โดย: Patrick Trail


This article is from ECHO Asia Note # 36. สามารถดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มภาษาไทยได้ที่ปุ่มดาวน์โหลดด้านขวา

AN 36 Trail Main
ECHO Asia Seed Bank 2019 (Riley)

ในฐานะองค์กรที่มีความตั้งใจในการเสริมสร้างบุคลากรให้มีความรู้และทักษะด้านการเกษตร บ่อยครั้งทีเดียวที่เราต้องกลับมาเริ่มต้นกันที่เมล็ดพันธุ์ และหลายต่อหลายครั้งเราต่างตระหนักดีได้เห็นด้วยตาของเราถึงคุณค่าและความสำคัญของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ผสมเปิด (Open-Pollinated Seeds) การให้ความรู้ถึงประโยชน์ของพืชที่เติบโตได้ดีในท้องถิ่นแต่มักจะถูกมองข้ามไป และการวิจัยด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมการเครื่องเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ซึ่งใช้ต้นทุนต่ำ กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ทำให้เอคโคสามารถช่วยเหลือและเสริมความเข้มแข็งให้แก่คนทั่วโลกผู้ที่กำลังพยายามพัฒนาปรับปรุงระบบอาหารและการเกษตรอยู่ทั่วโลก  

การต่อยอดจากประวัติอันยาวนานของการจัดตั้งและดำเนินการธนาคารเมล็ดพันธุ์อันยาวนานาน ที่โดยเริ่มต้นขึ้นก่อนที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา แล้วต่อมาขยายสู่ที่เอเชียและอัฟริกา เอคโคได้ขยายขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องในการส่งมอบเมล็ดพันธุ์ให้ถึงมือของผู้ที่ขัดสน ในปี 2009 เมื่อมีการก่อตั้งศูนย์ประจำภูมิภาค (Asia’s Regional Impact Center) และธนาคารเมล็ดพันธุ์ ก้าวแรกที่เราสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องคือการดำเนินการที่ไม่หยุดยั้งในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณประโยชน์และมีความสำคัญต่อในท้องถิ่น โดยเก็บรักษาไว้ในพื้นที่นั้น ขณะวันนี้ธนาคารเมล็ดพันธุ์ระดับภูมิภาคแห่งแรกของเอคโคมุ่งมั่นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่สูงขึ้นของเมล็ดพันธุ์ผสมเปิดที่ปรับตัวได้ดีในท้องถิ่นภายในเครือข่ายของเรา และความสำเร็จนี้จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงการตัดสินใจที่ถูกต้อง ธนาคารเมล็ดพันธุ์เอเชียได้รับใช้องค์กรเครือข่ายใน 29 ประเทศ ด้วยการส่งมอบซองเมล็ดพันธุ์ทดลองกว่า 4,600 ซองในปี 2017 รวมทั้งหมดจากเมล็ดที่มีการคัดสายพันธุ์ 175 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการเพาะและผลิตเมล็ดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

อย่างไรก็ตาม แม้จะประสบผลในความสำเร็จมากมายเหล่านี้ แต่ก็พบว่ายังมีความต้องการเมล็ดพันธุ์อยู่อีกมากที่เกินขีดความสามารถของเราที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อรองรับให้ได้กับความต้องการที่มีอย่างมหาศาลในภูมิภาคนี้ เราจึงได้ทำการศึกษาแนวทางในการขยายงานการบริการของเรา นอกจากนี้ยังมีความท้าทายอื่นๆที่ต้องประสบคือที่เพิ่มขึ้นในการเคลื่อนย้ายเมล็ดพันธุ์ข้ามเขตชายแดน, กฏหมายเมล็ดพันธุ์ที่เข้มงวด, และข้อโต้แย้งที่มีอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของด้านสารพันธุกรรม ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ต้องมีการคิดไตร่ตรองอย่างจริงจังเกี่ยวกับถึงอนาคตในการดำเนินงานด้านธนาคารเมล็ดพันธุ์ สิ่งคำถามเหล่านี้ได้ผลักดันให้เราใคร่ครวญว่าเราควรจะทำงานอย่างไรเพื่อให้สามารถการบริการเครือข่ายของเราต่อไปอย่างไรในช่วงเวลาสำคัญนี้ 

AN 36 Trail Fig 1
ภาพที่ 1. ธนาคารเมล็ดพันธ์ุของเอคโค่ ตั้งอยู่ที่แม่อาย 
AN 36 Trail Fig 2
ภาพที่ 2. พันธุ์พืชท้องถิ่นต่างๆถูกปลูกที่ธนาคารเมล็ดพันธ์ุเอคโค่

ทางออกของเอคโค 

จากความข้อท้าทายที่ได้ดังกล่าวไปข้างต้นนั้น เอคโคจึงคิดนำมาซึ่งทางออกเบื้องต้นของเอคโคสองวิธี ได้แก่ (1) ขยายธนาคารเมล็ดพันธุ์ในระดับภูมิภาคของเรา และ (2) ก่อตั้งเครือข่ายในพื้นที่โดยจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ในระดับชุมชน( Community Level Seed Banks หรือ CLSB) 

วิธีการทั้งสองนี้ได้มีการนำมาใช้และเริ่มการปฏิบัติการมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งขณะนี้การขยายธนาคารเมล็ดพันธุ์แห่งใหม่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ  มีการจัดหาที่ดินแห่งใหม่ที่อยู่ในเขตชานอำเภอเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ (ห่างจากสำนักงานใหญ่เพียง 25 นาที) ทำให้เราสามารถขยายการดำเนินงานการของธนาคารเมล็ดพันธุ์ซึ่งที่มีอยู่เดิมอยู่ที่จากอำเภอแม่อาย (ห่างจากสำนักงานใหญ่ 4 ชั่วโมง) พื้นที่แห่งใหม่นี้และยังสามารถจัดตั้งเป็นศูนย์ทรัพยากรเพื่อพื้นที่การเกษตรขนาดเล็ก (Small Farm Resource Center หรือ ชื่อย่อ SFRC) เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดในการอบรมและการวิจัย ความพยายามใหม่ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องนี้ทำให้เกิดการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในการผลิตเมล็ดพันธุ์และเพิ่มขีดความสามารถโดยรวมของธนาคารเมล็ดพันธุ์เพื่อที่จะช่วยเหลือเครือข่ายของเรา นอกจากนั้น การที่ธนาคารเมล็ดพันธุ์ได้มาตั้งอยู่บนเนื้อที่ที่ใหญ่ขึ้น ยังเป็นการสถานที่แห่งนี้จึงส่งเสริมขีดความสามารถในการสาธิต, การพัฒนาแนวทางใหม่ๆ รวมถึงการตรวจสอบปฏิบัติการด้านการเกษตรที่เราต้องการแบ่งปันให้แก่กับผู้อื่นด้วย 

มีการดำเนินการสร้างห้องเก็บเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ที่สามารถควบคุมความเย็น, การเพิ่มพื้นที่แปลงเพาะเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ และการได้อยู่ใกล้ในเมืองมากขึ้น ทำให้สถานที่แห่งใหม่นี้มีบทบาทที่สำคัญในการบริการให้กับเครือข่ายในภูมิภาคที่ต้องการเมล็ดพันธุ์ที่มีความหลากหลายและปรับตัวเติบโตได้ดีในท้องถิ่น  

ขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นของธนาคารเมล็ดนี้จะทำให้สามารถเกิดการผลิตและแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกันเราเองยังตระหนักถึงความท้าทายอย่างต่อเนื่องในด้านการเคลื่อนย้ายเมล็ดพันธุ์ภายในภูมิภาค และความจำเป็นที่จะต้องมีทางเลือกอื่นที่จะเก็บเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นไว้ในประเทศนั้นๆ ดังนั้นในฐานะที่ธนาคารเมล็ดพันธุ์แห่งใหม่ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในภูมิภาค เราจึงสนับสนุนเครือข่ายใหม่ๆที่เป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน (Community Level Seed Banks หรือ CLSB’s) ซึ่งที่ตั้งอยู่ภายในประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือในภูมิภาคที่อื่นๆ เราขอขอบคุณน้ำใจและความร่วมมือจากโครงการ Presbyterian Hunger Program, หน่วยงาน Agroecology Learning Alliance of SE Asia (ALiSEA), มูลนิธิ Stewardship Foundation, รวมถึงผู้สนับสนุนรายบุคคลหลายท่านต่างๆ เครือข่ายนี้กำลังเติบโตและขยายกว้างออกไป โดยมีการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์แห่งใหม่ๆขึ้น 

บทบาทงานของเอคโคเอเชียคือการบริการด้านการฝึกอบรมและเสริมสร้างศักยภาพ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถแก่การได้รับความร่วมมือจากความพยายามของเจ้าหน้าที่ธนาคารเมล็ดพันธุ์ในเครือข่าย การทำเช่นนี้จะช่วยให้ธนาคารเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชนแต่ละแห่งให้มีความสามารถในระดับที่พึ่งพาตนเองได้ในการผลิต, เก็บรักษาและเผยแพร่เมล็ดพันธุ์ที่มีความสำคัญในท้องถิ่น หากทำเช่นนี้ได้สำเร็จ จะเกิดประโยชน์คือ (1) เมล็ดพันธุ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นสามารถนำไปใช้ได้ (2) มีการแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ที่มีประโยชน์ท่ามกลางเครือข่ายเพิ่มขึ้น (3) เป็นการปกป้องรักษาสายพันธุ์พืชต่างๆหากเกิดความเสียหายกับธนาคารเมล็ดพันธุ์หนึ่งหรือในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และ (4) ชะลอการสูญหายของความหลากหลายทางชีวภาพในพืชผลทั้งในท้องถิ่นและในภูมิภาค  

AN 36 Trail Fig 3
ภาพที่ 3.สวนสาธิตทางการเกษตรแห่งใหม่ของเอคโค่ ห่างออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 25 นาที

เครือข่ายในประเทศเมียนมาร์ 

หากจัดระดับความก้าวหน้าและความเชี่ยวชาญจากมากไปหาน้อย ธนาคารเมล็ดพันธุ์แต่ละที่อาจอยู่ในระดับที่แตกต่างกันไปตามบริบทและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงาน ที่ศูนย์ ECHO’s Global Farm ประเทศสหรัฐอเมริกามีดำเนินการโดยให้ธนาคารเมล็ดพันธุ์เป็นห้องเย็นที่สามารถเดินเข้าไปได้ โดยภายในห้องจะสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นตามที่ต้องการได้อย่างเจาะจง เพื่อให้เหมาะสมกับการเก็บเมล็ดพันธุ์นานเป็นเวลาหลายๆปีในคราวหนึ่ง ส่วนธนาคารเมล็ดพันธุ์ภูมิภาคที่ตั้งอยู่ในเมืองไทย เราดำเนินการให้เป็นห้องเก็บเมล็ดพันธุ์ที่มีความซับซ้อนน้อยกว่า โดยใช้ระบบเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน, มีอุปกรณ์เซนเซอร์ ‘cool-bot’ และภายในห้องบุด้วยสเปรย์โฟม โดยออกแบบเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายและองค์กรพันธมิตรที่ทำงานร่วมกันสามารถนำไปใช้สร้างเลียนแบบตามอย่างได้ด้วยต้นทุนที่ไม่สูง ยิ่งกว่านั้น หากยังมียังปรับใช้ได้กับกรณีของผู้ใดที่มีงบประมาณไม่เพียงพอถึงและขาดแคลนแหล่งเทคโนโลยีที่จำเป็น รวมถึงไฟฟ้าที่ไม่เสถียรแน่นอน เราจึงได้ทำมีการสำรวจ, ทดสอบ และทดลองแนวทางธนาคารเมล็ดพันธุ์ทางเลือกอื่นสำหรับชุมชนท้องถิ่นในภูมิภาค ซึ่งได้แก่วิธีการสร้างห้องหรืออาคารด้วยดินบรรจุกระสอบ(Earthbag) และการฝังโอ่งดินเหนียวเพื่อควบคุมอุณหภูมิ, เทคนิคการใช้ที่สูบลมจักรยานเพื่อการปิดผนึก และการใช้วัสดุดูดความชื้นที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อการตากเมล็ดพันธุ์ให้แห้ง 

ในปัจจบัน ได้มีการนำวิธีการสองอย่างสุดท้ายมาผสมผสานกันเพื่อให้บรรลุวัตถุได้มาซึ่งจุดประสงค์ในการหาวิธีสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมในพื้นที่ มีการได้ทำงานร่วมกันกับองค์กรพันธมิตรสหคริสตจักรแบ๊บติสท์เมียนมาร์ในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีถือเป็นขั้นตอนระยะแรกของการเริ่มต้นเครือข่ายธนาคารเมล็ดพันธุ์ ในช่วงต้นปี 2017 ทางธนาคารเมล็ดพันธุ์เอคโคเอเชียได้ต้อนรับผู้ที่คาดว่าจะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการธนาคารเมล็ดพันธุ์หลายท่าน โดยจัดการฝึกอบรมในทุกๆด้าน ตั้งแต่การก่อตั้ง, ดำเนินการ, จัดหาเมล็ดพันธุ์ และดูแลรักษาธนาคาเมล็ดพันธุ์ในระดับชุมชน  เมื่อผู้รับการอบรมกลับไปยังชุมชนของแต่ละคนแล้ว ได้มีการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ในเครือข่ายขึ้นเป็นครั้งแรก การจัดการนั้นเป็นไปอย่างเหมาะสมตามบริบทของแต่ละที่ที่ไม่เหมือนกันโดยมีการผสมผสานทางเลือกใหม่ๆที่ได้เรียนรู้จากเอคโค 

ความหมายของธนาคารเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน 

AN 36 Trail Fig 5
ภาพที่ 4. ซอ มูเพลอ เจ้าหน้าที่ธนาคารเมล็ดพันธ์ุที่ สวน Kahelu กับธนาคารเมล็ดพันธ์ุใหม่ของเขาที่สร้างจากกระสอบดิน

หลังจากผ่านการอบรมได้ใช้เวลา 2 เดือนจนกระทั่งในการเรียนรู้จักวิธีการดำเนินงานของธนาคารเมล็ดพันธุ์ของเราที่เมืองไทยอย่างดีทะลุปรุโปร่งแล้ว มีผู้จัดการสองท่านคือ Saw Moo Pler และ Naw Doris ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์กร Pathein Myaugmya Association (PMA) ในประเทศเมียนมาร์ ได้กลับไปยังศูนย์ทรัพยากรพื้นที่การเกษตรขนาดเล็กคาเฮลู (Kahelu Small Farm Resource Center) แล้วและได้ทำการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชนของตนเองขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือชุมชนในละแวกใกล้เคียงด้วยการเป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพให้กับผู้ที่สนใจ  

หลังจากได้รับการอบรมจากเจ้าหน้าที่ธนาคารเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทยแล้ว ได้มีการนำความรู้สิ่งที่ได้รับจากการอบรมไปใช้คือ มีการสร้าง “ห้องเย็น” เพื่อที่จะทำเป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์ ด้วยวิธีการสร้างโดยใช้ดินบรรจุกระสอบ (Earthbag) เพื่อให้ห้องเย็นนี้มีอุณหภูมิต่ำและเก็บรักษาอุณหภูมิได้ มีการปลูกพืชที่ต้องการในแปลงเพาะแบบยกแปลงเพื่อใช้ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการเก็บไว้ในธนาคาร ซึ่งและขณะนี้กำลังอยู่ในกระบวนขบวนการวางแผนที่จะนำเกษตรกรเครือข่ายในชุมชนให้ปลูกพืชด้วยเมล็ดพันธุ์หลากหลายสายพันธุ์ และที่ธนาคารเมล็ดพันธุ์นี้ เอคโคเอเชียได้เป็นเจ้าภาพจัดการอบรมการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในเดือนมกราคมที่โดยมีผู้เข้าร่วมสิบกว่าคนที่เป็นเกษตกรและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้รับการฝึกปฏิบัติในสถานที่จริงและเรียนรู้วิธีการทำความสะอาดเมล็ด วิธีการต่างๆในการเก็บต่างๆ รวมถึงและลักษณะทางชีวภาพของเมล็ด เพียง 6 เดือนหลังจากนั้น เมื่อมีการเยี่ยมติดตามผลที่ศูนย์คาเฮลู เจ้าหน้าที่ของเราประทับใจมากที่เห็นการพัฒนาของธนาคารเมล็ดพันธุ์ที่นั้น และทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของพลังงานของการมีพันธมิตรที่ดี ผลอันดีที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้ที่ทำงานในภาคสนาม ในชุมชน ในบรรดาพันธมิตร ซึ่งนี่คือสมาชิกเครือข่ายที่เราต้องการจะช่วยเหลืออย่างแท้จริง  

AN 36 Trail Fig 4
ภาพที่ 5. แปลงผลิตเมล็ดพันธ์ุ ที่สวน Kahelu 

เจ้าหน้าที่ที่ธนาคารเมล็ดพันธุ์คาเฮลูยังได้มีส่วนในการทำงานวิจัยหนึ่งด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้เอคโคสามารถอธิบายถึงวิธีปฏิบัติที่เราจะทำการส่งเสริมและนำผลการปฏิบัตินี้ไปทดสอบในภาคสนาม ได้มีการทดสอบเล็กๆในเขตภูมิภาคเพื่อประเมินสภาพการเก็บรักษาเมล็ดในอาคารซึ่งที่ที่สร้างด้วยดินบรรจุกระสอบ ในภาชนะดินเหนียว และในหลุมที่ขุดไว้ตามไหล่เขา; โดยทั้งหมดนี้ทำการเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้ปิดผนึกและเมล็ดที่ปิดผนึกแบบสูญญากาศจากเครื่องปิดผนึกทำมาจากที่สูบลมรถจักรยาน ทางเอคโคเห็นว่า “งานวิจัยย่อย” นี้เป็นส่วนที่สำคัญมากต่อประสิทธิภาพและความสามารถขององค์กรเอคโคที่จะในการจัดหาข้อมูลที่ทันสมัยและเป็นทางเลือกที่ดีให้กับเครือข่าย  

มุ่งหน้าต่อไป  

ธนาคารเมล็ดพันธุ์คาเฮลูเป็นตัวอย่างหนึ่งของเครือข่ายธนาคารเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชนซึ่งที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของการทำงานในภาคสนามหลายแห่งในเมียนมาร์ กัมพูชา และฟิลิปปินส์ มีเครือข่ายเช่นนี้อีกมากมายเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ และความหวังของเราคือการได้มีส่วนช่วยเหลือในการก่อตั้ง, เชื่อมโยง และส่งเสริมศักยภาพให้ธนาคารเมล็ดพันธุ์เหล่านี้อีกมากมาย  

AN 36 Trail Fig 6
ภาพที่ 6.  หน่อ โดริส เจ้าหน้าที่ธนาคารเมล็ดพันธ์ุที่สวน Kahelu กับที่ตากเมล็ดพันธ์ุพลังงานแสงอาทิตย์อันใหม่ของเขา

การได้ใช้ธนาคารเมล็ดพันธุ์และศูนย์ทรัพยากรขนาดเล็กแห่งใหม่ของเราเพื่อการฝึกอบรม เพื่อสาธิตทางเลือกแบบใหม่ๆ และเพื่อการวิจัยทดลองเทคนิควิธีการต่างๆที่ใช้ต้นทุนต่ำ จะช่วยให้เราขยายงานออกไปนอกเหนือจากที่เราคาดหวังไว้เมื่อหนึ่งปีที่แล้ว จุดมุ่งหมายของเราคือเพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือพันธมิตรเครือข่ายของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราตระหนักถึงความสำคัญของในข้อที่ว่าพันธมิตรว่าเป็นผู้ที่จะมีอิทธิพลอย่างยั่งยืนในชีวิตของคนในพื้นที่ ทั้งในด้านกายภาพและจิตวิญญาณ แม้การจัดตั้งศูนย์แห่งใหม่นี้จะมีความคืบหน้าไปได้มากแล้ว แต่งานที่อยู่ตรงหน้าเรายังมีอีกมากมาย เราอธิษฐานและตัดสินใจในทุกๆก้าวของเราด้วยความตั้งใจและเรายินดีเป็นอย่างมากที่ท่านจะมีส่วนกับเรา พร้อมทั้งสนับสนุนและร่วมดำเนินงานไปกับเราโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันที่จะให้ศูนย์ทรัพยากรพื้นที่การเกษตรขนาดเล็กและธนาคารเมล็ดพันธุ์แห่งนี้เป็นสถานที่ที่ส่งผลกระทบเชิงมีอิทธิพลทางบวกต่อสังคม  

 

AN 36 Trail Fig 7
ภาพที่ 7. ธนาคารเมล็ดพันธ์ุชุมชนแห่งใหม่ถูกก่อสร้างขึ้นที่ ศูนย์การอบรมการเกษตรที่ยั่งยืน นอกเมือง ย่างกุ้ง ประเทศ เมียนมาร์
AN 36 Trail Fig 8

ภาพที่ 8. บุญส่ง เจ้าหน้าที่เอคโค่ เอเชีย ได้ไปเยี่ยมชม ธนาคารเมล็ดพันธ์ุแห่งใหม่ของ ศูนย์การอบรมการเกษตรที่ยั่งยืน

 

 

 

 


ป้ายระบุ

Seed Bank

ภูมิภาค

Asia