธุ์ Diplazium esculentum หรือผักกูดที่จัดทำขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบทางโภชนาการที่มีอยู่ในปริมาณสูง (Table 1).

 

องค์ประกอบทางโภชนาการของผักกูด (Diplazium esculentum Reytz.)

 

เบต้า-แคโรทีน (ug/100 g)

516.58±2.66

ฟอสฟอรัส (mg/100 g)

54.05±0.82

วิตาบิน B1 (mg/100 g)

ND

วิตามิน B2 (mg/100 g)

0.04±0.00

วิตามิน C (mg/100 g)

0.94±0.86

วิตามิน E (อัลฟา-โคโคฟิรอล) (mg/100 g)

0.28±0.20

แคลเซียม (mg/kg)

138.00±5.21

แมกนีเซียม (mg/kg)

205.05±29.07

โพแทสเซียม (mg/kg)

3691.75±278.17

โซเดียม (mg/kg)

27.16±2.60

 

ตารางที่ 1 องค์ประกอบทางโภชนาการของ Diplazium esculentum Reytz การวิเคราะห์จัดทำเสร็จสิ้นในปี 2017 โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  

 

ผักกูดสามารถพบได้ตามฤดูกาลในตลาดเอเชียหลายแห่งและมักเก็บมาจากป่าบริเวณที่มีความชื้น มีร่มเงาตามริมห้วยและภายในพื้นที่ป่า ในช่วงฤดูฝนจะมีผักกูดมากมายให้เห็นทั่วไปในตลาดท้องถิ่นของบริเวณที่มีพื้นที่เหล่านี้ แต่ดูเหมือนจะมีขายในปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อในช่วงหน้าแล้งเมื่อมีมาวางขายก็จะหมดไปอย่างรวดเร็ว

 

ในปัจจุบัน มีการดำเนินการวิจัยไม่มากนักเกี่ยวกับศักยภาพในการทำสวนผักกูด รวมถึงโอกาสและข้อจำกัดทางเกษตรกรรมที่เป็นไปได้ของผักกูด ขณะนี้ผักกูดจำนวนมากยังมีการจัดหาเข้าสู่ตลาดด้วยวิธีการเก็บจากป่า แต่ยังไม่มีการเพาะปลูกกันอย่างกว้างขวางในพืชผักที่มีการจัดการการเพาะปลูก จากข้อเขียนของ Mertz (1999) ได้เปรียบเทียบศักยภาพการเพาะปลูกเฟิร์นวงศ์ Stenochlaena palustris (Burm.) (ผักกูดแดง) และวงศ์ Diplazium esculentum (Retz.) (ผักกูดขาว) ในประเทศมาเลเซียและพบว่าการเพาะปลูกผักกูดขาวไม่สามารถทำได้ในสภาพการเติบโตที่ไม่มีร่มเงา จากงานล่าสุดที่ศูนย์การเรียนรู้เอคโค เอเชีย อิมแพค เซ็นเตอร์ที่อยู่ทางภาคเหนือของไทยแสดงให้เห็นว่าสามารถปลูกได้และน่าจะเติบโตได้ดีในระบบการผลิตที่มีการจัดการด้านร่มเงา

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

 

เพื่อยืนยันและทดสอบทฤษฏีนี้ โดยการทดลองภาคสนามเป็นเวลาหลายปีได้จัดทำขึ้นเพื่อ 1) ประเมินผลการเจริญเติบโตและผลผลิตที่ออกสู่ตลาดของผักกูดในระบบการผลิตที่มีการจัดการด้วยการใช้วิธีให้ร่มเงาในวิธีต่างๆ และ 2) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการขยายการผลิตนอกเหนือจากช่วงเวลาการปลูกในหน้าฝนที่มีการเติบโตโดยทั่วไป

 

การปลูกผักกูดนอกฤดูกาลที่ผักกูดหาได้โดยทั่วไปนั้นอาจเป็นวิธีการทำการตลาดเฉพาะกลุ่มสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่กำลังมองหาช่องทางการตลาดใหม่ ทำให้การทดลองนี้น่าจะเป็นที่สนใจสำหรับเครือข่ายภายในของเอคโคและผู้อื่นที่สนใจ

 

การปลูกผักกูดโดยใช้ตาข่ายกรองแสงระดับต่างๆ

สถานที่ทำการทดลอง

 

การทดลองปลูกภาคสนามจัดขึ้นที่บริเวณที่ตั้งของธนาคารเมล็ดพันธุ์เอคโค เอเชีย ในช่วงฤดูเพาะปลูกของปี 2011 และ ปี 2017/2018  สภาพของสถานที่ทำการทดลองนี้ตั้งอยู่บนเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย (20° 1’N, 99° 17’E) มีลักษณะอากาศคือมีช่วงฤดูฝน (พฤษภาคมถึงตุลาคม) และช่วงฤดูแล้ง (พฤศจิกายนถึงเมษายน) โดยอุณภูมิโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 25 องศาเซลเซียส ถึง 30 องศาเซลเซียสตลอดทั้งปี (ตารางที่ 2)

 

 

มิ.ย

ก.ค

ส.ค

ก.ย

ต.ค

พ.ย

ธ.ค

ม.ค

ก.พ

มี.ค

เม.ย

พ.ค

 

รอบที่ 1 (2011)

 

 

รวม

ปริมาณฝน (มม.)

287

 

334

 

335

 

305

 

29

 

5

 

3

 

3

 

1

 

92

 

64

 

242

 

1700

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เฉลี่ย

อุณหภูมิ (oC)

29

28

28

28

28

25

23

22

 27

26

31

29

27

รอบที่ 2 (2017/2018)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รวม

ปริมาณฝน (มม.)

211

349

346

322

351

120

90

40

16

34

85

333

2297

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เฉลี่ย

อุณหภูมิ (oC)

31

29

29

29

27

26

23

25

28

32

32

31

28.5

ตารางที่ 2 ข้อมูลปริมาณน้ำฝนสะสมรายเดือน (มม.) และอูณหภูมิเฉลี่ยรายเดียน (oC) ที่อำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ ในช่วงการทดลองรอบที่ 1 และรอบ 2

 

การจัดเตรียมการทดลอง

 

เราปลูกผักกูดไว้ในที่ที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ โดยปลูกไว้ในแปลงภายใต้การให้แสงสามรูปแบบได้แก่:

1) แปลงควบคุมที่ไม่มีการใช้ตาข่ายกรองแสงเลย (0%) , 2) กรองแสงน้อย (50%), และ 3) กรองแสงมาก (80%) การทดลองจัดเป็นการออกแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design หรือRCBD) โดยมีการทำซ้ำ 4 ครั้ง แต่ละแถวมีตาข่ายกรองแสงติดตั้งแบบปลายเปิดไว้เหนือแปลงปลูก 1.5 เมตรตามแต่ละแบบ (ภาพที่ 2) และมีระบบพ่นน้ำฝอยขนาดเล็กด้วยไมโครสปริงเกลอร์ติดไว้เพื่อให้น้ำในช่วงเดือนที่เป็นฤดูแล้งโดยเป็นการจำลองสภาพความชื้นเหมือนในสถาพพื้นที่ที่ผักกูตเติบโตอยู่ทั่วไป ส่วนช่วงเวลาเก็บผักกูดในการทดลองสองรอบนี้มีระยะเวลา 1 ปี ทำให้สามารถเปรียบเทียบการเติบโตและผลผลิตตามที่ได้ตามแต่ละฤดูคือทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง

AN 45 Fern Fig 2

ภาพที่ 2 เก็บข้อมูลในแปลงทดลองปลูกผักกูดที่เอคโค เอเชีย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

แปลงทดลองทุกแปลงมีขนาด 1ม. X 1 ม. และหน่อพันธุ์ผักกูดปลูกไว้ในระยะห่างประมาณ 30 ซม.x 30 ซม. เป็นจำนวนทั้งหมด 9 ต้นต่อแปลง หน่อพันธุ์นี้ขุดมาจากแปลงผักกูดที่ปลูกอยู่ก่อนแล้ว เป็นผักกูดในป่าที่คนเคยเก็บยอดมาแล้วและมีการนำหน่อเหล่านั้นมาปลูกไว้

 

หน่อผักกูดนำมาปลูกในแปลงที่เคยได้รับสารปรับปรุงดินอินทรีย์มาหลายปีก่อนหน้า โดยมีทั้งปุ๋ยหมัก, มูลวัว และฟางข้าวที่ใช้คลุมหน้าดิน ในการทดลองนี้ ไม่มีการใส่สารปรับปรุงดินเพิ่มเติมในช่วงระยะเวลาที่ทดลอง แต่ละแปลงปลูกจะมีการนำวัสดุคลุมดินก่อนฤดูกาลปลูกแต่ละครั้งด้วยการปูฟางข้าวจำนวนมากประมาณ 640 กก.ต่อไร่ เพื่อให้เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการรักษาความชื้นในดินและเพื่อป้องกันวัชพืชขณะที่หน่อผักกูดเจริญเติบโต

 

 

การเก็บข้อมูล

เมื่อหน่อติดแล้ว (3 เดือนหลังการย้ายปลูก) จะมีการเก็บข้อมูลการเก็บเกี่ยวยอดผักกูดที่นำไปขายตลาดได้ในทุกๆ 3 สัปดาห์จากผักที่อยู่แถวกลางที่เป็นพืนที่เก็บตัวอย่าง ของแปลงทุกแปลง จะมีการเก็บข้อมูลการเติบโตของผักกูดอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา3 สัปดาห์ในช่วงระยะเวลา 1 ปี รวมเป็นระยะเวลาการสุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 14 ครั้ง ยอดผักที่เก็บได้จะมีการนับจำนวนและชั่งน้ำหนัก ขณะที่ยอดผักตัวอย่างบางยอดจะนำไปอบแห้งและคำนวณเป็นน้ำหนักแห้ง ข้อมูลของความสูงของต้นและเปอร์เซ็นต์ของส่วนที่ตายจะมีการวัดทุกๆ 3 อาทิตย์ในพื้นที่สุ่มของทุกแปลง ความสูงของต้นจะคำนวณโดยใช้ส่วนที่ยื่นสูงขึ้นไปที่สุดของใบต้นผักกูด ขณะที่เปอร์เซ็นต์ของส่วนที่ตายจะประเมินจากการใช้คะแนนการจัดอันดับที่สายตามองเห็นจากคะแนน 0 (ไม่มีส่วนตายเลย) ไปถึง 100 (ตายทั้งต้น)  ตามแบบของ Deadman et al. (2002)

 

ในระหว่างการทดลอง จะมีการไปดูที่ตลาดชุมชนเป็นระยะๆเพื่อไปหาซื้อผักกูด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฝ้าดูว่ามีผักกูดในตลาดมากน้อยเพียงใดและดูราคาตลาดที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล ผักกูดที่ซื้อมาเป็นมัดจะนำไปชั่งเพื่อจดบันทึก และจดจำนวนของยอดผักด้วย ผักกูดที่ซื้อมานั้นได้มาจากตลาดใกล้ๆในอำเภอฝาง และจากในอำเภอเมืองเชียงใหม่เพื่อประเมินความแตกต่างของราคา

 

ร่มเงาเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงความชื้นด้วย

ผลจากการทดลองในภาคสนามของเราแสดงให้เห็นว่าการทำสวนผักกูดนั้นน่าจะให้ผลที่ดี ไม่ว่าจะในหน้าฝนหรือหน้าแล้ง ผลผลิตที่ได้สูงกว่าในฤดูฝนเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนของฤดูแล้งที่แม้จะมีการให้น้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ผลที่ได้นี้ชี้ให้เห็นว่าร่มเงามีส่วนสำคัญในระบบการจัดการผลิต โดยแปลงปลูกที่มีตาข่ายกรองแสงจะให้ผลดีกว่าแปลงที่ไม่มีตาข่ายกรองแสงเกือบทุกครั้ง (ภาพที่ 3) ผักกูดที่ปลูกไว้ใต้ตาข่ายกรองแสงบางส่วน (50%) ได้ผลกว่าที่ปลูกใต้ตาข่ายกรองแสงที่มากกว่า (80%) ในการทดลองทั้งสองรอบ แต่ความแตกต่างที่พบนั้นก็มีเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่มีร่มเงาและไม่มีร่มเงา

Edible Fern Thai 1

ภาพที่ 3 น้ำหนักยอดผักกูดสดที่เก็บมาในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งของการทดลอง 2 รอบ

 

ผักกูดที่เติบโตโดยไม่มีร่มเงานั้นมีอัตราการตายหรือส่วนที่ตายมากกว่าผักกูดที่ปลูกในร่ม ในทุกรอบของการทดลอง ส่วนที่ตายในผักนี้ชี้ให้เห็นว่าผักกูดมีความไวต่อแสงแดด ดังนั้นจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาในการนำผักกูดมาปลูก ความแตกต่างกันของอุณหภูมิประจำปีเฉลี่ยระหว่างการทดลองรอบที่ 1 และ 2 อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งอธิบายถึงการเติบโตที่มากกว่าและส่วนพืชที่ตายไปมากกว่าในส่วนที่ไม่ได้ปลูกในร่ม ในการปลูกรอบที่สองเมื่อเทียบกับรอบแรก

Edible Fern Thai 2

ภาพที่ 4 ส่วนที่ตายของผักกูดที่เติบโตในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้วในการทดลอง 2 รอบ

 

ในการวิเคราะห์ผลที่ได้ในการศึกษานี้ เราสังเกตเห็นความแตกต่างอย่างมากของผลผลิตที่ได้ระหว่างฤดูฝนกับฤดูแล้งในการทดลองรอบที่ 2 กับรอบที่ 1 ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับฤดูฝนที่นานกว่าและปริมาณฝนที่มีมากกว่าค่าเฉลี่ยในระหว่างการทดลองรอบที่สอง (2297 มม. เมื่อเทียบกับ 1700 มม.ในรอบที่ 1) จึงดูเหมือนว่าขณะที่ร่มเงาน่าจะมีส่วนต่อผลผลิตที่ได้และเป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกผักกูด แต่ความชื้นที่เพียงพอก็อาจสำคัญเท่าๆกัน แม้จะมีการให้น้ำทุกๆ 3-4 วันตลอดฤดูกาล แต่การมีความชื้นในปริมาณที่มากกว่านั้นอาจจะจำเป็นด้วยเพื่อไม่ให้พืชมีโอกาสที่จะเครียดจากการขาดน้ำ

 

ความคาดหวังและการนำไปใช้ในผู้ผลิตรายย่อย

            แม้ผลที่ได้นี้ยังไม่ถือว่าละเอียดถี่ถ้วน แต่ก็บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้สูงในการปลูกผักกูดในสภาพที่มีการจัดการ เราเชื่อว่าการทำสวนผักกูดในระดับเกษตรรายย่อยนั้นเป็นไปได้และควรทำผสมผสานร่วมกับการทำฟาร์มขนาดเล็ก โดยผักกูดเป็นได้ทั้งผลผลิตที่นำไปขายหรือเพื่อการบริโภคเองภายในครัวเรือน ผักกูดซึ่งเป็นพืชที่ถูกละเลยและมีการนำมาใช้ประโยชน์น้อย (Neglected & Underutilized Species หรือNUS) มีศักยภาพที่จะเป็นผลผลิตในตลาดเฉพาะกลุ่ม รวมถึงเป็นผักเสริมที่อุดมไปด้วยโภชนาการสำหรับความหลากหลายของอาหารในครัวเรือน นอกจากนี้ผักกูดยังมีศักยภาพที่จะเป็นผลผลิตเฉพาะกลุ่มทั้งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้หรือที่อื่นๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อปรับแต่งแนวทางปฏิบัติในการเพาะปลูกสำหรับผักกูด แต่ทั้งนี้ ผักกูดถือเป็นพีชที่มีศักยภาพสูงในการปลูกในสภาพแวดล้อมที่มีการจัดการอย่างเหมาะสม

 

ขอขอบคุณ

ผู้เขียนขอขอบคุณหลายๆท่านที่มีส่วนในโครงการที่มีมาอย่างต่อเนื่องนี้ หลายๆท่านได้ช่วยเหลือตลอดมาในการเก็บข้อมูลและดูแลรักษาแปลงปลูก ขอขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับอาสาสมัครเอคโค เอเชีย คือเจมส์ แมนสัน, แคริส ลอทส์ และคาเลบ&เคย์ลีห์ ฟิลิปส์ ขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือในการจัดทำและดูแลแปลงปลูก รวมถึงการเก็บข้อมูลเล็กๆน้อยๆทุกอย่าง

 

 

อ้างอิง

Archana, G. N., Pradeesh, S., Chinmayee, M. D., Mini, I., Swapna, T. S. (2012). Diplazium esculentum: a wild nutrient-rich leafy vegetable from Western Ghats. In: Sabu, A., Agustine, A. (eds) Propsects in Bioscience: Addressing the Issues. 293-301.

Deadman, M. L., Khan, I. A., Thacker, J. R. M., Al-Habsi, K. (2002). Interaction between leafminer damage and leaf necrosis caused by alternaria alternata on potato in the Sulfanate of Oman. The Plant Pathology Journal. 18(40): 210-215.

Duncan, K., Chompoothong, N., Burnette, R. 2012. Vegetable Production Throughout the Rainy Season. ECHO Asia Notes. 13: 1-14.

Junejo, J. A., Ghoshal, A., Mondal, P., Nainwal, L., Zaman, K., Singh, K. D., Chakraborty, T. (2015). In-vivo toxicity evaluation and phytochemical, physiochemical analysis of Diplazium esculentum (Retz.) Sw. leaves a traditionally used North-Eastern Indian vegetable. Advances in Bioresearch. 6(5): 175-181.

Lin, L. J., Hsiao, Y. Y., & Kuo, C. G. (2009). Discovering Indigenous Treasures: Promising Indigenous Vegetables from Around the World. World Vegetable Center. 9(720): 118-121. 

Mertz, O. (1999). Cultivation potential of two edible ferns, Diplazium esculentum and Stenochlaena palustris. Tropical Agriculture. 76(1): 10-16.

Sakai, S., Choy, Y. K., Kishimoto-Yamada, K., Takano, K. T., Ichikawa, M., Samejima, H., Kato, Y., Ushio, M., Saizen, I., Nakashizuka, T., Itioka, T. (2016). Social and ecological factors associated with the use of non-timber forest products by people in rural Borneo. Biological Conservation. 204: 340-349.