โดย: Gabe LePage


AN40 tire photoThis article is from ECHO Asia Note # 40.

สวนยางรถยนต์มีประโยชน์มากมาย รวมถึงการปลูกพืชได้หลายๆชนิดบนพื้นที่ๆมีแต่คอนกรีตหรือดินคุณภาพไม่ดี เช่นสวนในเมือง สวนในบ้าน และในที่ตั้งของค่ายอพยพ สวนกระถางยางรถยนต์นี้สามารถยกระดับให้สูงขึ้นเพื่อให้ผักที่ปลูกไว้พ้นจากสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ย ังมีการนำไปใช้เพื่อเป็นที่ใส่มูลไส้เดือนนอกจากการใช้ภาชนะอย่างอื่น กระถางยางรถยนต์ยังเพิ่มความสวยงามให้กับสวนครัวหลายแห่งทั่วโลก โดยสามารถวางไว้ตั้งแต่ที่ตรงประตูทางเข้า และที่ดีที่สุดคือเป็นแปลงผักแบบกระบะยกพื้น ที่ราคาถูก และเป็นการนำขยะที่มีอยู่มากมายกลับมาใช้ได้อีก เราใช้ยางรถยนต์เหล่านี้ที่เอคโค โกลบอลฟาร์มในประเทศอเมริกาเพื่อใช้ปลูกพืชอายุยืนและพืชอายุสั้น ได้แก่ไม้ผลและพืชที่ให้เมล็ด ยางรถยนต์นี้ไม่ได้ใช้เฉพาะที่เอคโคเท่านั้น แต่ยังได้รับการส่งเสริมให้นำไปใช้โดยเครือข่ายของเราในที่ต่างๆ ให้เหมาะสมตามวัสดุที่มีให้เลือก

คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ยางรถยนต์เป็นวัสดุที่ปลอดภัยหรือไม่ ในการปลูกพืชที่ใช้บริโภค เป็นไปได้หรือไม่ที่พืชจะดูดซึมโลหะหนักหรือสารพิษอื่น ๆที่มีอยู่ในยางรถยนต์? 

ในการหาคำตอบนี้ เราจึงเริ่มต้นด้วยการทดสอบดินและตัวอย่างผักกุ้ยช่ายที่อยู่ในยางรถยนต์ที่เอคโค โกลบอลฟาร์มในรัฐฟลอริดามาถึง 20 ปี เราได้ทำการเปรียบเทียบกับดินและกุ้ยช่ายอีกชุดที่ปลูกโดยตรงในดินในพื้นที่อีกส่วนหนึ่งของฟาร์มที่เราเรียกว่าเป็นที่ราบลุ่ม และนี่คือผลที่ได้ 

กุ้ยช่ายในยางรถยนต์: พบสารตะกั่ว 1.17 ppm 

ดินในยางรถยนต์: พบสารตะกั่ว 9.88 ppm  

กุ้ยช่ายในที่ราบลุ่ม: ต่ำกว่าระดับที่ตรวจพบได้ 

ดินที่ราบลุ่ม: พบสารตะกั่ว 4.28 ppm  

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าไม่มีสารตะกั่วในระดับใดที่เป็นที่ทราบและปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก (WHO 2018) โดยตามมาตรฐานอาหารสากล ผักใบไม่ควรมีสารตะกั่วเกินกว่า 0.3 ppm (FAO/WHO 2015) การที่พืชหลายปีคือกุ้ยช่ายถูกปลูกอยู่ในกระถางยางรถยนต์เดียวกันเป็นเวลา 20 ปี ถือเป็นกรณีที่เลวร้ายสุด แต่ถ้าพืชอายุหลายปีปลูกไว้ในยางรถยนต์แล้ว การย้ายพืชก็เป็นเรื่องยุ่งยากและยางรถยนต์ก็มีอายุใช้งานที่นาน ดังนั้นจึงง่ายกว่าที่จะปล่อยให้พืชเติบโตอยู่ในนั้นเป็นสิบหรือยี่สิบปี 

สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) ในสหรัฐอเมริกาตั้งข้อสังเกตว่าโดยปกติแล้วในดินจะมีสารตะกั่วไม่ถึง 50 ppm (ATSDR 2017; Grubinger and Ross 2011) ความเข้มข้นของตะกั่วในดินของเราที่ต่ำกว่า 50 ppm แสดงว่าผักกุ้ยช่ายได้รับสารตะกั่วมาจากแหล่งอื่นหรือด้วยเหตุผลอื่น เราไม่ทราบว่ารากจะสัมผัสกับผิวยางหรือน้ำที่ผ่านการชะล้างที่ขังอยู่ที่ขอบยางคือสาเหตุหรือไม่ หรืออาจเป็นเพราะการขาดสารอาหารจึงทำให้รากดูดซึมโลหะหนักหรือไม่ ทั้งนี้อาจเป็นได้ทั้งสองสาเหตุ 

ขณะนี้ คำถามคือใช้เวลานานเท่าใดกว่าที่สารปนเปื้อนโลหะหนักจะสะสมมากขึ้นจนถึงระดับอันตราย? เรากำลังเริ่มต้นในการทดสอบเรื่องนี้ที่แหล่งเรียนรู้ฟาร์มขนาดเล็ก เอคโค เอเชีย ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยจัดตั้งการทดลองเชิงสังเกตยางรถยนต์ 10 เส้น ในอีก 10 ปีข้างหน้า เจ้าหน้าที่วิจัยจะทำการทดสอบดินทุกปีเพื่อหาสารตะกั่ว แคดเมียม หรือโครเมียมแบบหมุนเวียน ถ้าพบว่าดินมีการปนเปื้อน เราจะทดสอบผักกุ้ยช่ายที่ปลูกในยางเหล่านั้น 

การทดลองนี้ออกแบบมาเพื่อกำหนดขอบเขตของความเสี่ยงและสิ่งที่ควรศึกษาเพิ่มเติม เรากำลังเปรียบเทียบกรณีที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งรวมถึง (1) ยางที่เสื่อมสภาพอย่างรุนแรง (2) ยางที่ได้รับการบำบัดเพื่อป้องกันการปนเปื้อน โดยการกลับเอาด้านในออก (3) ยางที่รองด้วยแผ่นพลาสติก หรือ (4) การทาสียาง นอกจากนี้เรายังมียางที่ไม่ผ่านการบำบัดเพื่อใช้ดูสถานการณ์ 'ปกติ' และภาชนะพลาสติกสองใบเป็นตัวควบคุม 

เราใช้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการทดลองนี้ที่เอคโค เอเชีย และพบว่ากุ้ยช่ายเราที่เพิ่งย้ายจากกระบะมาใส่ในยาง มีค่าต่ำกว่า 0.05 ppm ซึ่งใกล้เคียงกับขีดจำกัดสูงสุดที่อนุญาตที่ 0.3 ppm ที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ตามที่เราสามารถวัดได้ ดินผสมเริ่มแรกของเราอยู่ที่ 20.33 ppm ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าเป็นสองเท่าจากดินในยางอายุ 20 ปีที่รัฐฟลอริดา (9.88 ppm) แต่ทั้งนี้ ยังถือว่าอยู่ภายในขีดจำกัดปกติของ EPA ที่ไม่เกิน 50 ppm 

เมื่อเวลาผ่านไป เอคโค เอเชียจะแจ้งข้อมูลอัปเดตเพื่อแบ่งปันสิ่งที่เราพบเกี่ยวกับความปลอดภัยของยาง ว่าระดับตะกั่วจะเพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิม ตามที่เราทราบ ยังไม่มีใครพยายามอย่างมากที่จะศึกษาคำถามนี้ในเชิงลึก ดังนั้นแม้แต่ผลลัพธ์เบื้องต้นของกุ้ยช่ายอายุ 20 ปี ยังถือเป็นข้อมูลสำคัญ 

ต่อไปนี้เป็นข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจากที่กล่าวมาและเพื่อการอ่านศึกษาเพิ่มเติม กรุณาแจ้งให้เราทราบหากคุณมีความคิดเห็นอื่นๆโดยเฉพาะข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความเสี่ยงในการทำสวนยางรถยนต์และวิธีการที่จะลดความเสี่ยงนั้น 

อ้างอิง

ข้อมูลเกี่ยวกับค่าเริ่มต้นของโลหะหนักในดิน:

Ministry of the Environment, Finland, 2007. Government Decree on the Assessment of Soil Contamination and Remediation Needs

Agency for Toxic Substances and Disease Registry. 2017. Case Studies in Environmental Medicine (CSEM): Lead Toxicity

Grubinger, V. and D. Ross, 2011. Interpreting the Results of Soil Tests for Heavy Metals. University of Vermont Extension 1.

Fisher, B. and ECHO staff. 2016. Tire Contaminants from a Container Gardening Perspective 1. ECHO Development Notes 130:1-3

Information on Thresholds of Heavy Metal in Plant Tissue:

FAO/WHO (2015). General standards for contaminants and toxins in food and feed (CODEX STAN 193-1995)

Information on Lead Poisoning and Human Health:

WHO. 2018. Lead poisoning and health 1


ภูมิภาค

Asia