โดย: Keith Mikkelson


This article is from ECHO Asia Note # 35.

โดย คีท มิคเคิลสัน (Keith Mikkelson) บ้านเด็กกำพร้าและสวนเกษตรพอเพียงอโลฮา

เมืองปวยร์โต ปรินเซซา ประเทศฟิลิปปินส์

[หมายเหตุจากบรรณาธิการ: บทความนี้เป็นบทความที่ 5 ซึ่งเป็นบทความสุดท้ายของชุดบทความเกี่ยวกับอาหารสัตว์ (แม้บทความที่แล้วเราเขียนไว้ว่าเป็นบทความสุดท้าย) ที่เขียนโดยคุณ คีท มิคเคิลสันจากบ้านเด็กกำพร้าและสวนเกษตรพอเพียงอโลฮา เมืองปวยร์โต ปรินเซซา ประเทศฟิลิปปินส์  คุณคีทมีประสบการณ์การทำเกษตรแบบยั่งยืนที่บ้านอโลฮานี้มาเป็นเวลา 15 ปี โดยได้ทำการผลิตอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและผลิตได้จากวัตถุดิบในฟาร์มให้กับเด็กกำพร้าที่บ้านอโลฮาและคนในพื้นที่ได้บริโภค เอคโค เอเชียมีโอกาสพิเศษที่ได้ไปเยี่ยมคุณคีท และครอบครัวที่บ้านอโลฮา รวมถึงในช่วงที่ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการผลิตอาหารที่ยั่งยืนที่เอคโคเอเชียฟิลิปปินส์เป็นผู้มีส่วนร่วมจัดขึ้นทั้งสองครั้ง บ้านอโลฮามีผลผลิตเป็นที่น่าประทับใจมากภายใต้พื้นที่ขนาดเล็กและใช้ปัจจัยการผลิตที่มาจากภายนอกน้อยมากบทความก่อนหน้านี้ของคุณคีทอยู่ในสารเอคโคเอเชียฉบับที่ 20 อาหารปลา ฉบับที่ 25 อาหารสุกร ฉบับที่ 28 อาหารไก่ และฉบับที่ 31 อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยบทความเหล่านี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการใช้วัตถุดิบในฟาร์มมาทำเป็นอาหารสัตว์ที่จะช่วยลดการพึ่งพาวัตถุดิบจากนอกฟาร์ม (ที่ส่วนใหญ่มีราคาแพง) เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเกิดผลกำไร]

คำนำ

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการทำการเกษตรหรือทำสวนแบบยั่งยืนให้สมบูรณ์แบบคือการสร้างสมดุลระหว่างสวนหรือพื้นที่เกษตรกับการเลี้ยงสัตว์หนึ่งหน่วยขนาดเล็ก การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์เป็นพื้นฐานข้อที่ 10 ในหนังสือที่ผมเขียนชื่อว่า Sustainable Agriculture in the Tropics  (ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในเขตร้อน) ถ้าคุณได้อ่านสารเอคโคเอเชีย แสดงว่าคุณมีโอกาสดีทีได้มีส่วนร่วมอย่างใดอย่างหนึ่งในการเกษตรหรือการทำสวนอยู่แล้ว สัตว์ที่เราเลี้ยงจะช่วยผลิตปุ๋ยคุณภาพสูงราคาถูกและยังให้ผลผลิตที่นำไปเป็นอาหารหรือเครื่องนุ่งห่ม แม้นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามทดลองการผลิตที่เลียนแบบประโยชน์ต่างๆของระบบการผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ตามวิถีดั้งเดิม แต่ผลที่ได้ก็ไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนในพื้นที่ที่ทำการทดลอง 

AN35 Mik Fig1

ภาพที่ 1 วัวพันธุ์โบวายที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งกำลังเล็มหญ้า humidicola (Brachiaria humidicola) ในพื้นที่ว่างใต้ต้นมะพร้าวในประเทศฟิลิปปินส์ การเลี้ยงวัวผสมผสานแบบนี้ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการคอยออกไปตัดหญ้าให้วัวกิน รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายอื่นๆในการผลิต

ที่อโลฮาฟาร์ม เมืองปวยร์โต ปรินเซซา ประเทศฟิลิปปินส์ เราคำนวนดูและพบว่าโดยทั่วไปแล้ว หมูของเราจะให้ผลกำไรสุทธิประมาณ 900-1300 บาทต่อตัว ในฤดูที่ไม่ค่อยดีนัก ด้วยปริมาณหมู 12- 15 หน่วย หมูเหล่านี้มีศักยภาพที่จะให้กำไรได้ 6,200 – 9,300 บาทต่อไตรมาส นอกจากนี้ เรายังเริ่มใช้ถังขนาด 20 ลิตรเพื่อวัดปริมาณขี้หมูที่ได้ และพบว่าหมู 12-15 ตัวนี้ผลิตขี้หมูมากกว่า 25 ลบม./ไตรมาส ขี้หมูนี้ลดปริมาณลงเมื่อทำเป็นปุ๋ยที่ 10 ลบม./ไตรมาส ซึ่งมากพอที่จะใช้เป็นปุ๋ยในพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวาน 1 เฮคตาร์ ( 6.25 ไร่) ซึ่งเราขายและได้กำไรประมาณ 9,000 กว่าบาท

นอกเหนือจากนี้ เราพบว่าวัสดุที่เหลือจากผลผลิตข้าวโพดที่เป็นใบและซังข้าวโพดสามารถนำไปผลิตเป็นถ่านไบโอชาร์ นำไปเป็นอาหารเลี้ยงแพะ หรือนำไปหมักรวมกับขี้หมูในวงจรต่อไป ที่นี่ถือว่ามีความหลากหลายกว่าฟาร์มอื่นๆ แต่ผมก็หวังว่าตัวอย่างนี้จะช่วยให้คุณเริ่มเห็นคุณค่าที่สัมพันธ์กันกับรูปแบบการผสมผสานการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก สัตว์เลี้ยงของคุณมีศักยภาพมากมายที่จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในระบบทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยราคาแพงจากภายนอก (ภาพที่ 1)

ระบบเกษตรผสมผสานแบบวิถีดั้งเดิม

จากบทความของศูนย์เทคโนโลยีปุ๋ยและอาหาร (Food and Fertilizer Technology Center) (1999) กล่าวว่า: “เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะผสมผสานการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกได้ดีกว่านักวิทยาศาสตร์!” เราเรียนรู้อะไรได้หลายอย่างจากระบบที่มีอยู่ในขณะนี้และช่วงระยะเวลาแห่งการลองผิดลองผิด (FFTC 1999) Sajise ได้ชี้ให้เห็นว่า “ระบบดั้งเดิมเป็นระบบที่ผสมผสานการเลี้ยงสัตว์และพืชผลหลายชนิดไว้ด้วยกันอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องทำให้ได้คือการเพิ่มผลผลิต เพื่อจะสามารถผลิตชีวมวลที่จะนำไปใช้ได้ให้มากขึ้นพร้อมกับรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ระบบเกษตรกรรมทั้งหมดต้องพึ่งพาอยู่” (FFTC 1999) จากข้อมูลของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute หรือ IRRI) มีรายงานว่าในพื้นที่ เช่นในทวีปเอเชีย ระบบการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชรวมกันอาจถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเพิ่มผลผลิตที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและช่วยบรรเทาปัญหาความยากจน (Sombilla and Hardy 2005)

ข้อมูลของ Paris (1992) ได้สรุปผลการวิจัยระบบการเกษตรที่มีการเลี้ยงสัตว์และปลูกข้าวเป็นหลักในประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอื่นๆในเอเชีย โดยยกตัวอย่างการทำงานระหว่างพืชและสัตว์ไว้ดังนี้:

  1. ใช้แรงงานสัตว์ในการปลูกพืชผลทางการเกษตร, การขนส่ง และขบวนการผลิต และใช้วัสดุที่เหลือจากพืชผลทางการเกษตร (ฟาง, รำ และเศษเหลืออื่นๆ) ใช้เป็นอาหารสัตว์ให้กับวัวควายหรือหมูและสัตว์ปีก
  2. ใช้มูลสัตว์ในการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพและลดค่าใช้จ่ายสำหรับปัจจัยการผลิต
  3. ลดความเสี่ยงในการผลิตให้น้อยลงด้วยการผสมผสานการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เข้าด้วยกัน
  4. ครัวเรือนที่เป็นฟาร์มขนาดเล็กได้บริโภคนม เนื้อ และไข่ ซึ่งเป็นสุดยอดของการพัฒนาโภชนาการและสุขภาพของมนุษย์
  5. การขายสัตว์ (จำพวกวัวควายหรือหมูและสัตว์ปีก) และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เพื่อส่งเสริมรายได้ของเกษตรกรให้มั่นคง เพื่อสามารถซื้อปัจจัยการผลิตที่ต้องใช้เงินสด และเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเช่น ค่าเทอม ค่าใช้จ่ายในการอยู่ร่วมกันในสังคมกับผู้อื่น และค่ารักษาพยาบาล

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชร่วมกันคือการขาดขบวนการเพื่อที่จะวัดผลกำไรที่ได้อย่างเป็นขั้นตอน

หาวิธีใหม่ๆในการผสมผสานการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน

AN35 Mik Fig2

ภาพที่ 2 การตัดพืชสดพวกพืชตระกูลถั่วที่ทำเป็นประจำทุกวันอย่างเหมาะสมเพื่อนำพืชไปเลี้ยงแพะ วัว และหมู เป็นวิธีช่วยลดค่าใช้จ่าย

การจัดการที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์จะช่วยให้เกษตรกรในเขตร้อนได้รับผลกำไรมากกว่าการปลูกผักและปลูกพืชไร่ ในระบบการเกษตรแบบเพอร์มาคัลเชอร์ เราจะบอกว่า "ผสมผสานแทนการแยกออกจากกัน!” ตัวอย่างหนึ่งคือวิธีที่เกษตรกรผสมผสานสัตว์เล็มหญ้าไว้ในแผนการปลูกพืชตามฤดูกาล ในระบบการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง จะมีการปล่อยวัวควายและแพะไว้เล็มหญ้าในป่าหรือพาขึ้นไปยังพื้นที่สูงกว่าให้ห่างจากพื้นที่เพาะปลูกในช่วงฤดูที่พืชผลกำลังเติบโต เมื่อเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้วก็จะนำสัตว์เหล่านี้กลับมาในหมู่บ้านเพื่อมาหากินในพื้นที่ที่ปล่อยร้างไว้ในช่วงฤดูแล้ง (FFTC 1999) ที่ฟาร์มบ้านอโลฮา เราเลี้ยงแพะ ไก่ เป็ด วัว และหมูไว้ด้วยกัน (ภาพที่2) ตัวอย่างเช่น แพะของเราจะเล็มหญ้าและไม้พุ่มตระกูลถั่ว เราจะเอาเศษพืชที่เหลือให้แพะกินด้วย ในระบบผสมผสาน เราสามารถลดค่าใช้จ่ายของอาหารสัตว์ (พร้อมกับการเก็บมูลสัตว์ไปใช้) นอกจากนี้เรายังลดค่าปุ๋ยไปได้หลายอย่าง (ภาพที่ 3) เราตัดพืชอาหารสัตว์ไปให้แพะ วัว ไก่ และหมู ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้แรงงาน แต่เราก็สามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารสัตว์ไปได้

ที่ฟาร์มบ้านอโลฮา เราแนะนำว่า ควรจะปล่อยสัตว์ออกมาเล็มหญ้าถ้ามีพื้นที่พอ แต่ก็คงไม่สามารถทำได้แบบนี้ในพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดหรือในพื้นที่ในเมือง หากไม่มีพื้นที่สำหรับให้สัตว์เล็มหญ้า ก็สามารถใช้เมล็ดพืชเป็นอาหารเสริมได้ หรือจะใช้วิธีหมักเมล็ดพืชที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อเพิ่มอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ เราพบว่าเมล็ดที่หมักไว้ทำหน้าที่เป็นเหมือนโปรไบโอติกส์ ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นของการใช้ยาในสัตว์ด้วย

 

สัตว์ที่กินทั้งพืชและเนื้อ เช่นหมู ไก่ และเป็ด เติบโตได้ดีจากแหล่งอาหารที่เป็นไซเลจ หรือพืชหมัก (เราใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ หรือ EM เป็นตัวตั้งต้นอาหารหมัก) จุลินทรีย์มีชีวิตใน EM จะสังเคราะห์วิตามินในธรรมชาติและช่วยให้เกิดการนำมาใช้ของสารประกอบเสริมสร้างสุขภาพที่จะช่วยปกป้องสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง สำหรับเราแล้ว การซื้อ EM มีค่าใช้จ่ายที่ถูกมากกว่าการฉีดยาปฏิชีวนะและวิตามิน นอกจากนี้ ยังทำให้เราไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในระบบด้วย เราฉีดกรงและที่อยู่ของสัตว์เลี้ยงด้วย EM ทุกอาทิตย์เพื่อลดกลิ่นและแมลงวัน  เมื่อมีแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในปริมาณมากจะสามารถแข่งขันและช่วยป้องกันเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคได้ จากงานเขียนของ Higa and Parr (1994) EM-1 คือส่วนผสมที่สามารถหาซื้อได้ ซึ่งประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ 3 ประเภท ได้แก่:

AN35 Mik Fig3

ภาพที่ 3 แคฝรั่งและกระถินเป็นอาหารวางไว้บนไม้ที่พาดไว้ให้แพะกิน

  1. แบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติค (Lactic Acid Bacteria) แบคทีเรียตระกลูนี้ยังนำไปใช้ในการทำโยเกิร์ตและชีส โดยแบคทีเรียจะแปลงน้ำตาลให้เป็นกรดแลคติค ในขณะที่เกิดขบวนการ ก็จะลดค่า pH ให้ต่ำลง ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเติบโตได้และทำให้จุลินทรีย์ที่ผลิตก๊าสมีเทนมีชีวิตอยู่ไม่ได้
  2. ยีสต์ คือกลุ่มเชื้อราเซลล์เดียวที่เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ทำขนมปังหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล เป็นตัวเริ่มขบวนการหมัก
  3. แบคทีเรียที่สังเคราะห์แสง กลุ่มแบคทีเรียนี้ช่วยให้จุลินทรีย์อื่นๆอยู่ร่วมกันได้ โดยใช้อนุภาคของแสงเผาผลาญและเปลี่ยนแปลงสารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์ ตามคำกล่าวของ Drs Higa and Parr, (1994)  แบคทีเรียสังเคราะห์แสง “ทำให้เกิดขบวนการสังเคราะห์แสงที่ไม่สมบูรณ์โดยไม่ใช้ออกซิเจนเนื่องจากขบวนการสังเคราะห์แสงทำให้เกิดออกซิเจนเป็นผลพลอยได้ แบคทีเรียเหล่านี้จึงช่วยผลิตออกซิเจนให้กับรากพืช นอกจากนี้ แบคทีเรียสังเคราะห์แสงยังมีประโยชน์ต่อความสามารถของพืชในการขจัดพิษในดิน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนสสาร เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ให้เป็นสารประกอบที่มีประโยชน์ และเพื่อความสามารถในการตรึงไนโตรเจน

เราใช้วิธีเก็บเกี่ยวพืชสดเพื่อนำไปเลี้ยงสัตว์ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในระบบการเลี้ยงสัตว์ของเรา  เราเลี้ยงแพะไว้ในบริเวณที่ล้อมเอาไว้จนเมื่อแสงแดดส่องทุ่งหญ้าจนแห้งแล้ว เราจึงปล่อยแพะออกไปเล็มเพื่อเป็นการปลอดภัยสำหรับแพะ เพราะในพื้นที่ของเรามีพยาธิที่มีผลต่อกระเพาะอาหารหากปล่อยให้แพะเล็มหญ้าเปียก เราให้อาหารแพะตัวผู้ ตัวเมีย และลูกแพะจากพืชอาหารสัตว์ที่ขึ้นตามขอบสระน้ำและพืชที่ขึ้นเป็นแนวได้แก่ หญ้าเกล็ดหอย(Desmodium rensonii), หางเสือ (Flemingia congesta), คราม (Indigofera), แคฝรั่ง (Gliricidia sepium), กระถินไทย (Leucaena leucocephala), และกระถินเทพา (Mangium acacia). (Ruminant ECHO Note LINK) บางครั้งแพะของเรากินเปลือกไม้ด้วย

ขณะที่แพะกินอาหารที่เราตัดไปให้ แพะฝูงเล็กๆนี้จะกินจนเหลือกิ่งไม้ไว้ที่เราสามารถนำไปตากแห้งและใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงอาหารได้ วิธีการตัดพืชสดและนำไปให้สัตว์กินนี้เป็นการผสมผสานการหาอาหารให้แพะและการออกไปหาฟืนมาทำกับข้าวในเวลาเดียว ทำให้เห็นถึงประโยชน์ของการเกษตรแบบผสมผสาน แม้การประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจสำหรับเรื่องอาหารและเชื้อเพลิงหุงต้มออกมาเป็นตัวเลขจะทำได้ยาก แต่คุณจะพบว่างานที่มีจะน้อยลงไปหากมีการวางแผนไว้เป็นอย่างดี

 

การหมักปุ๋ยด้วยชีวมวลที่ได้ในฟาร์มอย่างเหมาะสม จะช่วยในการเพาะปลูกพืชจำพวกข้าว ผัก และสมุนไพร ด้วยการลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ย และยังเป็นการเพิ่มผลผลิต นี่คือประโยชน์หลักในระบบของเราที่ทำอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ แต่เราจะมาดูประโยชน์อย่างอื่นอีก รวมถึงประโยชน์จากการผลิตถ่านไบโอชาร์จากวัตถุดิบที่เหลือจากการเกษตรด้วย

AN35 Mik Fig4

ภาพที่ 4: ในระบบอควาโพนิคนี้ ปลาและพืชเติบโตแยกกันแต่เชื่อมต่อกันด้วยวงจรระบบหมุนเวียนของน้า ด้วยการทางานของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และการออกแบบที่เหมาะสม ปลาจะช่วยผลิตปุ๋ยบารุงพืชและพืชจะช่วยกรองน้าเป็นน้าสะอาดให้ปลา

การผสมผสานการเลี้ยงปลาและการปลูกพืช

นอกจากระบบเก็บเกี่ยวและนำพืชอาหารสดไปให้สัตว์เลี้ยงที่มีจำนวนมากแล้ว เรายังได้ทำการทดลองอย่างจริงจังในระบบการเลี้ยงปลาที่เล็กลงโดยดัดแปลงจากระบบอควาโพนิค โดยปลาที่เลี้ยงคือปลานิล เราให้เป็ดเป็นส่วนหนึ่งของระบบด้วย เราปล่อยให้เป็ดได้ว่ายน้ำ, หาอาหาร และอาบน้ำในสระที่ออกแบบให้เชื่อมต่อกันผ่านการปั๊มน้ำและการไหลเวียนของน้ำ แต่ไม่เลี้ยงปลาในสระนั้น เราใช้น้ำที่ไหลมาอย่างต่อเนื่องจากแปลงผัก (ภาพที่ 4) Link to ECHO Asia Note 20. ไม่ใช่เกษตรกรทุกคนที่ประสบความสำเร็จในระบบแบบนี้ ดังนั้น หากคุณกำลังทดลองอยู่ ให้เริ่มต้นด้วยพื้นที่ขนาดเล็กก่อน ตัวอย่างจาก Little and Edwards (2003) ที่ได้เตือนให้ระวังถึงความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นจากการผสมผสานระบบการเลี้ยงปลาสมัยใหม่ที่ลดขนาดลง “การเลี้ยงปลาซึ่งเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยวในระบบขนาดเล็กทำให้เราเห็นถึงความสำเร็จด้านเทคนิคที่อาศัยการจัดการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยนักวิจัยที่จัดทำขึ้นในพื้นที่การทดลอง แต่การนำระบบแบบนี้ไปใช้แบบยั่งยืนโดยเกษตรกรยังไม่ค่อยพบมากนัก” (Little and Edwards 2003) คุณอาจลองคิดภาพระบบปศุสัตว์ที่จำกัดบริเวณและต้องอาศัยปัจจัยการผลิตที่ส่วนใหญ่หาซื้อมาว่าเป็น “คอกขุน” โดยไม่คำนึงว่าจะมีพื้นที่ขนาดเท่าได การประหยัดจากขนาด(Economy of Scale)ทำให้การจัดการในระบบขนาดเล็กเป็นไปได้แบบไม่ยั่งยืนเพราะมีผลกำไรต่ำและมีต้นทุนการผลิตสูง

 
AN35 Mik Fig5

ภาพที่ 5: มูลไส้เดือนดิน เก็บด้านบนไปใช้ได้ทุกอาทิตย์โดยเหลือครึ่งหนึ่งของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนนี้ไว้ จากนั้นเติมพื้นที่เลี้ยงไส้เดือนด้วยมูลสัตว์หมักแบบร้อนที่หมักไว้แล้ว 2 อาทิตย์

การทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

การใช้มูลจากสัตว์ที่เราเลี้ยง ทำให้เราได้ผสมผสานการทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในระบบการเกษตรของเราด้วย (ภาพที่ 5) ไส้เดือนของเราได้รับอาหารเป็นปุ๋ยคอกมูลสัตว์ล้วนๆ ได้แก่มูลจากวัว, แพะ และหมู  มูลไส้เดือนที่ได้นำไปผสมเป็นดินปลูกเพื่อใช้ในการเพาะต้นกล้า (ดินปลูกของเราประกอบด้วยมูลไส้เดือน 20-25% ) ส่วนสำคัญในการปลูกสมุนไพรและผักของเราส่วนนี้ถือว่าคุ้มกับการจัดการดูแลเป็นพิเศษ เราสามารถเก็บมูลไส้เดือนปริมาณ 6-10 ลิตรต่อตารางเมตรโดยการใช้ไส้เดือนพันธุ์อัฟริกัน ไนท์ ครอว์เลอร์ (Mikkelson 2015) มีโครงการอื่นๆทั่วพื้นที่เขตร้อนได้ผสมผสานการทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนไว้ด้วย เช่นที่ศูนย์ Mindanao Baptist Rural Life Center ในประเทศฟิลิปปินส์ (Tacio 2014; Capuno 2010)

การจัดการวงจรธาตุอาหาร

AN35 Mik Fig6

ภาพที่ 6: ชุดอุปกรณ์ก๊าซชีวภาพขององค์กรไฮเฟอร์ ประเทศไทยที่บ้านอโลฮาประเทศฟิลิปปินส์ เป็นแบบฝาครอบลอยบนบ่อมูล

เมื่อเกษตรกรเริ่มผสมผสานการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก มูลสัตว์จะเป็นผลผลิตที่ได้รับมากที่สุด ในระบบของเรา เรารวบรวมมูลสัตว์ในคอกและที่ที่สัตว์อยู่ตอนกลางคืน แล้วนำมาผสมกับวัตถุดิบอื่นๆเป็นปุ๋ยคอก มูลที่ได้จากสัตว์ในคอกนั้นง่ายต่อการเก็บมาใช้ ส่วนสัตว์ที่ปล่อยให้ออกไปเล็มหญ้า มูลสัตว์ในพื้นที่ที่สัตว์ถูกปล่อยเวียนไปตามระบบการแทะเล็มจะตกอยู่ในพื้นที่นั้นและเป็นปุ๋ยให้กับหญ้าและเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ที่จะเกิดความมั่นคง มูลสัตว์จะรวมตัวกันกับจุลินทรีย์, แมลง, ไส้เดือน, ฯลฯ โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากมนุษย์ เรามีมูลสัตว์มากมายเหลือเฟือที่ได้จากคอกสัตว์ และไม่ต้องไปเสียเวลาและแรงเพิ่มเพื่อเก็บมูลสัตว์ตามท้องทุ่งที่ปล่อยสัตว์ไปหากิน หากคุณเพิ่งกำลังเริ่มและต้องการมูลสัตว์เพื่อไปทำปุ๋ยคอก คุณอาจต้องตัดสินใจวางแผนว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง แต่ในอนาคต คุณจะต้องหาวิธีเก็บมูลสัตว์ในคอก โดยเป็นวิธีที่จะประหยัดเวลาและแรงงาน

AN35 Mik Fig7

ภาพที่ 7: ในประเทศไทย สมาชิกสหกรณ์วัวนมแบ่งปันทรัพยากรที่ใช้ในการเลี้ยงวัว ปลูกหญ้าเนเปียร์และพืชตระกลูถั่ว และขายหญ้าหมักให้กัน ส่วนขี้วัวนาไปใช้เป็นปุ๋ย

หากคุณต้องการเปลี่ยนการประกอบการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นแบบที่ยั่งยืนกว่าและอยากจะใช้วัตถุดิบที่หาได้จากฟาร์ม คุณจำเป็นต้องหาวิธีที่จะใช้น้ำที่มาจากมูลสัตว์ (ภาพที่ 6) ต่อไปนี้เป็นการประมาณปริมาณมูลสัตว์ที่ได้จากระบบต่างๆ องค์กรไฮเฟอร์ (Heifer Thailand) ได้ออกแบบชุดอุปกรณ์ก๊าซชีวภาพที่สามารถใช้มูลสัตว์เหลวเพื่อผลิตก๊าซมีเทนสำหรับเป็นเชื้อเพลิงและทำอาหาร (Meyers 2012; ภาพที่ 7) และองค์กรเอคโคก็มีอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งดูข้อมูลได้ที่ www.echocommunity.org เช่นตัวอย่างการนำเสนอโดย Wilkie (2016) และข้อมูลอื่นๆที่เว็บไซท์ https://www.echocommunity.org/en/search?q=biodigesters

AN35 Mik Fig8A

ภาพที่ 8A: เมื่อทาปุ๋ยหมักแบบร้อนจากมูลสัตว์ในเขตร้อน, เศษเหลือจากการเพาะปลูก, และวัชพืช ควรทาให้อุณหภูมิสูงขึ้นจาก 25-30º C ในตอนเริ่มแรกของวงจรการหมักไปจนถึงสูงกว่า 60º C เพื่อความปลอดภัยในการกาจัดเชื้อที่เป็นอันตรายและเชื้อก่อโรค

 
AN35 Mik Fig8B

ภาพที่ 8B วัดอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมัก

ที่ฟาร์มของเรา เรามักจะนามูลสัตว์มาทาเป็นปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ เพื่อให้เกิดความร้อนที่จะกาจัดเชื้อก่อโรคและโรคต่างๆ การทาปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ หรือ “ปุ๋ยหมักแบบร้อน” จะช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดที่ชอบอุณหภูมิสูงๆทั่วไปย่อยสลายกลายเป็นของเสียอินทรีย์ที่เป็นปุ๋ยหมักที่นาไปใช้ได้และคงตัว อุณหภูมิมากกว่า 60ºC ในกองปุ๋ยหมักของเราจะทาให้เมล็ดวัชพืชและเชื้อโรคตาย (Richard 1992) ให้ทาการตรวจวัดอุณหภูมิทุกวันจนรู้สึกว่าใช้ได้แล้ว จากนั้นใช้มีดด้ามยาวหรือแท่งเหล็ก (ภาพที่ 8A)แทงเข้าไปให้ถึงตรงกลางของกองปุ๋ยหมักแล้วทิ้งไว้ 10 นาที เมื่อดึงมีดหรือแท่งเหล็กออกมาแล้วให้ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดอ่านค่าอุณหภูมิของเหล็ก (หากใช้มือสัมผัส จะรู้สึกร้อนเกินกว่าที่จะจับได้) (ภาพที่ 8B) เราจะกลับกองปุ๋ยหมักอาทิตย์ละครั้งเป็นเวลาทั้งหมด 3 อาทิตย์ โดยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ๋ยหมักมีอยู่ในหนังสือของผมในบทที่ 4 เรื่องการทาปุ๋ยหมัก

การผลิตถ่านไบโอชาร์หรือถ่านชีวภาพ

 

AN 35 Mik Fig10

ภาพที่10 (บน): เพื่อลดการใช้น้าในช่วงหน้าแล้ง เราจึงเตรียมน้าให้พร้อมที่จะใช้ราดและ “กระตุ้น” ถ่านไบโอชาร์จากซังข้าวโพดที่กาลังอยู่ในขั้นตอนไพโรไลซิสในกรงตาข่ายเหล็กที่วางไว้ด้านบนหลุมดิน

AN35 Mik Fig9

ภาพที่ 9: กิ่งไม้ที่ตัดไปให้แพะกิน เมื่อแพะกินส่วนใบหมดแล้วให้นากิ่งมาตากไว้เป็นกอง เมื่อแห้งแล้ว นาส่วนที่เป็นเนื้อไม้ที่มีความเหมาะสมมาเปลี่ยนเป็นถ่านไบโอชาร์ด้วยวิธีการจุดไฟเผาจากยอดกอง

การจัดการคุณภาพดินที่ดีกว่าอีกขั้นหนึ่ง คือการนาส่วนเหลือใช้ด้านการเกษตรที่เป็นไม้หรือเปลือกมาใช้ประโยชน์ให้สูงสุดด้วยการทาถ่านไบโอชาร์ เมื่อผ่านกระบวนการควบคุมที่เรียกว่าไพโรไลซิส (คาภาษากรีก มีความหมายว่า การแยกด้วยไฟ) ที่สามารถเปลี่ยนสารคาร์บอนในไม้ (ลิกนิน) ให้มีรูพรุนจานวนมาก, เก็บกักสารอาหารได้, เป็นแหล่งพลังงานทางชีวภาพ และเป็นตัวปรับปรุงดิน เราจะนากิ่งไม้และท่อนไม้ที่เหลือจากการตัดพืชสดที่นาไปเลี้ยงแพะมาตากให้แห้ง กองไว้รอบหลุมที่ขุดไว้ (ภาพที่ 9) เมื่อกิ่งไม้แห้งพอหลังจากที่ปริมาณน้าระเหยไป ให้จุดไฟตรงยอดของกองไม้ โดยวางเชื้อไฟและกระดาษหรือหญ้าแห้งไว้ด้านบนสุดกลางกองไม้และจุดไฟจากด้านบน อากาศจะถูกดึงขึ้นมาจากด้านล่างกองและทาให้เกิดความร้อนก่อนระหว่างทางที่จะผ่านขึ้นมาถึงถ่าน โดยกองไม้จะไหม้จากด้านบนลงไป ขบวนการนี้ประหยัดพลังงานและทาให้ได้ถ่านไบโอชาร์เพิ่มขึ้น ถ้ากิ่งไม้ถูกกดทับ ภายในหลุมจะไม่เกิดการไหลของอากาศขึ้นมาจากด้านล่างและทาให้อากาศถูกปิดกั้นไว้ เราใช้หญ้าคาแห้งเป็นเชื้อไฟที่จุดจากด้านบนของกองไม้ การจุดไฟแบบนี้เรียกว่าการทาถ่านไบโอชาร์ในหลุมแบบ Top Lit Up Draft (TLUD หรือ จุดด้านบนอากาศไหลขึ้น) ขบวนการ TLUD นี้จะเผาน้ามันและก๊าซที่เผาไหม้ได้ขณะที่ปริมาณควันถูกจากัดจึงถือเป็นการเผาไหม้ที่สะอาด ส่วนที่ถูกเผาจะค่อยๆเคลื่อนไปเรื่อยๆจนถึงด้านล่าง จากนั้นให้เอาน้าราดเพื่อเก็บถ่านไว้ใช้ก่อนจะถูกเผาเป็นเถ้า (ภาพที่ 10) ควรต้องทาการทดลองเพื่อลองผิดลองถูกก่อนเพื่อจะรู้ว่าจะหยุดการเผาเมื่อใด เพราะจะต้องหยุดก่อนที่ไม้ทั้งหมดจะถูกเผาจนเปลี่ยนเป็นขี้เถ้า เรามีหลุมที่ขุดไว้ถาวร และบริเวณรอบหลุมนั้นมีกองกิ่งไม้ไว้ที่ตากไว้ตามระยะเวลาที่เก็บมาต่างๆกัน (เป็นกิ่งไม้ที่เหลือจากการตัดพืชและนาไปเลี้ยงแพะ; ภาพที่ 11) และเราพบว่าเราไม่จาเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล็กที่เทอะทะหรือเครื่องจักรใดๆช่วยในการเผา

AN 35 Mik Fig11

ภาพที่ 11: (ล่าง) กิ่งไม้วางไว้แยกเป็นกองตามแต่ละอาทิตย์ที่เก็บได้เพื่อจะได้แห้งเท่ากัน เมื่อความชื้นในกิ่งไม้อยู่ที่ 20-30% ก็จะนาไปเผาแบบจุดไฟด้านบนอากาศไหลขึ้น (TLUD) เมื่อปริมาณความชื้นอยู่ที่ 20-30% ไม้จะกรอบและหักง่าย เวลาที่หักแล้วจะไม่เห็นชั้นสีเขียวอยู่ในเนื้อไม้ และอีกอย่างคือถ้าคุณเห็นเปลือกไม้พองบวมที่ด้านปลายขณะที่เผา แสดงว่าไม้มีความชื้นอยู่มากเกินไป ที่ปริมาณความชื้น 20-30% ความชื้นที่เหลือส่วนมากจะประกอบไปด้วยน้ามัน ไม่ใช่น้า ซึ่งน้ามันนี้จะช่วยในการแปลงลิกนิน, เซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลสจากวัสดุที่เป็นเนื้อไม้กลายเป็นถ่านที่ยังไม่กลายเป็นขี้เถ้า

นอกจากนี้ ถ่านไบโอชาร์ยังสามารถทามาจากเศษเหลือจากพืชผลที่เป็นอาหารสัตว์ เช่น ใบและซังข้าวโพด หรือหญ้าเนเปียร์ (Pennisetum purpureum), แต่การก่อกองอาจยากกว่าถ้าไม่มีกรงช่วย เราจึงใช้ตาข่ายเหล็กทาเป็นเหมือนวงท่อตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นพื้นที่ให้เกิดขบวนการไพโรไลซิสแบบ TLUD และเรายังเปลี่ยนเปลือกมะพร้าวเก่าๆให้เป็นถ่านไบโอชาร์ร่วนๆที่ใช้ได้ดีเวลาทาแปลงดินเพื่อปลูกผักและสมุนไพร

การกระตุ้นและเติมประสิทธิภาพให้กับถ่านไบโอชาร์

มีวิธีการทาถ่านไบโอชาร์อยู่หลายวิธี แต่เกษตรกรที่เราทางานด้วยต้องการวิธีที่ทาง่ายและได้ผลดี แต่ไม่ว่าจะทาด้วยวิธีใด ก็จะต้อง “กระตุ้น” ถ่านไบโอชาร์ และเติมสารอาหารและจุลินทรีย์ให้กับถ่านไบโอชาร์ เราทาการกระตุ้นด้วยการราดน้าในตอนท้ายของขบวนการเผา การกระตุ้นแบบนี้คือการติดอิเลคตรอนไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ถ่านไบโอชาร์ยึดสารอาหารไว้ ตามคากล่าวของ Craggs (2017) ที่ว่า หากจะทาให้ถ่านไบโอชาร์เกิดประโยชน์ที่จะนาไปใช้ได้ ก่อนอื่นถ่านจะต้องผ่านขบวนการของ “การกระตุ้น” (หรืออาจเรียกว่า การปลูกเชื้อ หรือ การเติมประสิทธิภาพ) เมื่อถูกกระตุ้นแล้ว และตามด้วยการเติมไนโตรเจนและฟอสฟอรัสจาเป็นในปริมาณสูง เพื่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กตามธรรมชาติเกิดขึ้น มีพัฒนาการและเติบโตในสารที่อยู่ในถ่านไบโอชาร์ที่ได้รับการบ่มไว้แล้ว

นอกจากนี้ เรายังได้ใส่สารอาหารและสิ่งมีชีวิตเพิ่มด้วย เพื่อให้ถ่านไม้เก็บกักสารอาหารไว้โดยให้ปล่อยสารอาหารออกมาเวลาที่เราใส่ถ่านลงไปในดิน เราเติมถ่านไบโอชาร์ด้วย EM, ปุ๋ยน้าอินทรีย์เข้มข้น (compost tea), น้าจากสระน้าที่มีสารอาหารเข้มข้น หรือเศษปลาหมัก และหากต้องการก็สามารถเพิ่มผงหินแร่ธาตุเพื่อให้มีแร่ธาตุที่จาเป็นและปูนขาวที่เป็นแคลเซียม ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จาก McLaughlin (2016)

มีฐานข้อมูลที่พูดถึงระยะเวลาที่ควรจะบ่มถ่านไบโอชาร์ไว้ก่อนนาไปใช้ มีการพูดถึงระยะเวลาตั้งแต่เป็นวันจนถึงเป็นปีแต่ยังจาเป็นต้องมีการทาการวิจัยต่อไป มีนักวิจัยท่านหนึ่งได้ทาการทดสอบตัวอย่างถ่านไบโอชาร์ในช่วงระยะเวลาบ่มในพื้นที่เกษตรนานกว่า 15 เดือน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกหรือ CEC (Cation Exchange Capacity) ในถ่านไบโอชาร์หลังการบ่มในพื้นที่ 15 เดือน โดยทั่วไประยะเวลาการบ่มในพื้นที่จะมีผลที่เห็นได้ชัดกับค่า pH ของถ่านและรูพรุนขนาดเล็กบริเวณพื้นผิว โดยทั้งสองอย่างมีค่าลดลง ขณะที่ค่า CEC เพิ่มขึ้น (Mukherjee et al. 2014) และเราได้พบว่า หลังจากการกระตุ้นและเติมถ่านไบโอชาร์แล้ว คุณสามารถใช้ถ่านนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในเวลาไม่กี่วัน หรืออาจรอไปก่อนและเก็บถ่านรอไว้เพื่อจะใช้ในอนาคตได้ ซึ่งเวลาเก็บนี้สามารถเก็บได้เป็นปีๆ อย่าตกใจหากพบเห็นกลุ่มเชื้อราสีขาวที่ถ่าน ราสีขาวนี้มีประโยชน์ ถ้าคุณใช้ปุ๋ยหมักหรือ EM คุณภาพดี ในการเติมประสิทธิภาพถ่านไบโอชาร์ของคุณ คุณสามารถหาดูภาพแสดง (Slide Show) เกี่ยวกับถ่านไบโอชาร์ได้หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม (Mikkelson 2010)

การใช้ประโยชน์จากผลผลิตที่เหลือใช้จากการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น

AN35 Mik Fig12

ภาพที่12: นักท่องเที่ยวเชิงเกษตรมักจะแปลกใจเมื่อมาเยี่ยม แล้วเห็นคอกหมูของเราไม่ต้องล้างและไม่มีกลิ่น คนส่วนมากไม่รู้ว่าการเลี้ยงหมูเป็นงานที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความเพลิดเพลินได้

การทาการเกษตรแบบผสมผสานอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการซื้อปัจจัยการผลิต คือการคอยมองหาวิธีที่จะเปลี่ยนผลผลิตที่เหลือใช้ให้เป็นผลผลิตที่นามาใช้ได้ เมื่อเราต้องการทาให้หมูอ้วน เราจะเลี้ยงมันด้วยราข้าว, ปลาป่น และมะพร้าวป่นหมัก EM การเลี้ยงหมูด้วยเศษเหลือของผลผลิตทาให้เราลดค่าใช้จ่ายที่เป็นอาหารหมู ซึ่งถือเป็นข้อดีอย่างยิ่งของการเกษตรแบบผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ เราใช้ขี้เลื่อยรองที่พื้นคอกหมูเพื่อลดความเครียดของหมู อีกทั้งยังช่วยให้หมูสามารถขุดคุ้ยตามสัญชาตญาณตามธรรมชาติที่หมูไม่สามารถทาได้บนพื้นที่เป็นซีเมนต์ การใส่ขี้เลื่อยลงบนพื้นคอกจะช่วยลดกลิ่นเหม็นและลดแมลงวัน (ภาพที่ 12) ระบบของเราไม่จาเป็นต้องมีการล้างคอก หมูยังคงความสะอาดเมื่อเราให้หมูหนึ่งตัวมีพื้นที่ 2 ตารางเมตรเมื่อหมูโตเต็มที่แล้ว (ที่น้าหนัก50 กก.ขึ้นไป) เราไม่จาเป็นต้องสิ้นเปลืองน้าหรือแรงงานในการทาความสะอาดหมูวันละ 2 ครั้ง และด้วยวิธีนี้เราจึงหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแอ่งน้ากลิ่นเหม็นที่ไหลออกมาจากของเสียจากหมู

AN35 Mik Fig13

ภาพที่13: สระน้าจากระบบเลี้ยงเป็ด (Duckponics system) ของเรา ที่เราปลูกพืชที่เป็นอาหารให้กับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นของเรา

ขี้หมูที่เราได้จากหมูของเรามีมากพอ และนาไปทาเป็นปุ๋ยอย่างดีเมื่อผ่านขบวนการทาปุ๋ยหมักอย่างถูกต้อง เราเก็บขี้หมูทุกวันและไม่เคยเอาวัสดุพื้นคอกออก ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปพื้นคอกจึงมีความอยู่ตัวมากขึ้นเรื่อยๆเพราะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ก่อตัวอาศัยอยู่ในวัสดุที่ใส่เป็นพื้นคอกนั้น แต่เราจะเติมวัสดุพื้นคอกบ้างเป็นครั้งคราว เพราะมีบางส่วนที่ย่อยสลายไปหรือติดมาเมื่อเราเก็บขี้หมูมาใช้ การเลี้ยงหมูขุนของเราเป็นส่วนที่ให้กาไรมากที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมดที่เรามี และเรายังคงรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในระบบการเลี้ยงสัตว์ของเรา (ภาพที่ 13)

ไก่ที่เราเลี้ยงแบบปล่อยกินอาหารที่มีส่วนผสมของข้าวโพด, ข้าวฟ่าง, ราข้าว, มะพร้าวป่น, แหนแดง (Azolla) และแหนเป็ดเล็ก (Duckweed) และทั้งหมดหมักด้วย EM1 ส่วนที่เป็นไก่ไข่ เราจะบดหินปูนและอาหารแคลเซียมให้กินด้วย เราเลี้ยงไก่โดยมีที่กว้างให้ไก่เดินและคุ้ยเขี่ย และมีน้าไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา (ภาพที่ 14 และ 15) ส่วนที่เป็นเล้าให้ไก่นอนจะมีพื้นที่ทาด้วยวัสดุธรรมชาติ คล้ายกับพื้นคอกที่เป็นขี้เลื่อยของระบบการเลี้ยงหมู แต่เราจะใช้ส่วนผสมที่มีแกลบถึง 50% และถ่านประมาณ 5% เพื่อช่วยให้ขี้ไก่เสถียรด้วยการตรึงแอมโมเนียและใช้ขบวนการทางจุลินทรีย์เปลี่ยนแอมโมเนียให้อยู่ในภาวะที่ไม่ใช่ก๊าส เช่น ไนไตรท์ และ ไนเตรท เราฉีดพื้นเล้าไก่ด้วย EM1; ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อให้สภาพแวดล้อมดีต่อสุขภาพของสัตว์ ลดกลิ่นเหม็น และลดปริมาณแมลงวันได้ เราไม่เคย
AN35 Mik Fig 15

ภาพที่15: ไก่พากันจิกกินหนอนจากผลแก้วมังกรที่ร่วงหล่น เป็นการช่วยลดปัญหาแมลงวัน

AN35 Mik Fig14

ภาพที่14: ไก่พักในร่มขณะคุ้ยเขี่ยและกินหญ้าในสวนมะละกอ

เอาวัสดุที่เป็นพื้นเล้าไก่ออกทั้งหมด อย่างมากสุดเราจะเอาออกมาครึ่งเดียว แล้วผสมวัสดุพื้นเล้าไก่ใหม่เข้าไป พื้นที่มีขี้ไก่อยู่จะมีความเสถียรด้านชีวภาพและจะเป็นที่อยู่ในร่มที่ปลอดภัยให้ไก่อยู่ได้ตลอดหากมีการจัดการที่เหมาะสม ถ้าเราเอาวัสดุพื้นออกทั้งหมด จานวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จะต้องเริ่มสร้างใหม่ทั้งหมดอีก เราพบว่าวัสดุพื้นใหม่ที่ใส่เพิ่มไปไม่มีความเสถียร และอาจก่อให้เกิดโรคได้ในช่วงแรก

สรุป

ระบบเกษตรแบบผสมผสานการเลี้ยงสัตว์มีข้อดีหลายอย่าง (ตารางที่ 2 และ 3) การวางแผนที่ดีและเริ่มต้นจากรูปแบบขนาดเล็กก่อน จะช่วยให้เกษตรสามารถผสมผสานการเลี้ยงวัว แพะ ไก่ และหมู และพัฒนาความมั่นคงในฟาร์มได้ วัสดุที่เหลือจากการเกษตรจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เป็นค่าอาหารสัตว์ และมูลสัตว์จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เป็นค่าปุ๋ย นอกจากนี้มูลสัตว์ยังสามารถนามาผลิตก๊าสชีวภาพเพื่อการหุงหาอาหารและให้พลังงาน ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายของฟาร์ม สัตว์เล็มหญ้าสามารถช่วยในการจัดการวัชพืชและปรับปรุงคุณภาพของดิน การจัดการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้คุณเปลี่ยนแม้กระทั่งน้าเสียจากมูลสัตว์และกิ่งไม้ที่เหลือจากการตัดเอาไปให้สัตว์กิน โดยนามาทาเป็นถ่านไบโอชาร์ที่มีประโยชน์ได้ กุญแจสาคัญคือรับเอาเทคโนโลยีทางเลือกมาใช้ทีละอย่างและหาวิธีการที่จะลดการใช้แรงงาน ไม่นานคุณก็จะสามารถขยายไปสู่อย่างอื่นได้อย่างปลอดภัยโดยการปรับและนาบทเรียนที่ได้ไปใช้ แล้วคุณก็จะสามารถแบ่งปันให้กับเกษตรกรคนอื่นๆในพื้นที่ใกล้เคียงได้!

AN 35 Table 1 THAI
ตารางที่ 1 การประเมินแหล่งมูลปศุสัตว์และสารอาหารที่พบโดยทั่วไป (Common Livestock Manure Sources and Nutrient Estimates, NRCS 1995)
AN 35 Table 2 THAI
ตารางที่ 2 กำไรที่ได้จากการผสมผสานการเลี้ยงสัตว์และระบบนิเวศเกษตร (Agroecosystems) (Carpenter-Boggs et al. 2013)
AN 35 Table 3 THAI
ตารางที่ 3 ตารางสรุปข้อดีของการผสมผสานการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก (Kersbergen 2008)

 

 

 

เว็บไซท์อ้างอิง

Carpenter-Boggs, L., K. Painter, and J. Wachter. 2013. Integrating Livestock in Dryland Organic Crop Rotations. Extension eOrganic Webinar. Presented October 22, 2013. Available: http://eorganic.info/sites/eorganic.info/files/u461/DrylandLivestock.pdf

Capuno, J. V. 2010. Earthworm castings getting popular as organic fertilizer. Edge Davao. Available: http://edgedavao.net/agritrends/
2010/08/23/earthworm-castings-getting-popular-as-organic-fertilizer/

The Compost Gardener. 2008. EM-1 Effective Microorganisms. Available: https://www.the-compost-gardener.com/em-1.html

Craggs, G. 2017. Activated biochar to enhance soil productivity and mitigate global warming. Future Directions International. Available:
http://www.futuredirections.org.au/publication/activated-biochar-enhance-soil-productivity-mitigate-global-warming/

[FFTC]. Food & Fertilizer Technology Center. 1999. Integrated Crop-Livestock Production for the Slopelands of Asia. Retrieved
February 21, 2018. Available: http://www.fftc.agnet.org/library.php?func=view&id=20110729141456

Higa, T., and J. F. Parr. 1994. Beneficial and Effective Microorganisms for a Sustainable Agriculture and Environment. Atami, Japan:
International Nature Farming Research Center. Available: http://www.em-la.com/archivos-de-usuario/base_datos/Beneficial%20and%20
Effective%20Microorganism%20for%20a%20sustainable%20agriculture%20and%20environment.docx.

Kersbergen, R. 2008. Livestock. Midwest Organic and Sustainable Education Service. [MOSES]. Retrieved February 21, 2018. Available:
https://mosesorganic.org/farming/farming-topics/livestock/integrating-livestock-with-crop-production/

Little, D.C., and P. Edwards. 2003. Major types of integrated systems in Asia. In: Integrated Livestock-Fish Farming Systems. Rome:
FAO. Available: http://www.fao.org/docrep/006/y5098e/y5098e04.htm

Meyers, L. 2012. Build Your Own Biogas Digester. Heifer Project International. Available: https://www.heifer.org/join-the-conversation/
blog/2012/May/build-your-own-biogas-generator.html

McLaughlin, H. 2016. An overview of the current biochar and activated carbon markets. Biofuels Digest. Available: http://www.biofuelsdigest.com/bdigest/2016/10/11/an-overview-of-the-current-biochar-and-activated-carbon-markets/

Mikkelson, K. 2010. Low Tech Methods for Making Biochar. Retrieved February 21, 2018. Available: https://www.slideshare.net/
mik1999/char2

Mikkelson, K. 2015. Poster Presentation: 282 Week Study of Vermicast Production in the Philippines. The 2015 ECHO Asia Agriculture
& Development Conference. Chiang Mai, Thailand. Available: https://www.researchgate.net/publication/279517058_282_Week_Study_
Of_Vermicast_Production_In_The_Philippines

Mukherjee, A., A. R. Zimmerman, R. Hamdan, and W. T. Cooper. 2014. Physicochemical changes in pyrogenic organic matter (biochar)
after 15 months of field aging, Solid Earth 5:693-704. Available: https://doi.org/10.5194/se-5-693-2014, 2014.

[NRCS]. Natural Resources Conservation Service. 1995. Animal Manure Management. RCA Issue Brief #7; December 1995. Available:
https://www.nrcs.usda.gov/wps/portal/nrcs/detail/null/?cid=nrcs143_014211

Paris, T. R. 1992. Providing a framework for gender impact assessment of CIAP’s technologies and identifying strategies to address
gender issues in CIAP’s research and training activities. Cambodia-IRRI-Australia Project. Phnom Penh, Cambodia.

Richard, T. L. 1992. Municipal Yard Waste Composting: An Operator’s Guide. A Series of Ten Fact Sheets. Ithaca, New York: Cornell
Resource Center. Available: http://compost.css.cornell.edu/Factsheets/FactsheetTOC.html

Sombilla, M. A., and B. Hardy (Eds). 2005. Integrated crop-animal systems in Southeast Asia: current status and prospects. IRRI
Limited Proceedings No. 11. Los Banos, Philippines: International Rice Research Institute. Available:http://books.irri.org/LP11_content.
pdf

Tacio, H. D. 2014. Learn by doing at Rural Life Center. Davao Sun Star. Available: http://archive.sunstar.com.ph/davao/business/
2014/08/17/learn-doing-rural-life-center-360326

Wilkie, A. 2017. Oral Presentation: The Basics of Biogas for Smallholder Farmers. The 2017 ECHO International Agriculture Conference.
Fort Myers, Florida, USA. Available: https://www.echocommunity.org/en/resources/02917925-06e0-4b35-8dc2-fa78a67d6f58


ภูมิภาค

Asia