โดย: Keith Mikkelson, Aloha House Orphanage and Sustainable Farm, Puerto Princesa, Philippines


This article is from ECHO Asia Note # 31.

โดย คีท มิคเคิลสัน (Keith Mikkelson) บ้านเลี้ยงเด็กกาพร้าและสวนเกษตรพอเพียงอโลฮา
เมืองปวยร์โต ปรินเซซา ประเทศฟิลิปปินส์

[หมายเหตุจากบรรณาธิการ: บทความนี้เป็นบทความที่ 4 ซึ่งเป็นบทความสุดท้ายของชุดบทความเกี่ยวกับอาหารสัตว์ ที่เขียนโดยคุณ คีท มิคเคิลสันจากบ้านเลี้ยงเด็กกาพร้าและสวนเกษตรพอเพียงอโลฮา เมืองปวยร์โต ปรินเซซา ประเทศฟิลิปปินส์ บทความก่อนหน้านี้ของคุณคีทอยู่ในสารเอเชียเอเชียฉบับที่ 20 อาหารปลา, ฉบับที่ 25 อาหารสุกร และฉบับที่ 28 อาหารไก่ บทความเหล่านี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการใช้วัตถุดิบในฟาร์มมาทาเป็นอาหารสัตว์ที่จะช่วยลดการพึ่งพาวัตถุดิบจากนอกฟาร์ม (ที่ส่วนใหญ่มีราคาแพง) เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเกิดผลกาไร]

คานา

AN31 Mik Fig 1
ภาพที่ 1: วัวที่มัดเชือกไว้เดินลุยน้าเพื่อไปกินใบบัวบกและจอกหูหนู

สัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีหลายกระเพาะ เป็นสัตว์ที่น่าทึ่งและมีอยู่หลายชนิด โดยแต่ละชนิดมีความต้องการด้านโภชนาการที่ต่างกันไป สัตว์เคี้ยวเอื้องคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กีบคู่, กีบเท้าแยก,มีสี่ขา และสารอกอาหารที่กินเข้าไปออกมาเคี้ยวต่อหรือที่เรียกว่าการเคี้ยวเอื้อง อยู่ในวงศ์สัตว์อันดับย่อย Ruminantia (ในอันดับ Artiodactyla) สัตว์เคี้ยวเอื้องที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ วัว ควาย แพะ และจามรี

สัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถย่อยและสกัดสารอาหารจากพืชด้วยการหมักอาหารไว้ในกระเพาะพิเศษที่มีจุลินทรีย์ที่มี ประโยชน์คอยช่วยอยู่ ก่อนที่อาหารจะถูกย่อย (ภาพที่ 1) หลังจากการหมักอาหารที่กินเข้าไปครั้งแรกแล้ว อาหารนั้นจะถูกขย้อนออกมาเคี้ยวอีกครั้ง ขบวนการนากลับมาเคี้ยวใหม่ (เพื่อย่อยสลายสสารพืชและเพื่อกระตุ้นขบวนการย่อย) เรียกว่าการเคี้ยวเอื้อง ของเสียที่ได้จากสัตว์เคี้ยวเอื้องเป็นปุ๋ยอย่างดีให้กับพืชที่ปลูกเป็นอาหารให้กับสัตว์เหล่านั้น มูลสัตว์ที่ได้ควรนากลับมาใช้ในฟาร์มเพื่อเป็นการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ประโยชน์อย่างหนึ่งของการทาปศุสัตว์แบบผสมผสานคือการช่วยให้พืชมีความแข็งแรงและให้ผลผลิตที่นากลับไปใช้ในวงจรสารอาหารในฟาร์มได้

การทาอาหารให้สัตว์เคี้ยวเอื้องในฟาร์มขนาดเล็กนั้นมีอยู่หลายวิธี แต่ก่อนที่จะเลือกวิธีให้อาหารใดๆในสถานการณ์ของท่าน ท่านต้องแน่ใจว่าประโยชน์ที่ได้เมื่อชั่งดูแล้วมีน้าหนักกว่าการเสียประโยชน์ ทุกฟาร์มมีสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน และเกษตรกรต้องพิจารณาวิธีที่เหมาะสมที่สุดและประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุดสาหรับความจาเป็นของตนเอง

ภาวะสุขภาพที่ดีที่สุดของสัตว์เคี้ยวเอื้อง

แสงแดดและหญ้าเป็นแหล่งของสารอาหารที่ดีที่สุดสาหรับวัว ควาย และแกะ แต่อาจไม่ได้เป็นแหล่งที่มาของสารอาหารที่ครบถ้วนสาหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม สัตว์เคี้ยวเอื้องทุกชนิดจะได้รับประโยชน์จากทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์บ้างเมื่อมีการจัดการที่ดี หรืออาจมีการเลี้ยงผสมผสานกับพืชเลี้ยงสัตว์อื่นๆ เช่นพืชตระกูลถั่วที่เป็นพุ่มหรือแม้แต่แหนแดง บทความทั้งหมดในชุดนี้ได้พูดถึงหัวข้อสองหัวข้อที่มีในตารางที่ 1 (หญ้าแห้งหรือฟางและทุ่งหญ้าธรรมชาติ) เราจะไม่พูดถึงพืชหมัก (ไซเลจ) หรือธัญพืชเลี้ยงสัตว์ ยกเว้นที่มีในตารางที่ 2 ที่พูดถึงประโยชน์และผลเสียกับบทอ้างอิงในตอนต่อไป

ตารางที่ 1 ปริมาณโภชนาการของฟาง (Hay), หญ้าหมัก (Silage),และทุ่งหญ้าตามธรรมชาติ (Natural pasture) ในภูมิภาคไนจีเรียตะวันตกเฉียงใต้ (Ojo et al.2013)

Treatment

CP

Ash

NDF

ADF

ADL

GV(ml/)0.2 gDM)

Cg(ml/hr)

ME (MJ/kg DM)

OMD (%)

SCFA (mmol)

Hay

92.0b

79.0b

589.0b

436.3a

174.7b

34.33a

0.09

8.6b

45.1b

0.5b

Silage

108.0a

106.0a

574.4c

363.8b

128.1c

33.67a

0.07

10.7a

55.4a

0.7a

Natural pasture

59.0c

71.0c

705.2c

440.6a

184.4a

13.67b

0.08

5.3c

32.8c

0.2c

±SEM

7.24

5.32

20.73

12.51

8.71

3.44

0.01

0.82

3.29

0.07

ค่าเฉลี่ยในช่องแนวตั้งที่มีตัวอักษรต่างกันมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.05) CP:Crude Protein (โปรตีนรวม); NDF: Neutral detergent fiber (กากหรือใยที่สกัดด้วยสารละลายที่เป็นกลาง); ADF:Acid detergent fiber (กากหรือใยที่สกัดด้วยสารละลายที่เป็นกรด); ADL: Acid detergent lignin (การวิเคราะห์หาลิกนิน); GV: Gas volume (ปริมาตรแก๊ซ); Cg: Rate of fermentation (อัตราการหมัก); ME: Metabolizable energy (พลังงานใช้ประโยชน์); OMD: Organic matter digestibility (อินทรีย์วัตถุที่ย่อยได้); SCFA: Short-chain fatty acids (กรดไขมันสายสั้น)
SEM: Standard of mean (ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าเฉลี่ย), องค์ประกอบของพื้นที่เล็มหญ้าในทุ่งธรรมชาติช่วงฤดูแล้ง (หญ้าเนเปียร์ Pennisetum purpureum, หญ้ากัมบ้า Andropogon gayanus, A.tectorum, หญ้ากินนีสีม่วง Panicum maximum, หญ้าสกุลข้าวฟ่าง Sorghum almum, ถั่วฮามาต้า Stylosanthes hamate, ถั่วคาลาโปโกเนียม Calopogonum mucunoide, Centrosema molle)

วัวและควาย

วัวเนื้อและวัวนมจากพันธุ์พื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทานและเติบโตได้ดีในสภาพที่หลากหลายตั้งแต่พื้นที่สูงบนเขาหิมาลัยจนมาถึงพื้นที่เขตร้อนชื้น บางสายพันธุ์มาจากชาวยุโรปที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานหรือกลุ่มชนที่มีวิถีชีวิตแบบย้ายถิ่น ในประเทศฟิลิปปินส์ “วัว” พื้นเมืองจริงๆแล้วถูกนาเข้ามาโดยชาวสเปน ที่นาวัวหลายสายพันธุ์เข้ามายังประเทศที่อ้างว่าเป็นอาณานิคมเมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว หลายๆประเทศมีสายพันธุ์เก่าแก่ที่ผสมข้ามสายพันธุ์กับสายพันธุ์ใหม่มาเป็นเวลาหลายสิบปีและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เราจะดูที่อาหารสาหรับวัวเนื้อก่อน จากนั้นจะพูดถึงคาแนะนาที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตในวัวนม

น้าและเกลือแร่

น้าจะต้องมีไว้ให้สัตว์กินอยู่ตลอดทั้งวันเพื่อให้สัตว์มีสุขภาพที่ดี เกลือ (โซเดียมคลอไรด์, NaCl) เป็นสารอาหารที่จาเป็นอีกอย่างหนึ่งสาหรับวัวและควายด้วย โดยเฉลี่ยวัวและควายควรจะได้เกลือ 11-15 กรัมต่อวันเพื่อให้ได้สารอาหารตามที่ร่างกายต้องการ ปกติแล้ววัวและควายสามารถกินทั้งโซเดียมและคลอไรด์ในปริมาณสูงได้โดยไม่มี

ผลอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ยแล้ว วัวและควายไม่ควรได้รับโซเดียมคลอไรด์มากเกิน 8 เปอร์เซ็นต์ของอาหารที่ได้รับประจาวันตามน้าหนักตัว (Ward and Lardy 2005) ในพื้นที่ที่มีการนาเข้าก้อนเกลือแร่ในราคาสูง อาจใช้เกลือทะเลให้วัวและควาย “เลือกกิน” (เช่น เอาเกลือออกไปวางไว้และปล่อยให้สัตว์มากินตามต้องการ) ตามงานเขียนของ Troy Smith ที่กล่าวว่าโซเดียมในเกลือเป็นแร่ธาตุเพียงอย่างเดียวที่ทาให้เราเห็นสัตว์แสดง “ความรู้ด้านโภชนาการ” นั่นคือเมื่อเรานาไปวางไว้ให้ พวกมันจะกินเท่าที่ร่างกายต้องการ และจะไม่กินจนมากเกินไป (2008)

เราทาก้อนเกลืออัดดินขึ้นมาซึ่งยังถือว่าอยู่ในขั้นทดลองใช้เบื้องต้น ก้อนเกลือนี้ประกอบไปด้วยดินเหนียวสีแดงใต้ชั้นผิวดินจากในฟาร์ม, ทรายหยาบสาหรับ “ฉาบ” 2-3 กิโลกรัม, กากน้าตาล 100-500 กรัม, ดีเกลือ 100 – 200 กรัม, และปูนขาว(ไฮเดรตไลม์) หรือปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ 1 กิโลกรัม ผสมกับเกลือทะเล 3 กิโลกรัม ซึ่งในขณะนี้เรายังอยู่ในขั้นตอนวิเคราะห์และศึกษาการทางานของก้อนเกลือนี้ แต่ก้อนเกลือเหล่านี้มีพื้นฐานงานวิจัยอยู่บ้างแล้ว (Liu et al. 1995) แม้จะมีการส่งเสริมการใช้ก้อนยูเรีย แต่ก้อนดินของเราไม่มียูเรีย เนื่องจากมีการพิสูจน์แล้วว่าจุลินทรีย์ในกระเพาะแรกของสัตว์เคี้ยวเอื้องไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนในปริมาณที่พอเพียงที่ร่างกายต้องการทั้งหมดเพื่อป้องกันอาการขาดสารอาหารหรือการขาดสมดุลที่อาจถือว่าเป็นปัจจัยสาคัญที่มีผลต่อคุณภาพที่ลดลงของสัตว์ที่ได้รับอาหารที่มียูเรียเป็นส่วนผสม (Chalupa 1968)

AN 31 Table 2 THAI
ตารางที่ 2 การจัดการ, ข้อดี และข้อเสีย ของวิธีการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องแบบต่างๆ

ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์แบบยั่งยืนเป็นแนวทางหนึ่งที่ทาได้ โดยต้องมีจัดการวางแผนล่วงหน้าและการสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด ควรเริ่มจากการเลือกชนิดของหญ้าเพื่อจะดูว่าหญ้าเขตร้อนชนิดใดปลูกแล้วจะประสบความสาเร็จ มีเว็บไซท์หนึ่งที่แสดงผลแบบโต้ตอบได้เกี่ยวกับการเลือกชนิดของหญ้าที่พัฒนามาจากหนังสือ “A guide to Better Pastures for the Tropics and Subtropics “ (แนวทางสาหรับการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่ดีกว่าสาหรับเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน) โดย L. R. Humphreys and I. J. Partridge (1995) ซึ่งเราสามารถป้อนข้อมูลเข้าไปในเว็บไซท์เพื่อรับคาแนะนาได้ (ภาพที่ 2) [บก.: ท่านสามารถดูได้ที่บทความเอคโคเอเชียฉบับที่ 23 และ 25 เกี่ยวกับศักยภาพของ สายพันธุ์พืชและหญ้าสาหรับเลี้ยงสัตว์ที่กลายเป็นวัชพืช เมื่อนาพืชสายพันธุ์ใหม่เข้ามาในพื้นที่ โปรดระมัดระวังตามคาเตือนที่ให้ไว้ ทดลองด้วยตนเองก่อนให้แน่ใจว่าพืชหรือหญ้าที่ “เป็นคาตอบ” นั้นจะไม่กลายมาเป็นปัญหา!]

หญ้าและพืชตระกูลถั่ว: การตัดและนามาให้สัตว์กิน (Cut and Carry)

ที่บ้านอโลฮา เราปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ที่มีความหลากหลายเพื่อเก็บเกี่ยวให้แพะและวัวกิน ซึ่งเราเรียกกว่า “การตัดและนามาให้สัตว์กิน (Cut and Carry)” มนุษย์มีความระมัดระวังกว่าสัตว์ที่จะไม่เหยียบหญ้าและพืชต่างๆที่ปลูกไว้ และสามารถเก็บเกี่ยวหญ้าที่ขึ้นสูงและต้นพืชต่างๆที่กาลังอยู่ในช่วงพอเหมาะสาหรับการนาไปเป็นอาหาร ตามคากล่าวของ Martin (1993) ที่ว่า “ประมาณ 75% ของพืชอาหารสัตว์ที่ใช้ในเขตร้อนคือพืชประเภทหญ้า” หญ้าชนิดต่างๆมนุษย์สามารถเก็บเกี่ยวและนามาเลี้ยงสัตว์ได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม 

เราปลูกหญ้าแฝก (Chrysopogon zizanioides) เพื่อรักษาหน้าดินในที่ลาดชันและเพื่อการจัดการพื้นที่ที่เป็นร่องน้าในระบบเก็บกักน้าของเรา นอกจากหญ้าแฝกจะช่วยลดการสึกกร่อนของหน้าดินแล้ว ยังถือว่าเป็นหญ้าที่มีรสชาติดีสาหรับสัตว์เลี้ยงด้วย (ภาพที่ 3) เราสามารถเก็บเกี่ยวหญ้าแฝกอ่อนได้หลายครั้งในช่วงหน้าฝน โดยคุณค่าทางอาหารไม่ลดน้อยลงสาหรับที่จะใช้เลี้ยงสัตว์ (ตารางที่ 3) 

AN31 Mik Fig 2
ภาพที่2 แนวทางการเลือกชนิดของหญ้า ข้อมูลจากhttps://www.tropicalgrasslands.asn.au/pastures/pasturepicker.htm

นอกจากนั้น เรายังใช้ประโยชน์จากหญ้าเนเปียร์ (Pennisetum purpureum) โดยวิธีการตัดและนามาเป็นอาหารสดให้กับแพะและวัว วัวจะชอบกินหญ้านี้มากเมื่อเราตัดมาให้พวกมันที่กาลังหากินในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีหญ้าที่ดีนัก โดยหญ้าเนเปียร์นี้จะเป็นอาหารเสริมให้กับพวกมัน หญ้าเนเปียร์มีข้อดีตรงที่สามารถขยายพันธุ์ได้โดยไม่อาศัยเมล็ด (เช่น ขยายพันธุ์จากการตัดท่อนพันธุ์) ขณะนี้เรากาลังฝึกสหกรณ์ 3 แห่งในพื้นที่ให้ใช้เทคนิควิธีการขยายพันธุ์แบบต่างๆเพื่อดูว่าวิธีไหนได้ผลดีที่สุดสาหรับโครงการเลี้ยงควายนม ซึ่งท่านสามารถร่วมติดตามผลไปกับเราได้ เราสามารถปลูกหญ้าเนเปียร์ลงดินได้โดยตรง หรือถ้าเป็นฤดูที่แล้งจัด อาจต้องเริ่มด้วยการดูแลกิ่งที่ปักไว้แล้วค่อยย้ายปลูกลงดินทีหลังในช่วงฤดูฝน ท่อนหญ้าเนเปียร์ที่มีข้อ 2-3 ข้อ เราจะชุบด้วยกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganisms) หรือ EM1 แล้วจุ่มลงไปในเชื้อของเวสติเคิล อาร์บัสคูล่าร์ ไมคอร์ไรซา (Vesicular-Arbuscular Mycorrhiza หรือ VAM) ที่ได้จากมหาวิทยาลัย University of the Philippines เมือง Los Banyos

AN 31 Table 3 THAI
ตารางที่ 3 คุณภาพทางโภชนาการของหญ้าแฝกในระยะเติบโตที่ต่างกัน

นอกจากนี้ ที่บ้านอโลฮายังมีการใช้ระบบเทคโนโลยีการเกษตรในที่ลาดชัน (Sloping Agricultural Land Technology หรือ SALT) มาตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งระบบนี้จะปลูกต้นไม้ในตระกูลถั่วและไม้พุ่มล้มลุกอายุหลายปีช่วยยึดหน้าดินลดหลั่นไปตามแนวไหล่เขาร่วมกับการปลูกพืชอายุสั้นสลับตามแนวทุกๆปี โดยพืชตระกูลถั่วสามารถนาไปหมักและกลายเป็นอาหารทางเลือกหนึ่งของสัตว์เคี้ยวเอื้อง พืชตระกูลถั่วเป็นแหล่งสาคัญของโปรตีนและวิตามินรวมถึงเอ็นไซม์ที่ส่งเสริมการย่อยของอาหาร (Watson, 1985) ) เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่เราสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ได้มากมายจากต้นและขยายพันธุ์จากเมล็ดที่เรามีเมื่อแรกเริ่ม เรามีทั้งการทาแถวระดับของหญ้าเกล็ดหอย Desmodium rensonii, หางเสือ Flemingia congesta, ครามขน Indigofera, แคฝรั่ง Gliricidia sepium, กระถิน Leucaena leucocephala และกระถินเทพา Mangium acacia พืชตระกูลถั่วเหล่านี้นาไปทาเป็นอาหารหมักที่มีประโยชน์อย่างมากให้กับสัตว์ของเรา (“Nitrogen Fixing Trees Start Up Guide,” 2008)

ปัญหาการป้องกันโรคพยาธิที่มาจากการตัดพืชสดและนามาให้สัตว์กิน

AN 31 Fig 4 THAI
ภาพที่ 4 วงจรชีวิตของพยาธิตัวกลมในแพะ จากhttps://www.pinterest.com/pin/452541462542767238/

ในพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ สัตว์พวกวัวควายจะไม่ค่อยพบปัญหาการติดเชื้อพยาธิจากสิ่งแวดล้อมเพราะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อที่พบได้ทั่วไปในเขตร้อน แต่เชื้อเหล่านี้ทาให้เกิดโรคระบาดในแพะได้ เพราะแพะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคจากพยาธิบางอย่างและถ้าจะให้ดีที่สุดควรให้แพะเล็มหญ้าในทุ่งหญ้าที่น้าค้างหรือฝนระเหยแห้งไปแล้ว เพราะการระบาดของพยาธิตัวกลมในกระเพาะอาหารของแพะมักจะเกิดขึ้นเมื่อหญ้าเปียก (ภาพที่ 4) เรามักจะตัดพวกพืชตระกูลถั่วไปให้แพะกินอยู่เสมอและไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิในแพะอีกเพราะพยาธิในทางเดินอาหารจะอาศัยอยู่ในหญ้าเปียกเท่านั้น ดังนั้นการจัดการให้อาหารด้วยวิธีการตัดพืชสดและนามาให้สัตว์กินจึงเป็นการป้องกันพยาธิชนิดนี้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตร้อน

การวางแผนการเล็มหญ้า, การจัดการฟาร์มแบบองค์รวม, การไถพรวนในตาแหน่งแบบแนวน้า หรือ Keyline, และการติดตั้งรั้วไฟฟ้าแบบเคลื่อนย้ายได้

พี.เอ. โยแมน (P.A. Yeomen) ได้ออกแบบแนวคิดหนึ่งที่เรียกว่าการวางตาแหน่งแบบแนวน้า (Keyline Planning) ตามสภาพภูมิประเทศในพื้นที่ เป็นการใช้รูปทรงและลักษณะของที่ดินเพื่อพิจารณาการออกแบบและตาแหน่งของเขื่อน, พื้นที่เก็บกักน้า, ถนน, รั้ว, อาคาร และแนวต้นไม้ (Ecologia 2012) เครื่องจักรคันไถคีย์ไลน์ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่สามารถพรวนดินชั้นล่างได้โดยไม่รบกวนชั้นดินเดิมที่มีอยู่ (ภาพที่ 5) ช่วงหลายเดือนในแต่ละปี เราสามารถปรับปรุงคุณภาพพื้นดินของทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ด้วยการไถดินต่อเนื่องกันที่ความลึกตั้งแต่ 10 ซม., 20 ซม. จนถึง 30 ซม. เมื่ออากาศและสิ่งมีชีวิตที่รากถูกไถรวมกันตามความลึกที่ถูกไถลงไป ก็จะเกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้นในทุ่งหญ้าและต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเวลาที่วางแผนให้สัตว์มาเล็ม ดังที่เอบี คอลลินส์ (Abe Collins) ได้บันทึกการเดินทางและตีพิมพิ์สิ่งที่เขาค้นพบในหลายพื้นที่ มีการพูดถึงการปรับปรุงใช้คีย์ไลน์ของเขาในลักษณะที่ง่ายต่อการเข้าใจในบทความที่เขาเขียนร่วมกับแดร์เร็น โดเฮอร์ที (Darren Doherty) (2009)

AN31 Mik Fig 5
ภาพที่ 5 คันไถคีย์ไลน์ ใช้ไถดินโดยไม่เปลี่ยนแปลงชั้นดิน

Collins ได้เห็นเกษตรกรหลายคนใส่สารอินทรีย์ลงในพื้นที่ที่ใช้เป็นทุ่งหญ้าเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ทาให้มีสารอินทรีย์ในดินเพิ่มขึ้นเป็น 7.3% เขาใช้ประโยชน์จากการใช้เมล็ดพันธุ์พืชคลุมดินหลายๆชนิด ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 7-20 ชนิดในการหว่านครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้ดินมีคุณภาพดีในหลายๆด้าน ช่วยให้มีผลผลิตที่ดี ได้มาซึ่งผลกาไร และส่วนมากใช้ในระบบเกษตรแบบไม่ต้องไถพรวน (Collins 2013)

ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีการใช้รถแทรคเตอร์และเครื่องจักรคันไถคีย์ไลน์ และเราได้พัฒนาวิธีจากระบบคีย์ไลน์เพื่อปรับใช้กับพื้นที่การเกษตรขนาดเล็กในประเทศกาลังพัฒนาที่ไม่จาเป็นต้องมีเครื่องจักรราคาแพง จากการใช้ สามเหลี่ยมเอเฟรมบอกตาแหน่งนอกเส้นชั้นความสูง (Off-contour triangle A-frame) เราสามารถปลูกหญ้าในที่ลาดชันนิดหน่อยจากร่องเขาถึงสันเขา เพื่อให้น้าที่มีอยู่มากในร่องเขาสามารถนามาใช้ได้ตลอดปี (ภาพที่ 6) จากการปลูกในเส้นตาแหน่งที่วางไว้ด้วยสามเหลี่ยมเอเฟรม เราจึงสามารถดึงความชื้นได้มากขึ้นผ่านระบบรากและทาให้หญ้าเลี้ยงสัตว์เติบโตได้ดีในฤดูแล้ง

AN 31 Fig 6 THAI
ภาพที่ 6 สามเหลี่ยมเอเฟรม(Off-contour triangle A-frame) คาอธิบายของอุปกรณ์นี้ดูได้ที่ https://www.slideshare.net/mik1999/keyline-without-a-tractor-for-small-farms-25014684

 

การใช้รั้วไฟฟ้า หรือ การใช้เชือกล่าม

การใช้พัฒนาการการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ร่วมกับการปล่อยสัตว์แทะเล็มแบบเข้มข้น เราสามารถเพิ่มอัตราความหนาแน่นของสัตว์ต่อพื้นที่ได้และสามารถย้ายบริเวณได้บ่อยขึ้นถึงวันละ 2-3 ครั้ง โดยการใช้รั้วไฟฟ้าแบบเคลื่อนย้ายได้ วัวที่เล็มหญ้าสามารถเลียนแบบพฤติกรรมเหมือนกับวัวป่า ซึ่งตามประวัติแล้ว ฝูงวัวป่าหรือฝูงกระทิงป่าจะเล็มหญ้าเป็นกลุ่มใกล้ชิดกัน (เพื่อป้องกันกลุ่มให้ปลอดภัยจากสัตว์นักล่าอื่นๆ) โดยเหยียบย่าดินและปล่อยมูลของมันลงไปในบริเวณนั้น จากนั้นฝูงก็จะย้ายไปพื้นที่ใหม่ด้วยกันเมื่อมันต้องการ อลัน เซวารี่ (Alan Savory) ได้ออกแบบการจัดการฝูงสัตว์ของเขาในรูปแบบนี้ ตามที่เขาบันทึกไว้และที่มีอยู่ในวิดีโอของ TED talk

เมื่อมีการนารั้วไฟฟ้ามาใช้อย่างเหมาะสม ก็จะทาให้เกษตรกรย้ายฝูงสัตว์ของตนได้โดยให้มันเกาะกลุ่มขนาดใหญ่ไปด้วยกันโดยไม่ให้สัตว์เล็มหญ้าจนเกินพอดี และเพื่อให้หญ้าและพืชทุกอย่างถูกกินไปทั้งหมด รวมถึงมูลสัตว์ก็จะกระจายไปอย่างทั่วถึง หากปล่อยให้สัตว์หากินเองตามใจ มันมักจะกินเฉพาะพืชที่มันชอบที่สุดและปล่อยมูลมาในบริเวณใดบริเวณหนึ่งเท่านั้น ส่วนพืชที่ไม่ค่อยถูกปาก (ส่วนมากจะเป็นวัชพืช) ก็จะถูกปล่อยให้เติบโตขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปทาให้ปริมาณองค์ประกอบของหญ้าที่ปลูกไว้เปลี่ยนไป จนในที่สุดจะมีหญ้าที่สัตว์ไม่ชอบกินเพิ่มมากขึ้น การวางแผนแทะเล็มของสัตว์ตามที่ Abe Collins เห็นคือสัตว์สามารถจัดการพื้นที่บนดินที่เป็นปริมาณของทุ่งหญ้าได้อย่างดีขณะที่ขนาดของรากและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ใต้ดินมีเพิ่มขึ้นด้วย (2006)

โจเอล ซาลาติน (Joel Salatin) เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้เห็นความสาเร็จของการจัดการแผนการแทะเล็มหญ้าของสัตว์แบบเข้มข้น เขาเรียกวิธีการนี้ว่า “วัวเนื้อสลัดบาร์ (Salad Bar Beef)” โดยเราจะให้วัวอยู่ในพื้นที่ที่ปลูกหญ้าหลายๆชนิด โดยระมัดระวังไม่ให้วัวเข้าไปกินหญ้าอ่อนมากเกินไป หญ้าแต่ละชนิดจะมีอัตราการเติบโตเป็นกราฟรูปตัว “S” ถ้าสัตว์ถูกปล่อยให้ไปกินหญ้าเร็วเกินไป หญ้าจะไม่มีเวลาพอที่จะฟื้นตัว และถ้าสัตว์ถูกปล่อยไปกินหญ้าช้าไป หญ้าก็จะถึงภาวะ “แก่” คือหยุดโต เหนียว และให้สารอาหารลดลง (ภาพที่ 7) ดังนั้นจึงควรปล่อยให้สัตว์ได้เล็มหญ้าในระยะที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปขณะที่หญ้ามีสารอาหารสูงสุดที่จาเป็นกับสัตว์ สาหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จากวิดีโอของ Joel Salatin

AN 31 Fig 7 THAI
ภาพที่ 7 ผลของเวลาที่มีต่อชีวมวลและคุณภาพของหญ้า

รั้วไฟฟ้าแบบเคลื่อนย้ายได้อาจมีราคาที่แพงเกินไป ดังนั้น เกษตรกรรายย่อยจึงสามารถใช้วิธีผูกวัวด้วยเชือกติดกับหลัก และย้ายหลักไปได้เรื่อยๆ เราสามารถฟื้นฟูพื้นที่เดิมที่มีหญ้าคา (Imperata cylindrical ) ด้วยการเพิ่มอัตราความหนาแน่นของวัว และย้ายฝูงวัวไปตามสภาพความต้องการของหญ้าและวัว เราเริ่มจากการให้วัวเล็มหญ้าอ่อนที่แตกใหม่ทันทีหลังจากมีการเผาหญ้าคาตามฤดูในธรรมชาติ (อย่าให้สัตว์กินหญ้าคาแห้งที่ยืนต้นอยู่ เพราะหญ้าคาแบบนั้นมีคุณค่าทางอาหารต่าเนื่องจากมีอายุมากและมีลักษณะแห้งและเหนียวแล้ว (ดูภาพที่ 7) สาหรับปศุสัตว์นี้ เราจะเสริมการเล็มหญ้าคาที่ไม่ค่อยมีคุณภาพด้วยการตัดหญ้าเนเปียร์ (Pennisetum purpureum) มาให้กินเพิ่ม ขณะที่พวกมันถูกนาไปแทะเล็มหญ้าในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีคุณภาพดีนัก วัวจะกินหญ้าเนเปียร์ที่ตัดไปให้นี้ทันทีเพื่อทดแทนสารอาหารที่มันต้องการ หญ้าเนเปียร์ที่กินไม่หมดก็จะถูกเหยียบย่ากลายเป็นวัสดุคลุมดินไป ภายในระยะเวลาเพียง 2 ฤดูในเขตร้อน เราก็ได้เห็นหญ้าพื้นเมืองและหญ้าซิกแนลเลื้อย(Brachiaria humidicola) ที่ขึ้นทดแทนหญ้าที่มีคุณภาพต่าและด้วยสภาพทางชีวิภาพจึงทาให้หญ้าคาหมดไปในที่สุด!

วัวนมพันธุ์ต่างๆ

ที่บ้านอโลฮา เราเลี้ยงวัวนมพันธุ์ “พื้นเมือง” ซึ่งอาจเป็นสายพันธุ์ที่มีต้นกาเนิดมาจากพันธุ์เจอร์ซี่ โฮลสไตน์ และบราห์มัน ที่เรียกว่าพันธุ์ เซบู (Bos indicus) คาแนะนาของเราคือให้เริ่มด้วยจานวนน้อย เอาสายพันธุ์ที่มีอยู่ในพื้นที่แล้ว ก่อนที่จะนาเงินไปลงทุนกับพันธุ์จากต่างประเทศ ประเทศไทยมีศูนย์วัวนมแห่งชาติขนาดใหญ่ที่เป็นหุ้นส่วนร่วมกับรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ที่จังหวัดสระบุรี ที่นี่เป็นแหล่งที่ดีมากสาหรับเกษตรกรทั้งรายเล็กและรายใหญ่ และเมื่อเกษตรกรสะสมประสบการณ์ในการจัดการฝูงวัวนมแล้ว แผนการสาหรับสายพันธุ์ของวัวอาจเปลี่ยนไปจาก โฮลไตน์ฟรีเชี่ยน 75% ไปเป็นโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนผสม 87.5 % วัวพันธุ์จากต่างประเทศเหล่านี้ในปัจจุบันเกษตรกรหาได้ในพื้นที่ที่ตนอยู่เพราะเป็นสายพันธุ์ที่กลายเป็นพันธุ์ “ธรรมดา” ไปแล้ว นอกจากนี้เกษตรกรไทยยังเลี้ยงวัวนมพันธุ์เซบู และยังได้มีการพัฒนาและทดสอบพันธุ์ไทย-ฟรีเชี่ยน (Chungsiriwat and Panapol 2009) (ภาพที่ 8) ในบังคลาเทศ ฝูงวัวนมเพื่อการพาณิชน์ประสบความสาเร็จที่สุดกับสายพันธุ์โฮลสไตน์ เมื่อเทียบกับพันธุ์ผสมเจอร์ซี่ โดยค่าความประสบความสาเร็จนั้นวัดจากผลผลิตน้านมที่ได้และสุขภาพ/การปรับตัวของวัว (Azam et al. 2012)

AN31 Mik Fig 8
ภาพที่ 8 ภรรยาของผมกาลังดูวัวนมที่เมืองไทยกินหญ้าเนเปียร์แห้ง

การให้หญ้าแห้งเป็นอาหาร

ที่จังหวัดเชียงใหม่ เราได้ไปเยียมดูสหกรณ์วัวนมแห่งหนึ่งที่ฝึกอบรมเกษตรกรและจัดหาหญ้าแห้งเนเปียร์รวมถึงวัสดุอื่นๆให้กับเกษตรกรด้วย ในประเทศศรีลังกา เกษตรกรรายย่อยใช้ระบบจัดการแบบกึ่งเข้มข้นเป็นวิธีเลี้ยงโดยใช้วิธีผูกวัวไว้กับหลักและเลี้ยงในคอก ซึ่งต่างจากเกษตรกรในระบบการจัดการที่ใหญ่ขึ้นจะใช้วิธีเลี้ยงแบบปล่อยแทะเล็มและผูกไว้กับหลัก โดยมักจะผูกวัวไว้แล้วปล่อยให้กินหญ้าในพื้นที่นาที่เก็บเกี่ยวแล้ว (ที่มีคันนา ตอซัง และเศษฟาง) (ภาพที่ 9) หรือเลี้ยงในที่สาธารณะ หรือตามสวนยางและสวนมะพร้าว ปริมาณน้านมที่ผลิตได้จากระบบการจัดการขนาดใหญ่อยู่ที่ 3.9 ลิตร/ตัว/วัน ขณะที่ปริมาณน้านมที่ผลิตได้จากระบบการจัดการแบบกึ่งเข้มข้นอยู่ที่ 5.4 ลิตร/ตัว/วัน นี่แสดงให้เห็นว่าการจัดการที่มากขึ้นอาจคุ้มกับการกระตุ้นผลผลิตให้เพิ่มขึ้นสาหรับฟาร์มขนาดเล็ก (Saraiva et al. 2014) ผลใกล้เคียงกันนี้เห็นได้ในประเทศศรีลังกาที่อยู่ในเขตอากาศกึ่งชุ่มชื้นดังที่เห็นได้จากรายงานของ Zemmelink et al. (1999) และ Premaratne et al. (2013) ส่วนผลผลิตเฉลี่ยของน้านมที่ต่ากว่าในระบบการจัดการขนาดใหญ่อาจมีสาเหตุมาจากอาหารคุณภาพต่าและปัญหาเรื่องการจัดการฝูงสัตว์

AN31 Mik Fig 9
ภาพที่ 9 การจัดการแบบปล่อยสัตว์แทะเล็มที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพที่เห็นได้ทั่วไปที่คันนากับตอซังข้าว

ข้อโต้แย้งเรื่องธัญพืช 

ทิม ไวท์แมน (Tim Wightman) ผู้เขียนหนังสือคู่มือการผลิตน้านมดิบ (Raw Milk Production Handbook (2005) ได้พูดถึงคาถามที่ว่า “วัวนมที่กินหญ้าในทุ่งหญ้าควรกินเมล็ดธัญพืชหรือไม่?” โดยทั่วไปแล้ววัวนมที่เลี้ยงด้วยธัญพืช (Grain-Fed) คือวัวที่ได้รับอาหารส่วนใหญ่ในรูปของเมล็ดธัญพืช ส่งผลให้เกิดปริมาณผลผลิตน้านมที่สูงแต่มีคุณภาพต่าและส่งผลให้ช่วงชีวิตของวัวสั้นลง ส่วนวัวที่เลี้ยงด้วยการให้กินหญ้าคุณภาพดีในทุ่งเลี้ยงสัตว์และหญ้าแห้งคุณภาพดีเท่านั้นจะสามารถให้ปริมาณน้านมที่สูง อย่างไรก็ตาม การให้วัวได้กินเมล็ดธัญพืชจานวนเล็กน้อยจะทาให้วัวได้แป้งที่จะเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะ ซึ่งจุลินทรีย์นี้จะช่วยแปลงหญ้าที่เป็นอาหารมาเป็นน้าหนักตัว นม และพลังงาน ตามที่ Wightmanได้กล่าวไว้ว่า “หลักการง่ายๆในการจัดการกิจกรรมในกระเพาะของวัว คืออย่าให้เมล็ดธัญพืชมากเกิน 1 เปอร์เซนต์ของน้าหนักตัวของวัวในหนึ่งวัน” เราจึงผสมราข้าวและมะพร้าวป่นอัตราส่วน 1:1 และกากน้าตาลนิดหน่อยให้วัว หลังจากที่วัวเล็มหญ้าเสร็จแล้วในแต่ละวัน

ความสาเร็จและความล้มเหลวของการใช้แหนแดงเลี้ยงวัว

แหนแดง (Azolla caroliniana) เป็นเฟิร์นลอยน้าขนาดเล็กที่มีรายงานว่ามีโปรตีนอยู่ 19-30% เราปลูกแหนแดงไว้อย่างหนาแน่นและเอาไว้เลี้ยงไก่ เป็ด และปลา (ดูสารเอคโคเอเชียฉบับที่ 20 เรื่องอาหารปลา, ฉบับที่ 25 อาหารสุกร และฉบับที่ 28 อาหารไก่) (ภาพที่ 10)

AN31 Mik Fig 10
ภาพที่ 10 ที่ละติจูดที่ 15 องศาที่เราอยู่ การใช้ที่กันแดด 40-80% จะช่วยให้แหนแดงโตได้ดีกว่าอยู่ในแดด

เนื่องจากเรามีหญ้าเนเปียร์และหญ้าเลี้ยงสัตว์อยู่ปริมาณมาก เราจึงไม่ได้ใช้แหนแดงเพื่อเลี้ยงวัว และแหนแดงของเรามีอยู่จากัดเพื่อไว้ใช้เลี้ยงหมูและไก่ อย่างไรก็ตามได้มีการทดลองโดยโครงการพัฒนาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติวิเวคานันดา เคนดรา (Vivekananda Kendra-Natural Resources Development Project หรือ VK- NARDEP) ในจังหวัดคันยาคูมารี รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ซึ่งการทดลองพบว่าปริมาณและคุณภาพของปริมาณน้านมวัวมีเพิ่มสูงขึ้นเมื่อให้แหนแดงเป็นอาหารเสริมเมื่อวัวมีทุ่งหญ้าที่คุณภาพไม่ดีนัก (Prabu 2007)

มีการแนะนาจากองค์กร NGO ในประเทศอินเดียให้ใช้แหนแดงเพื่อเป็นอาหารทางเลือกสาหรับวัวนม ซึ่งตรงกันข้ามกับการศึกษาของ VK- NARDEP ที่เป็นโครงการนาร่องพบว่าได้ผลที่ไม่ดีเลย (Tamizhkumaran and Rao 2012) ทาให้เห็นชัดถึงความสาคัญของการทดสอบสิ่งใหม่ๆก่อนที่จะนาไปส่งเสริมการใช้กับชุมชนเพื่อต้องการ “แก้ปัญหา” และเพื่อให้แน่ใจว่าเทคนิคใหม่หรือแนวคิดใหม่จะได้ผลตามสภาพแวดล้อมที่เฉพาะตัวของแต่ละพื้นที่ รวมถึงบริบทด้านวัฒนธรรมด้วย

ในการทดลองได้มีการเปรียบเทียบ แหน หรือ แหนเป็ด (Lemna minor), ผักบุ้ง (Ipomoea reptans), กระจับ (Trapa natans ), และ จอกหูหนู (Salvinia cucullata) ในอินเดีย ทั้งแหนเป็ดและผักบุ้งมีอัตราแลกเนื้อสูงกว่าและมีโปรตีนสูง คือ 28% และ 32% ตามลาดับ (Kalita et al. 2007; Biswas and Sarkar 2013) พืชเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณสมบัติที่ดีนี้สามารถปลูกในน้าได้ร่วมกับพืชและสิ่งมีชีวิตอื่น แต่ไม่ควรมีปลาอยู่ถ้าต้องการจะเก็บมาใช้ประโยชน์ (ไม่เช่นนั้นจะถูกปลากินหมด) น่าเสียดายที่แหนแดงไม่ได้อยู่ในการทดลองที่อินเดีย ที่นี่เราให้แหนแดงที่พอมีอยู่ (ที่เหลือจากการเลี้ยงปลา ไก่และหมูในปริมาณที่พอใจแล้ว) เพื่อเป็นอาหารวัว โดยใส่ไว้กับอาหารเย็นรวมกับราข้าวและกากน้าตาล

ถ้ามีพืชลอยน้าเช่นแหนแดงและจอกหูหนูแล้วสิ่งที่ต้องระวังคือไม่เก็บพืชเหล่านี้มาใช้มากจนเกินไป เพื่อให้พืชรักษาปริมาณผลผลิตที่จะนาไปใช้ได้อยู่เสมอ มีหลักการง่ายๆอย่างหนึ่ง (ภายใต้สภาพที่ดี) คือให้เก็บพืชลอยน้าเหล่านี้มาใช้โดยไม่ให้มากเกินครึ่งของน้าหนักโดยรวมของพืชต่อสัปดาห์ (หรือ 1/7 ของน้าหนักโดยรวมทั้งหมดต่อหนึ่งวัน) ซึ่งเคล็ดลับอยู่ที่การรักษาพืชเหล่านี้ให้อยู่ในระยะที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเกษตรกรจึงควรเฝ้าดูว่าวิธีเก็บเกี่ยวแบบใดจะใช้ได้ผลดีในระบบที่เรามีอยู่ แหนแดงนั้นจะทนต่อการเคลื่อนที่ของน้าได้ดีกว่าแหนเป็ด และจอกหูหนูนั้นโตเร็วที่สุดแต่อาจไปแย่งพื้นที่พืชอื่นได้ ที่บ้านอโลฮา เรามีนักศึกษาฝึกงานที่เก่งมากที่ทาหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลแหนแดง เราได้ผลผลิตแหนแดงเฉลี่ย 194 กรัม/ตรม. ตะกร้าก้นลึกใช้ได้ดีสาหรับยกแหนแดงขึ้นโดยไม่ต้องเอาน้าขึ้นมาด้วย (ภาพที่ 11) เราจะเก็บแหนแดงตอนเช้าและปล่อยให้สะเด็น้าเป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนนาไปชั่งน้าหนัก (Mikkelson 2017)

มะรุมสามารถเพิ่มผลผลิตน้านม

จากบทความของ Lowell Fuglie (2000) ในสารเอคโค EDN 68, เรื่อง “การศึกษาการใช้มะรุมแนวทางใหม่ในประเทศนิคารากัว” (“New Uses of Moringa Studied in Nicaragua”) บอกว่าถ้าหากในอาหารของวัวนมประกอบไปด้วยมะรุม 40-50% จะทาให้ผลผลิตน้านมเพิ่มขึ้นได้ถึง 30% บทความยังได้พูดว่า “โปรตีนสูงที่เป็นส่วนประกอบของใบมะรุมจะต้องสมดุลกับอาหารที่ให้พลังงานอย่างอื่น อาหารวัวที่ประกอบไปด้วยใบมะรุม 40-50% จะต้องผสมด้วยกากน้าตาล, น้าตาลอ้อย, ใบอ่อนของหญ้าช้าง, ต้นอ่อนข้าวฟ่างหวาน หรืออย่างอื่นที่มีอยู่ในท้องถิ่น”

อาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นๆ

ควาย

ควายทามารอว์ หรือควายแคระมินโดโร เป็นควายป่าประจาท้องถิ่นของเกาะมินโดโร ในฟิลิปปินส์ เป็นสัตว์ประจาถิ่นพวกวัวควายเพียงชนิดเดียวของฟิลิปปินส์ ซึ่งขณะนี้กาลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยมีเหลือไม่ถึง 500 ตัว และไม่ถูกใช้งานเพื่อลากสิ่งของแล้ว ควายส่วนใหญ่ในฟิลิปปินส์มีขนาดใหญ่กว่าควายทามารอว์มาก ควายพันธุ์มูร่าห์เป็นควายเลี้ยง(Bubalus bubalis) มีถิ่นกาเนิดจากรัฐปัญจาบและรัฐหรยานาในประเทศอินเดีย และรักษาไว้เพื่อผลิตน้านม บางแห่งในอินเดียมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านควายนมเพื่อนาไปผลิตมอสเซอเรลลาชีสอิตาเลียนของแท้

สัตว์ที่ใช้ลากของอาจต้องการอาหารที่ไม่ต้องมีคุณภาพสูง ขึ้นอยู่กับปริมาณของงานที่ต้องทา หญ้าเนเปียร์เป็นหญ้าที่ดีที่ควรปลูกไว้ให้ควายกินและสามารถตัดเอามาให้ควายกินขณะทางานอยู่ด้วย สัตว์ที่ใช้ลากของต้องมีน้าให้อย่างเพียงพอและต้องมีอาหารที่ให้พลังงาน อาจใช้กากน้าตาลเสริมต่อพลังงานที่จะต้องใช้ที่ 1-5% ต่ออัตราการให้

อาหารต่อวัน ตามบทความ EDN 53 ถ้าเราทางานกับสัตว์ที่ลากของ เราควรรู้จักองค์กร ทิลเลอร์ อินเตอร์เนชันแนล (Tillers International) ที่มีข้อมูลและการอบรมเฉพาะทางสาหรับสัตว์ทางานหลายชนิดในประเทศพัฒนา โดยยังมีสัตว์ใช้งานในมาดากัสการ์ที่ใช้ขุดดินตามที่ลาดชันบนเขาเพื่อเก็บกักน้าไว้ใช้ด้วย! หากสนใจสามารถดูรายละเอียดที่เว็บไซท์เพิ่มเติมได้

วัว, จามรี, อูฐ, ลามา, อัลแพคกา และเรนเดียร์ เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่คนอื่นอาจจะอยากเขียนเพิ่มเติม แต่ขอให้พิจารณาดีๆเรื่องการเล็มหญ้าของสัตว์เหล่านี้ก่อนที่จะซื้ออาหารมา เพราะส่วนมาก สัตว์พื้นเมืองเหล่านี้สามารถให้อาหารด้วยการวางแผนที่เหมาะสมในการทาอาหารให้มันเองจากวัตถุดิบรอบๆตัวในพื้นที่ที่เรามีอยู่!

อาหารทางเลือกสาหรับแพะ

แพะเป็นสัตว์ที่ชอบเล็มหญ้า และต้องการอาหารที่ต่างจากสัตว์อย่างอื่นที่อาจหาได้จากหญ้าส่วนใหญ่ที่มีอยู่ของเกษตรกรรายเล็ก การตัดพืชตระกูลถั่วและนามาให้แพะกินสามารถช่วยให้แพะอ้วนขึ้น แต่อย่าใช้พืชตระกูลถั่วเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าแพะกินอาหารที่ฉ่าและมีความชื้นเช่นใบถั่วลิสงนา (Clover), อัลฟัลฟา หรือพืชตระกูลถั่วอื่นๆที่ตัดสดมาให้ อาจทาให้เกิดฟองอากาศเล็กๆอยู่ในกระเพาะอาหารและทาให้แพะเกิดท้องอืด ซึ่งเป็นภาวะที่ทาให้แพะตายได้ ฟองอากาศเล็กๆนี้แพะไม่สามารถเรอออกมาได้เอง ในอาหารแต่ละชนิดมีระดับโปรตีนไม่เหมือนกันแต่ข้อควรจาง่ายๆคือไม่ควรให้มีพืชตระกูลถั่วเกิน 2/3 และหญ้า 1/3 และควรให้อาหารอย่างอื่นด้วย

นอกจากหญ้า พุ่มไม้เล็กๆ และพืชตระกูลถั่วที่ตัดมาให้ในปริมาณที่พอดี เรายังให้แพะกินใบปาล์ม ใบไผ่ และสะเดา สะเดานี้เราให้แพะเลือกว่าจะกินหรือไม่ก็ได้โดยเอาให้พร้อมกับพืชสีเขียวอื่นๆ เพราะสะเดาเป็นยาถ่ายพยาธิตามธรรมชาติและแพะจะมากินได้ตามที่มันต้องการ และสะเดานี้ยังมีรายงานว่าใช้ได้ผลกับแกะด้วย (Chandrawathani et. al. 2006)

มะพร้าวสดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสาหรับอาหารแพะ เกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ใช้มะพร้าวแก่ที่หล่นแล้วเอามาผ่าครึ่งแล้วเอาให้แพะกิน มีชาวอเมริกันคนหนึ่งในเกาะของเราสังเกตเห็นผลดีที่เกิดขึ้น ทั้งด้านสุขภาพของแพะโดยรวม รวมถึงน้าหนักตัวของแพะ และช่วยลดการจัดการดูแลแพะบนพื้นที่ดินทรายเมื่อเอามะพร้าวให้แพะกินทุกวัน จากการวิจัยพบว่ามะพร้าวแห้งป่นช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหารสาหรับวัว ควาย แพะ และแกะ มะพร้าวป่นเป็นอาหารที่มีคุณค่าต่อสัตว์เคี้ยวเอื้องและสามารถใช้ทาเป็นโปรตีนเสริมสาหรับสัตว์เลี้ยงที่กินหญ้า (Manikkamani 2011) ถ้าคุณใช้เศษเหลือจากผลผลิตมะพร้าว เช่น มะพร้าวป่น ให้หลีกเลี่ยงการสกัดด้วยเฮกเซน (Hexane) เพราะอาจมีสารเคมีตกค้างที่ไม่ต้องการ (Heuze V., et al. 2015)

ตัวอย่างเช่น ทางตอนเหนือของเกาะสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย มีการเลี้ยงแพะวัยรุ่นในพื้นที่ปลูกหญ้าเนเปียร์(Pennisetum purpureum) ในสวนมะพร้าว เป็นการใช้ระบบพืชและปศุสัตว์ (Crop Livestock System) ในที่นี้คือ มะพร้าว-พืชเลี้ยงสัตว์-แพะ มีการใช้พืชตระกูลถั่วเช่นกระถินและแคฝรั่งร่วมด้วย ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเกษตรผสมผสานและยั่งยืนที่ทาให้ “อาหารสัตว์ที่ดีๆ (หญ้าและพืชตระกูลถั่ว) ที่หายากถูกนามาเป็นอาหารที่แพะต้องการ” แน่นอนว่ามูลที่ได้จากอาหารที่กินเข้าไปจะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และส่งผลให้ทั้งหญ้าและมะพร้าวในสวนเติบโตและให้ผลผลิตดีขึ้นด้วย (Polakitan et al. 2001)

แกะ

มีแกะในเขตร้อนมากมายที่เที่ยวหากินแบบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พวกมันอาจมีชีวิตรอดอยู่ได้แต่มีน้อยที่จะเติบโตได้ดี ส่วนแพะนั้นอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสาหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ แต่แกะก็มีโอกาสที่จะพบที่ที่เหมาะสมสาหรับมันเมื่ออยู่ภายใต้ภูมิอากาศที่เหมาะสมและการจัดการที่ดี แกะมักจะเสี่ยงต่อการขาดน้าและมันจะดื่มเฉพาะน้าสะอาดจากแหล่งน้านิ่งหรือถังน้า การมีแหล่งน้าไหล ลาธารหรือแม่น้าจะไม่ได้ช่วยเป็นแหล่งน้าให้กับแกะได้ นอกจากนั้น พวกมันยังต้องการการปกป้องจากศัตรูที่จะมาล่ามันด้วย แกะเหมาะกับภูมิอากาศที่เย็นกว่าเพราะพวกมันเป็นโรคลมแดดได้ง่าย แต่ข่าวดีคือถึงแม้ยังมีความแตกต่างระหว่างแกะสายพันธุ์ต่างๆ แต่มีงานวิจัยในประเทศ
บราซิลที่พบว่าแกะสามารถเติบโตจนถึงระยะที่นามาเป็นอาหารได้ในการเลี้ยงในทุ่งหญ้าเขตร้อน (Poli et al., 2013)

พืชหมักหรือไซเลจ

เราใช้อาหารหมักบ้างสาหรับปลา หมู และไก่ แต่เราไม่ได้หมักหญ้า เมล็ดธัญพืช หรือพืชตระกูลถั่วไว้ให้พวกวัวหรือควาย เราพบว่าในฟาร์มขนาดเล็ก การใช้แรงงานหรือการจัดการที่เพิ่มขึ้นจะทาให้ทุนที่เรามีอยู่ลดน้อยลง และอีกอย่างคือปัญหาเรื่องเชื้ออีโคไล เพราะภาวะเลือดเป็นกรดอาจมีสาเหตุมาจากอาหารหมัก และเชื้ออีโคไลในกระเพาะสัตว์เคี้ยวเอื้องนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในภาวะแบบนี้ ระบบการเลี้ยงแบบให้สัตว์กินอาหารอยู่ในคอกจะมีปัญหาเรื่องเชื้ออีโคไลเพราะแบคทีเรียมีชีวิตอยู่และเพิ่มจานวนขึ้นในสภาพความเป็นกรดสูง (ค่า pH ต่า) อาหารหมักไม่ใช่เป็นตัวเพาะเชื้ออีโคไลแต่เชื้ออีโคไลจานวนมากมาจากมูลของวัว แพะ ฯลฯ มูลสัตว์และตกอยู่ที่พื้นที่คอกสัตว์เป็นแหล่งของโรค ทั้งนี้ ตามคาแนะนาของกลุ่มที่ปรึกษาสาหรับภาวะเลือดเป็นกรดจากการหมักในสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Reference Advisory Group on Fermentative Acidosis of Ruminants หรือ RAGFAR) กล่าวว่า “ค่า pH ในกระเพาะจะเริ่มลดลงทันทีหลังจากสัตว์กินอาหารข้นหรือไซเลจเข้าไป อาหารข้นได้แก่ เมล็ดธัญพืช, ถั่วเหลือง หรือข้าวโพด จะทาให้ค่า pH ในกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องลดลงรวดเร็วยิ่งกว่าการกินไซเลจ” (RAGFAR 2007) การเลี้ยงวัวนมของเราเป็นการผลิตน้านมดิบ เราจึงหลีกเลี่ยงไม่ใช้ไซเลจเลย เราไม่ได้ทาการฆ่าเชื้อพาสเจอไรส์นมของเรา ดังนั้นถ้าเราต้องการให้นมของเราปลอดภัยก็ต้องการกาจัดการสัมผัสเชื้ออีโคไล โดยการหลีกเลี่ยงการใช้อาหารข้นและไซเลจ แต่ให้วัวของเรากินหญ้าหรือพืชสีเขียวของเรา เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเชื้ออีโคไลที่อาจมาจากการเลี้ยงด้วยเมล็ดธัญพืชเท่านั้น ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับไซเลจสาหรับสุกรได้ใน AN #25 และปรับใช้กับวัวหรือควายได้ แต่ข้อควรระวังคือใช้พืชตระกูลถั่วแทนปลาป่นและหลีกเลี่ยงการใช้ถั่วเหลืองป่น ในประเทศอินเดียมีการสาธิตการทาอาหารหมักให้วัวหรือควายที่สามารถดูได้ที่เว็บไซท์ www.dairyknowledge.in/article/low-cost-silage-making-technique

งานวิจัยปัญหาของถั่วเหลือง

ที่บ้านอโลฮา เราไม่เลี้ยงสัตว์ด้วยถั่วเหลืองเลย เนื่องจากถั่วเหลืองมีอันตรายต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยง ถั่วเหลืองประกอบไปด้วยสารยับยั้งไฟโตเอสโตรเจนและเอ็นไซม์ที่ก่อให้เกิดปัญหาในสัตว์และมนุษย์ (IEH 2000) ข้อกังวลเกี่ยวกับถั่วเหลืองได้สรุปไว้ในสารเอคโคฉบับที่ 28 นอกจากนั้น เรายังเลือกที่จะไม่ใช้พืชที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs)

สรุป

เกษตรกรที่เลี้ยงวัว แพะ แกะ และควายควรพยายามซื้ออาหารให้น้อยที่สุด ต้องมีการสร้างสมดุลอาหารที่จาเป็นต่อสัตว์เลี้ยง โดยคานึงถึงความปลอดภัยของอาหารที่ให้สัตว์ ความสะดวก และการป้องกันสัตว์เลี้ยงจากการถูกลักขโมย ไม่ว่าเราจะมีเป้าหมายที่ดีแค่ไหน สิ่งที่ต้องทาคือการวางแผนอย่างรอบคอบและมีการจัดการที่จะให้ประโยชน์ต่อสัตว์และสร้างผลกาไรให้เกษตรกรเอง เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทาการพัฒนาและการจัดการได้ดีในส่วนของการปล่อยสัตว์ไปตามทุ่งหญ้าพร้อมกับการตัดหญ้าและพืชแล้วนามาให้สัตว์กิน ควรใช้มูลสัตว์ของเราที่ได้เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและช่วยให้พืชต่างๆเติบโตได้ดี และรักษาวงจรสารอาหารให้เข้มแข็งเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการผสมผสานการทาปศุสัตว์ที่จะเกิดผลดีต่อระบบนิเวศน์และการผลิตอาหารที่ยั่งยืน

เว็บไซท์อ้างอิง

Azam, M. A., M. K. I. Khan, and A. Das. 2012. Adaptability and survivability of different crossbreds cattle under commercial dairy farming conditions in Chittagong area. International Journal of Natural Sciences. 2(3): 67-70. Available: http://www.banglajol.info/index.php/iJNS/article/view/12134 

Biswas, S., and S. Sarkar. 2013. Azolla cultivation: A supplementary cattle feed production through natural resource management. Agriculture Update. 8(4): 670-672. Available: http://www.researchjournal.co.in/upload/assignments/8_670-672.pdf 

Chalupa, W. 1968. Problems in feeding urea to ruminants. Journal of Animal Science 27: 207-219. Available: doi:10.2527/jas1968.271207x

Chandrawathani, P., K. W. Chang, N. Raimy, and N. Vincent. 2006. Daily feeding of fresh neem leaves (Azadirachta indica) for worm control in sheep. Tropical Biomedicine 23(1): 23-30. Available: https://www.researchgate.net/publication/6753152_Daily_feeding_of_fresh_Neem_leaves_Azadirachta_indica_for_worm_control_in_sheep 

Chungsiriwat, P., and V. Panapol. 2009. Thailand: An industry shaped by government support. Smallholder Dairy Development: Lessons Learned in Asia. FAO Corporate Document Repository. Available: http://www.fao.org/docrep/011/i0588e/I0588E10.htm

Collins, A. July 2013. Cocktail cover cropping rising. Northeast Organic Dairy Producers Alliance News 13(4): 6-13. Available: http://www.nodpa.com/november2013_lowres-final.pdf

Collins, A. July 2006. Solar farming with Abe Collins (Vermont). Available: http://solarfarming.blogspot.com

Collins, A., and D. J. Doherty. 2009. Keyline design Mark IV, ‘Soil, water, and carbon for every farm’ – building soils, harvesting rainwater, storing carbon. Permaculture News. Available: http://www.permaculturenews.org/resources_files/KeylineArticle.pdf 

Ecologia. 2012. Holistic farm management. Ecologia LLC. Available: http://www.ecologiadesign.com/2012/01/03/holistic-farm-management/

Elevitch, C. R., and K. M. Wilkinson. 2008. Nitrogen fixing trees start up guide.  Agroforestry.net: Permanent Agriculture Resources. Available: http://agroforestry.org/images/pdfs/nftguide.pdf 

Fuglie, L. 2000. ECHO Development Note #68: New uses of moringa studied in Nicaragua. N. Ft. Myers, Florida: ECHO, Inc. Available: https://c.ymcdn.com/sites/echocommunity.site-ym.com/resource/collection/5255CDAA-1F34-429A-9BE5-5F2B0EBBF690/edn68.pdf 

Heuze V., G. Tran, D. Sauvant, and D. Bastianell. 2015. Copra meal and coconut by-products. Feedipedia: A Programme by INRA, CIRAD, AFZ, and FAO. Available: http://www.feedipedia.org/node/46.

Humphreys, L. R., and I. J. Partridge. 1995. A Guide to Better Pastures for the Tropics and Subtropics. Peterson, New South Wales Australia: NSW Agriculture. 

[IEH] Institute for Environment and Health. 2000. Phytoestrogens in the Human Diet (Web Report W3). Leicester, UK: Institute for Environment and Health. Available: http://www.le.ac.uk/ieh/webpub/webpub.html 

Kalita, P., P. K. Mukhopadhyay, and A. K. Mukherjee. 2007. Evaluation of the nutritional quality of four unexplored aquatic weeds from northeast India for the formulation of cost-effective fish feeds. Food Chemistry 103(1): 204-209. Available: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0308814606006303 

Liu, J-X., Y-M. Wu, X-M. Dai, J. Yao, Y-Y. Zhou, and Y-J. Chen. 1995. The effects of urea mineral lick blocks on the liveweight gain of local yellow cattle and goats in grazing conditions. Journal of Livestock Research for Rural Development 7(2). Available: http://www.lrrd.org/lrrd7/2/2.htm

Manikkamani. 2011. Coconut meal is a valuable feed for ruminants. Agriculture Information, October 5, 2011. Available: http://www.agricultureinformation.com/forums/sale/73246-coconut-meal-valuable-feed-ruminants.html 

Martin, F. 1993. Forages. ECHO Technical Note. N. Ft. Myers, Florida: ECHO, Inc. Available: https://c.ymcdn.com/sites/members. echocommunity.org/resource/collec- tion/E66CDFDB-0A0D-4DDE-8AB1- 74D9D8C3EDD4/Forages.pdf 

Mikkelson, K. O. 2017. Yield of Azolla carolina under aquaponic conditions. Research Gate. Available: https://www.researchgate.net/publication/314059987_Yield_of_Azolla_Carolina_under_Aquaponic_Conditions 

Ojo, V. O. A., A. O. Jolaosho, O. M. Arigbede, P. A. Dele, S. A. Adeoye, R. Y. Aderinboye, O. J. Idow, and O. O. Adelusi. 2013. Nutritive quality of hay and silage from natural grazing land in south western Nigeria. Revitalising Grasslands to Sustain our Communities: 22nd International Grassland Congress Proceedings. Page 756. Available: http://www.internationalgrasslands.org/files/igc/publications/2013/proceedings-22nd-igc.pdf

Polakitan, D., P. Paat, J. Wenas, O. Tandi, and Z. Mantau. 2001. Introduction of improved forages under coconut trees for goat. Poster Presentation. 7th Meeting of the Regional Working Group on Grazing and Feed Resources. July, 2001. Available: http://www.fao.org/ag/agp/agpc/doc/proceedings/manado/chap7.htm 

Poli, C. H. E. C., S. Carnesella, F. M. Souza, C. McManus, Z. M. S. Castilhos, L. Kindlein, and J. U. Tarouco. 2013. Performance, carcass characteristics and meat quality of grazing lambs finished on tropical grasses. Revitalising Grasslands to Sustain our Communities: 22nd International Grassland Congress Proceedings. Page 595. Available: http://www.internationalgrasslands.org/files/igc/publications/2013/proceedings-22nd-igc.pdf

Prabu, M. J. 2007. Amazing azolla acquires an alternative “avatar.” The Hindu Newspaper. Sep 20, 2007. Available: http://www.thehindu.com/todays-paper/tp-features/tp-sci-tech-and-agri/amazing-azolla-acquires-an-alternative-avatar/article2267649.ece  

Premaratne, S., S. C. Somasiri, C. Premalal, V. P. Jayawardene, and A. R. S. Senavirathne. 2013. Feeding patterns and milk production of small-scale dairy farmers under semi-intensive and extensive cattle management systems in Sri Lanka. Revitalising Grasslands to Sustain our Communities: 22nd International Grassland Congress Proceedings. Page 469. Available: http://www.internationalgrasslands.org/files/igc/publications/2013/proceedings-22nd-igc.pdf

[RAGFAR]. Reference Advisory Group on Fermentative Acidosis of Ruminants. 2007. Ruminal Acidosis – Understandings, Prevention and Treatment: A Review for Veterinarians and Nutritional Professionals. Australia: The Reference Advisory Group on Fermentative Acidosis of Ruminants (RAGFAR). Available: https://www.ava.com.au/sites/default/files/documents/Other/RAGFAR_doc.pdf   

Saraiva, F. M., J. C. B. Dubeux Jr., M. De A Lira, A. C. L. De Mello, M. V. F. Dos Santos, F. De A Cabral, and V. I. Teixera. 2014. Root development and soil carbon stocks under different grazing intensities. Tropical Grasslands-Forrajes Tropicales 2: 254-261. Available: http://tropicalgrasslands.info/index.php/tgft/article/view/77

Smith, T. 2008. Salt: An essential element. Angus Journal, February 2008: 177-179. Available: http://www.feedingandfeedstuffs.info/articles/traditional_feeding/supplements/0208_saltanessentialelement.pdf 

Tamizhkumaran, J., and S. V. N. Rao. 2012. Why cultivation of azolla as a cattle feed not sustainable? Indian Journal of Dairy Science 65(4): 348-353. Available: https://www.researchgate.net/publication/296639689_why_cultivation_of_azolla_as_a_cattle_feed_not_sustainable 

Ward, M., and D. Lardy. 2005. Beef cattle mineral nutrition. North Dakota State University Extension Service. Available: https://www.ag.ndsu.edu/pubs/ansci/beef/as1287.pdf  

Watson, H. R. 1985. Sloping Agricultural Land Technology (SALT-1). Asian Rural Life Development Program. Available: http://www.sommerhaven.org/prac_app/sus_ag/t_pac_salt1.pdf

Wightman, T. 2005. Raw Milk Production. Farm to Consumer Foundation. Available: http://f2cfnd.org/wp-content/uploads/2012/06/newRawMilkProduction.pdf 

Zemmelink, G., S. Premaratne, M. N. M. Ibrahim, and P. H. Leegwater. 1999. Feeding of dairy cattle in the forest-garden farms of Kandy, Sri Lanka. Tropical Animal Health and Production 31: 307-319. Available: https://eurekamag.com/pdf.php?pdf=003140102


ภูมิภาค

Asia